มารอดูกันว่าหลังดิจิตอลทีวีครบใบอนุญาต 15 ปี คลื่น UHF ย่านนี้จะถูกนำไปประมูลทำโทรคมนาคมแทนหรือไม่

October 11, 2016

เตรียมประชุมบอร์ดใหญ่พรุ่งนี้ จับตา กสทช. ถกงบกองทุน กทปส. หนุนสื่อเยาวชน ทีวีชุมชน คนพิการ เข้าถึงเน็ต ฯลฯ
International Regulators Forum 2016; in Bangkok is over, I was saying goodbye to delegates esp Commissioner Jessica Rosenworcel of the Federal Communication Commission (FCC) from the US.  She is young, smart & humble woman working in this important sector.  Inspiring to see her role & style.  Lots to improve myself then.

Now I am back to the routine, preparing for NBTC Panel’s meeting tmr on various agenda to discuss esp financial projects related to NBTC Fund & Budget Plan on construction for new NBTC office buildings etc.

More to tell.

วันนี้งานประชุมองค์กรกำกับดูแลสื่อและโทรคมนาคมสากล International Regulators Forum (IRF) จาก 29 ประเทศที่ สำนักงาน กสทช.จบแล้ว เมื่อเช้าคุยเรื่องจัดสรรคลื่นเพื่อเตรียม 5G ทิศทางของสหรัฐอเมริกา โดย @FCC คือกำลังประมูลคลื่นโทรทัศน์กลับมาทำโทรคมนาคม เรียกว่า reverse / incentive auction ดูซับซ้อนพอควร ท่านใดสนใจนโยบายประมูลกลับคลื่นโทรทัศน์มาทำโทรคมนาคม ของสหรัฐฯโดย @FCC หรือ กสทช.บ้านเขา อ่านได้ที่นี่ค่ะhttps://www.fcc.gov/abou…/fcc-initiatives/incentive-auctions …

ไทยเรามักเดินตามสหรัฐฯหลายเรื่อง มารอดูกันว่า หลังดิจิตอลทีวีครบใบอนุญาต 15 ปี คลื่น UHF ย่านนี้จะถูกนำไปประมูลทำโทรคมนาคมแทนหรือไม่ ก็อยู่ที่ว่า อุตสาหกรรมโทรทัศน์ภาคพื้นดินไทยรวมตัวกันสู้ต่อหรือไม่ เหมือนในยุโรปที่เขารวมตัวกันต่อสู้ไม่ให้รัฐนำคลื่นโทรทัศน์ไปทำโทรคมนาคม ในยุโรปพูดกันเรื่องโทรทัศน์จะตาย เพราะอินเทอร์เน็ตมาตั้งแต่สมัยดิฉันไปเรียนต่อแล้ว วันนี้ผ่านมากว่า 15 ปี ทีวีสำคัญน้อยลงกว่าเดิม แต่ยังไม่ตาย จำได้ว่าสมัยไปเรียนต่อ ราวปี 2001 ต้องเขียน essay ส่งอาจารย์เรื่องผลกระทบต่อโทรทัศน์หลังการปฏิวัติดิจิทัล คือดีเบตที่บ้านเราพูดตอนนี้เลย

ในเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นประเทศที่มี wifi อยู่แทบทุกแห่งหน แต่อุตสาหกรรมโทรทัศน์ก็ยังคึกคักมาก อาจลดความสำคัญลงแต่ยังเป็นสื่อที่ประชาชนผูกพันมาก ในสหรัฐฯ โทรทัศน์ก็ยังเป็นสื่ออิทธิพล โดยเฉพาะพวก network และระดับรัฐ แต่เขาใช้เคเบิลเป็นหลัก จึงปล่อยคลื่นทีวีภาคพื้นดินให้มาทำโทรคมนาคมได้ ครัวเรือนอเมริกันส่วนใหญ่ สมัครบริการเคเบิลแบบหลอมรวม คือดูได้ทั้งทีวี ใช้โทรศัพท์และเน็ตได้ อีกมุมคือทำให้เกิดบริการที่ผูกขาดได้ง่ายเช่นกัน ประเทศสหรัฐอเมริกาใหญ่ มีตั้ง 50 มลรัฐ การวางโครงข่ายภาคพื้นดินให้คลุมทั้งหมดจึงยาก เขาจึงใช้ดาวเทียมและเคเบิลเป็นหลักในการส่งโทรทัศน์ Hawaii เป็นมลรัฐที่ 50th ของสหรัฐฯ เรียกชื่อย่อว่า Five O (เหมือนชื่อซีรีย์ช่องโมโนที่เพิ่งจบไป) เป็นที่ตั้งของ Pearl Harbor ที่ญี่ปุ่นโจมตี Pearl Harbor จุดเริ่มต้นให้สหรัฐฯประกาศสงครามกับญี่ปุ่น ตามด้วยเยอรมนีและอิตาลี จนเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สองเต็มตัว และชนะสงครามในที่สุด

