April 28, 2016
สรุปมติบอร์ดใหญ่ กสทช. และ คหสต. ตั้งคำถาม เรื่องทีวีพูลจะของบจากกองทุน กสทช. ถ่ายทอดสดโอลิมปิก
A summary from NBTC meeting today & my questions plus comments on a controversial proposal by Ch5&co for NBTC to subsidize cost on live broadcast for Olympics in August. More to debate.
28 เม.ย. 59 มีประชุมบอร์ดใหญ่ กสทช. วาระไม่เยอะมาก สรุปความดังนี้
1. มติ กสทช. ยกเลิกการกำหนดให้ AIS เป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยยะสำคัญในตลาดบริการเชื่อมต่อโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ฯเพราะหมดสัมปทานTOT ผลคือจากนี้เมื่อAISไม่ถูกจัดว่าเป็นผู้มีอำนาจเหนือตลาดอย่างมีนัยยะสำคัญในตลาดการเชื่อมต่อโครงข่ายฯแล้ว จึงไม่ต้องปฏิบัติตามกฎกติกาเฉพาะอีก
2. มติ กสทช.เห็นชอบตาม สำนักงานขออนุมัติใช้งบกลางกรณีฉุกเฉินจำเป็นเพื่อจัดประมูลคลื่น900 วันที่27พ.ค.นี้ บอร์ดให้ใช้ตามจำเป็นไม่ต้องอลังการ สอบถามความคืบหน้าการดำเนินการกับ JAS สำนักงานเล่าว่าต้องชดใช้ค่าจัดประมูลแน่ๆ ส่วนค่าเสียหายต่อรัฐ ยังอยู่ในกระบวนการตรวจสอบ บอร์ดเร่งอย่าให้ช้า ส่วนข่าวเรื่องการจัดให้ลงนามMOUของAIS และ Trueโดยรัฐบาลนั้น สำนักงาน บอกว่าเป็นจริง แต่ปัจจุบันยังไม่ได้เซ็นเพราะสองฝ่ายยังขอแก้ถ้อยคำกันอยู่ สำนักงานคาดการณ์ว่าAISและTrueจะเข้าประมูลคลื่น900 รอบสอง แต่คงจะไม่เคาะกันข้ามคืน รอความชัดเจนวันเปิดให้ซื้อซอง เงินประกันเพิ่มเป็น 3,000 ล้าน ย้ำ #คหสต. ไม่เห็นด้วยที่เปิดให้รายที่ชนะได้ถือครองคลื่น 900 ครึ่งหนึ่งไปแล้วเข้าประมูลรอบสองได้อีก เพราะเป็นการประมูลต่อเนื่องขัดกฎเดิม
ยกตัวอย่างถ้า กสทช.จัดประมูลทีวีดิจิตอลแทน2ช่องที่หายไป แล้วแก้กฎให้คนที่ชนะได้ช่อง HD มาประมูลช่องข่าวแทนไทยทีวีได้(กฎเดิมห้าม) จะอลหม่าน กฎการประมูลครั้งแรกที่วางไว้ก่อนประมูล ไม่ใช่แค่กติกาการประมูลแต่คือการออกแบบอุตสาหกรรมให้เกิดการแข่งขันไม่ผูกขาดด้วย กฎก่อนประมูลทีวีดิจิตอลเดิมคือห้ามคนถือช่อง HD ถือช่องข่าวและห้ามถือเกิน3ใบอนุญาต กฎนี้ต้องอยู่ตลอดไป จะแก้ระหว่างทางไม่ได้ เมื่อวานศาลปกครองท่านถามว่า กสทช.จะทำอย่างไรกับสองช่องทีวีดิจิตอลที่ว่างลง สำนักงานตอบว่ากำลังเตรียมเสนอ2ทางเลือกให้ กสท.พิจารณา
ทางเลือกแรกคือให้รายเดิมที่เป็น SD ประมูลอัพเกรดเป็น HD ทางเลือกสองคือให้ประมูลเป็นช่อง SD แทนช่องข่าวและช่องเด็กตามแผนแม่บทเดิม
3. กสทช.เห็นชอบอนุมัติงบจัดงาน @ITU Telecom World ให้ไอซีทีและไอทียู 300 ล้าน ส่วนดิฉันสงวนความเห็นต่างเพราะใช้งบสูงไป เน้นงานพิธีกรรมเยอะงบ 300 ล้าน แทบไม่ค่อยใช้ในแง่กิจกรรมการมีส่วนร่วมของอุตสาหกรรม/สังคมนัก แต่ให้ไอทียูและไอซีทีไปใช้ด้านจัดการ/รับรอง/พีอาร์ คหสต.จึงทำใจให้ยาก ไม่ได้ค้านการจัดร่วมจัดงาน ITU Telecom World แต่แค่เห็นต่างเรื่องงบ Lump sum และรายละเอียดการใช้งบ แม้จะส่งให้ทางรัฐบาล/ไอทียูจัดการงบก็ตาม เมื่อบอร์ดใหญ่ กสทช.เห็นชอบงบจัดงาน ITU Telecom World 2016 ตั้ง 300 ล้านไปแล้ว ขอฝาก @ITU และไอซีทีจัดงานให้คุ้มค่ากับงบค่ะ cc @DrUttamaS …..