ส่วนในภาคพื้นยุโรป เริ่มต้นมากับเสาส่งโทรทัศน์ภาคพื้นดิน เป็นกระบอกเสียงของรัฐ เช่นในเยอรมนี ออนแอร์ปี 1935 เสาส่งคลาสสิคอยู่ที่เบอร์ลิน รายการช่วงนั้นเป็นพวกข่าว วาไรตี้ ภาพยนตร์ ต่อท้ายด้วยเพลงมารช์ทหารและคำทักทายปลุกใจ  “ไฮ ฮิตเลอร์” อันคุ้นชินจากจอโทรทัศน์ โทรทัศน์ในเยอรมนีแจ้งเกิดอย่างมีพลังช่วงยุคแรกด้วยการถ่ายทอดกีฬาโอลิมปิกที่จัดในเบอร์ลิน เมื่อปี 1936 ปวศ.ทีวี เริ่มต้นด้วยกีฬามาถึงปัจจุบัน ระบบทีวีภาคพื้นดิน แอนะล็อกและดิจิตอล ที่ไทยเรารับมาจึงเป็นระบบยุโรป ในขณะที่สหรัฐฯเน้นดาวเทียมและเคเบิล ที่เรารับมาเช่นกัน ปัจจุบันโทรทัศน์ในเยอรมนี ไม่เหมือนยุคฮิตเลอร์ที่ต้องเปิดเพลงมาร์ชทหารปลุกใจกันทุกวันแล้ว รัฐปล่อยมือจากการคุมสื่อให้อิสรภาพตามหลักสากล ส่วนในสหรัฐฯ เขาให้เอกชนเป็นเจ้าของสื่อแต่แรกตามเสรีภาพในรัฐธรรมนูญ รัฐมีหน้าที่จัดสรรคลื่นและออกใบอนุญาตให้ ซึ่งคือประวัติศาสตร์ของ FCC

ประธาน FCC คนปัจจุบัน จะลาออก เมื่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีจบสิ้น เพื่อเปิดทางให้ ปธน.ตั้งคนใหม่ ที่เหลือก็ใกล้ชิดคนละพรรค ครึ่งๆ 2:2 กรรมการ FCC มี 5 คน แบ่งคนละ 2:2 พรรคใดได้เป็น ปธน. จะมีสิทธิ์ตั้งประธาน กลายเป็นเสียงข้างมาก 3:2 เขาใช้หลักยึดโยงที่มาจาก ปชช.

….

วันนี้ส่งคุณ Jessica Rosenworcel  หนึ่งในบอร์ด FCC กลับ Washington DC. เดินทางคนเดียว ดูสบายๆ ไม่เรื่องมาก ใช้ Uber เรียกรถจาก กสทช.ไปสนามบินด้วย ชอบเธอ…ได้เจอบอร์ด FCC ผู้หญิง เดินทางคนเดียว ดู humble แต่ฉลาด ใช้ Uber เรียก taxi จาก กสทช.ไปสนามบินเอง ประทับใจขอเป็น idol ทำงานใหญ่แต่ตัวเล็กๆ ท่านใดสนใจงานของเธอใน @FCC ( ซึ่งเป็นองค์กรคล้าย กสทช.) จุดยืนส่วนใหญ่ไปทางเดียวกับรัฐบาลโอบามาปัจจุบัน ตามใน Twitter ได้ที่ @JRosenworcel ค่ะ

…..

กลับมาสู่งานของเราต่อ พรุ่งนี้มีประชุมบอร์ดใหญ่ กสทช. วาระเยอะพอควร หลักๆ คือเรื่องเงินๆทองๆ ทั้งโครงการของบกองทุน กทปส. และก่อสร้าง สำนักงานใหม่ ตัวอย่างโครงการที่ผ่านบอร์ดกองทุน กทปส. มาเข้าบอร์ด กสทช.พิจารณาพรุ่งนี้  มีโครงการดีๆน่าสนใจ เพื่อสนับสนุนรายการทีวีเพื่อเด็ก เยาวชน การเข้าถึงของคนพิการ และ ทีวีชุมชน 4 ภูมิภาค ด้วย หลังประชุมบอร์ดใหญ่ กสทช.ช่วงเช้า บ่ายต้องไปศาลปกครองต่อ พรุ่งนี้มีนัดไต่สวน คดีไทยทีวี ฟ้อง กสทช. รอบใหม่ หลังถอนคดีเดิม รอติดตาม

…..

จับตา กสทช. ถกงบกองทุน กทปส. หนุนสื่อเยาวชน ทีวีชุมชน คนพิการ

วันนี้(11 ต.ค. 59) นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ในวันพุธที่ 12 ต.ค. 59 มีการประชุมบอร์ด กสทช. ครั้งที่ 9/2559 มีวาระการประชุมน่าจับตาได้แก่ การพิจารณากลั่นกรองโครงการที่ขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนเงินจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ(กทปส.) ประเภทที่ 2 ประจำปี 2558 (ครั้งที่1)

ซึ่งมีโครงการเป็นการพัฒนาต้นแบบสถานีโทรทัศน์ระบบดิจิตอล ประเภทบริการชุมชน ในรูปแบบการจัดตั้งสถานีโดยชุมชนและจัดหาเงินอุดหนุนการผลิตรายการจากชุมชน ทั้งนี้มีการระบุตัวชี้วัดต้นแบบสถานีเพิ่มเติมจากโครงการ ด้วยการให้มีการออกอากาศแบบสดอย่างน้อย 4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์และออกอากาศแบบบันทึกเทปและรีรันอย่างน้อย 4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

ได้แก่ โครงการพัฒนาต้นแบบสถานีโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี หน่วยงานมูลนิธิสื่อสร้างสุข 3,494,160 บาท โครงการวิจัยและพัฒนาสถานีโทรทัศน์ชุมชน “พะเยาทีวี” หน่วยงานสมาคมสื่อชุมชนจังหวัดพะเยา 3,389,050 บาท โครงการทีวีชุมชนอันดามันมั่นคง หน่วยงานมูลนิธิรักษ์ไทย วงเงิน 3,927,000 บาท

รวมทั้งพิจารณาอนุมัติโครงการอื่นๆ อีกได้แก่ โครงการศูนย์การเรียนรู้ ICT จิตอาสาแบ่งปันความรู้สู่โรงเรียนห่างไกลในถิ่นทุรกันดารผ่านอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา วงเงิน 9,421,500 บาท

โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาการจัดทำบริการคำบรรยายแทนเสียงในช่วงเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกับเวลาออกอากาศ(Near Real-time Captioning) องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย วงเงิน 11,510,204 บาท

โครงการสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ “ใต้หลังคา ฟ้ามีดาว” เพื่อการพัฒนาของเด็กปฐมวัย มหาวิทยาลัยรังสิต วงเงิน 5,246,023 บาท ซึ่งทั้งหมดเป็นโครงการที่ผ่านเกณฑ์ความเหมาะสมทางเทคนิคและการเจรจาต่อรองงบประมาณ 6 ราย วงเงิน 36,987,937 บาท (สามสิบหกล้านเก้าแสนแปดหมื่นเจ็ดพันเก้าร้อยสามสิบเจ็ดบาทถ้วน)

นอกจากนี้ ที่ประชุมเตรียมพิจารณาโครงการที่ขอรับการส่งเสริมและสนับสนุนเงินจากกองทุนฯ ประเภทที่ 2 ประจำปี 2558 (ครั้งที่1) จำนวน 4 โครงการ ได้แก่ โครงการติดตั้งระบบ ICT และการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงด้วยเทคโนโลยี Wi-Fi ในเขตพื้นที่สาธารณะของวัด สถาบันอาศรมศิลป์ วงเงิน 9,245,728.05 บาท

โครงการสร้างความเข้าใจของคนพิการและบุคคลทั่วไปเกี่ยวกับการเปลี่ยนผ่านไปสู่กิจการโทรทัศน์ดิจิตอล มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งประเทศไทย วงเงิน 4,437,322.10 บาท

โครงการเพิ่มศักยภาพการรับสื่อสัญญาณโทรทัศน์ภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลสำหรับประชาชนในพื้นที่ยากต่อการเข้าถึง บริษัท ไอพีเอส.เซลส์แอนด์เซอร์วิส จำกัด วงเงิน 21,396,492.27 บาท และโครงการส่งเสริมการผลิตและออกอากาศรายการโทรทัศน์ระบบดิจิตอลหมวดหมู่เด็ก เยาวชน และครอบครัว วงเงินรวมไม่เกิน 3,000,000 บาท

“โครงการที่ผ่านบอร์ดกองทุน กทปส.มารอบนี้ มีความน่าสนใจ และ ตอบสนองงานตามยุทธศาสตร์ กสทช.มากขึ้นกว่าที่ผ่านมา เช่นการส่งเสริมรายการเพื่อเด็กเยาวชน สื่อโทรทัศน์ชุมชน การเข้าถึงสื่อของคนพิการ การส่งเสริมการเข้าถึงเทคโนโลยีการสื่อสาร ที่ยังขาดไปคือการส่งเสริมความเข้มแข็งของผู้บริโภคในการเฝ้าระวังตรวจสอบสื่อวิทยุ โทรทัศน์ โทรคมนาคม คงต้องรอดูว่าผลการพิจารณาโดย กสทช.จะผ่านให้ทุกโครงการหรือไม่ สำคัญยิ่งกว่านั้นคือเมื่อโครงการผ่านแล้ว สำนักงานคงต้องมีการติดตามตรวจสอบ ประเมินผลของการใช้งบประมาณอย่างโปร่งใสและมีประสิทธิภาพต่อไป” สุภิญญา กล่าว