วันนี้มีสื่อโทรมาถามข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องที่ทีวีรวมการเฉพาะกิจ(ทีวีพูล) จะของบกองทุน กสทช.150ล้าน ถ่ายทอดสดโอลิมปิก แม้ทางทีวีรวมการฯอ้างว่าที่ของบ 150 ล้านเพื่อกระจายสิทธิ์ให้ทีวีดิจิตอลช่องอื่นด้วย แต่มันยังมีประเด็นความไม่เคลียร์เรื่องผลประโยชน์ เพราะทีวีพูลจะให้ช่องใหม่ๆ(นอกจาก 3-5-7-9-11) ถ่ายทอดสัญญาณต่อเหมือนทีวีรวมการเฉพาะกิจ(รายการคืนความสุข) แต่โฆษณาอยู่กับทีวีพูลใช่หรือไม่ ประเด็นที่ว่าจะกระจายสิทธิ์การถ่ายทอด จึงจะไม่ใช่การแบ่งเวลาให้ช่องใหม่ๆสลับการถ่ายทอด แต่จะให้ช่องใหม่ link สัญญาณจากทีวีพูล รวมโฆษณาด้วย ดังนั้นช่องใหม่ๆอาจเป็นได้แค่การลิงค์สัญญาณจากช่องทีวีพูล โดยปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเนื้อหาอะไรไม่ได้เลย ซึ่งคงไม่แฟร์ถ้าจะใช้เงินสาธารณะ เพราะจะทำให้รายเดิมยิ่งได้เปรียบ เพราะค่าโฆษณาคงจะอยู่กับช่องเดิม แต่จะมีช่องใหม่ๆมาลิงค์สัญญาณต่อให้ ศักดิ์ศรีของช่องใหม่ควรมีมากกว่านั้น ถ้าเป็นการลงทุนซื้อลิขสิทธิ์ของกลุ่มทีวีพูลเอง การผูกขาดเฉพาะสมาชิกกลุ่มตนคงเป็นเรื่องปรกติ (แม้ควรกระจายสิทธิ์)แต่ถ้าขอใช้เงินหลวง ทำไม่ได้ เมื่อวานนี้ดิฉันจึงเปิดประเด็นให้สังคม สื่อ ทีวีดิจิตอลจับตาประเด็นนี้ ถ้า กสทช.จะให้ทุนทีวีพูล 150 ล้านจริง แล้วไม่เป็นธรรมรายใหม่ก็ไม่ควรให้
แต่ถ้าจะให้ทุน 150 ล้านจริง ต้องเป็นธรรมกับทุกราย (เดิมและใหม่) อย่างเสมอภาค ไม่ใช่เป็นการไปเอื้อรายเดิมให้ได้เปรียบไปกันใหญ่
ดังนั้นสื่อและสังคม ต้องไม่หลงประเด็น ดีใจไปว่าจะได้เงิน กสทช.มาถ่ายทอดสดโอลิมปิกผ่านทีวีทุกช่อง โดยยังไม่ได้เห็นรายละเอียดโครงการว่าแบบใด ถ้าจะให้ช่องใหม่ๆได้สิทธิ์แค่ link สัญญาณถ่ายทอดสดกีฬาโอลิมปิกจากช่อง 3-5-7-9-11 เฉยๆ เหมือนรายการเดินหน้าประเทศไทย ช่องใหม่คงไม่โอเค จากนี้สิ่งที่ต้องค้นหาคือโครงการและรายละเอียดที่ทางทีวีรวมการเฉพาะกิจฯ จะไปนำเสนอกับบอร์ด กองทุน กทปส. และนำมาสู่การตัดสินใจของบอร์ด กสทช. ฝากสำนักด้านแข่งขันเป็นธรรมช่วยจัดประชุมเชิญทีวีรวมการฯและช่องใหม่ๆมาพูดคุยเรื่องนี้ให้ชัดเจน
ตอนช่องใหม่จะขอใช้เงินกองทุน กสทช.เพื่อทำวิจัยวัดเรตติ้งใหม่ มีรายเดิมมายื่นโนติส กสทช.เบรคจนหัวทิ่ม แต่นี่รายเดิมมาของบ 150 ล้านถ่ายทอดกีฬา เรียนไว้ตรงนี้ว่า ถ้าโจทย์ต่างๆเรื่องสิทธิเสมอภาคระหว่างรายเดิมกับรายใหม่ยังไม่เคลียร์ บอร์ดกองทุน กทปส. และ กสทช. ก็ไม่ควรให้งบ 150 ล้าน ถ้าให้สิทธิ์รายเดิมในการใช้งบกองทุน กสทช.อย่างไม่เป็นธรรมกับรายใหม่ รายใหม่ใช้สิทธิ์ฟ้องศาลได้ เพราะจะเข้าข่ายเอื้อประโยชน์รายเดิม กว่าจะสร้างรายใหม่เข้าสู่ตลาดกิจการฟรีทีวีได้ก็แสนสาหัส (โทรคมยังไม่ได้) แต่ถ้าเอื้อรายเดิม ไม่เป็นธรรมรายใหม่ ก็จะทำให้รายใหม่ยั่งยืนยาก ณ จุดนี้ เรียนว่า เรื่องงบ 150 ล้านยังไม่ผ่านบอร์ดกองทุน และ บอร์ด กสทช. แต่อย่างใด / กสท.ก็ไม่ได้เห็นชอบโครงการ แต่อยู่ในภาวะต้องจับตาใกล้ชิด ดิฉันจะทำความเห็นทั้งหมดเป็นบันทึกส่งให้บอร์ด กองทุน กทปส. เร็วๆนี้ และจะทำบันทึกถึง สำนักงาน ให้จัดเวทีประชุมทุกฝ่ายเรื่องนี้ให้โปร่งใสด้วย
ดังนั้นเมื่อสื่อถามว่าทางทีวีรวมการฯจะให้ถ่ายทอดอย่างไร ดิฉันจึงยังตอบไม่ได้ เพราะเราไม่ควรให้ทีวีพูลกำหนดเอง แต่ กสท./กสทช. ควรวางกรอบก่อน การประชุมวานนี้ บอร์ด กสท.ก็ยังไม่ได้วางกรอบอะไร แต่เสียงข้างมากบอกให้ส่งเรื่องไปบอร์ดกองทุน กทปส.ก่อน ทั้งที่ กสท.ก็ยังไม่ได้พิจารณาโครงการ ส่วนหนึ่งเพราะบอร์ดเล็ก กสท.ไม่มีอำนาจพิจารณาให้ทุนเอง แต่ถ้าจะส่งเสริมเรื่องนี้ กสท. ก็ควรเชิญทุกช่องมาวางกรอบร่วมกันถ้าจะใช้เงินสาธารณะ ไม่งั้นคงจบไม่สวยอีก สรุป เรื่องนี้ยังไม่ได้สรุป งบ 150 ล้านยังไม่ได้ให้ใคร แต่ทุกฝ่ายต้องจับตาใกล้ชิดและเสนอให้ทางทีวีรวมการเฉพาะกิจเปิดเผยแผนโครงการนี้
ดิฉันจะคอยตามเรื่องจากบอร์ดกองทุน กทปส. ให้อย่างใกล้ชิดด้วย ถ้ามีความเคลื่อนไหว จะ alert แจ้งทุกท่านค่ะ #โอลิมปิก #150ล้าน #ทีวีพูล คนดูอาจจะเชียร์เห็นด้วยให้ กสทช. ให้ทุน 150 ล้านถ่ายทอดโอลิมปิก แต่ขอให้รอดูเงื่อนไขสัญญาการให้ทุนต่างๆของทีวีพูลให้รอบคอบก่อนนะคะ ฝากท่าน @TakornNBTC ในฐานะเลขานุการบอร์ดกองทุน กทปส. ช่วยนำพาความเห็นเรื่องความเป็นธรรมต่อรายใหม่ไปชี้แจงให้บอร์ดกองทุนทราบด้วย #โอลิมปิก…