คุณพร้อมหรือยัง? สำหรับการเปลี่ยนผ่าน จากทีวีอนาล็อก สู่ทีวีในระบบดิจิตอล
ขอบคุณบล็อกเกอร์ : ที่มาข้อมูล
เราได้มีโอกาส (ทดลอง) ดูทีวีดิจิตอลมาปีกว่าแล้ว เลขช่องบนรีโมท จำกันไม่ได้ก็กดเลื่อนไปเรื่อยๆ (ฮา) เรื่องที่จะพูดถึงวันนี้ ก็คือการนับถอยหลัง ของการเปลี่ยนผ่าน จากทีวีอนาล็อก เป็นทีวีดิจิตอล
ช่วงขวบปีที่ผ่านมา เหมือนเป็นช่วงที่เราได้เรียนรู้ ได้ทำความรู้จักกับทีวีดิจิตอล เวลาผ่านไป 1 ปี มีเหตุการณ์เกิดขึ้นมากมาย แต่สิ่งสำคัญคือ ปี พ.ศ. 2561 (อีกแค่ 3 ปี) คือปีที่เรา จะเปลี่ยนผ่านไปสู่การออกอากาศ จากระบบอนาล็อก ไปเป็นระบบดิจิตอล เต็มรูปแบบ
ในช่วงปี พ.ศ. 2558 – 2561 แต่ละสถานี ที่ออกอากาศแบบอนาล็อก ก็ทยอยระงับการให้บริการออกอากาศในระบบอนาล็อกไปเรื่อยๆ ในขณะเดียวกัน กสทช. ก็แจกกล่องรับสัญญาณทีวีดิจิตอล ให้ผู้ใช้ทุกครัวเรือน ได้เข้าสู่การ “ทดลองชมทีวีดิจิตอล”
ผู้เขียน ได้มีโอกาส ปีนขึ้นดาดฟ้า ตึกใบหยก 2 ไปดูเสาส่งสัญญาณออกอากาศดิจิตอลทีวี ได้พูดคุยกับทาง กสทช. และอยากจะบอกต่อ เพื่อย้ำเตือนว่า ใครที่ยังไม่ได้เปลี่ยนกล่อง อีกไม่นาน ทีวีระบบอนาล็อก จะไม่มีการแพร่ภาพ ส่งสัญญาณ ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า (พ.ศ .2561) คุณพร้อมหรือยัง กับดิจิตอลทีวีของจริง ซึ่งไม่ใช่การทดลองออกอากาศ อีกต่อไป หลายๆท่าน น่าจะเริ่มได้ยินข่าวการ “Shut Down” การออกอากาศในระบบอนาล็อก บางสถานีโทรทัศน์ ทยอยเริ่มเร็วๆนี้แล้ว
ในงาน “กสทช.พบ blogger และชาวเน็ต กับดิจิตอลทีวี” มีหลายเรื่องที่มีการพูดคุยกัน ทั้งเรื่องของ EPG ( Electronic Program Guide) ขึ้นอยู่กับตัวรับสัญญาณของกล่อง ในการแสดงผังรายการอีเล็กที่กำลังฉายบนจอ (ต้องใช้รีโมท กดดู) ถ้าเป็นแบบอนาล็อก จะไม่มีอันนี้ บางช่องตอนนี้ เคยเห็นไหมครับ มีคนออกมาบอกว่า รายการต่อไป รับชม … แต่ EPG นี่ทาง กสทช.ขอความร่วมมือ หลายช่องก็ให้ความร่วมมือดี แต่ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับกล่องด้วยแหล่ะครับ และมีการส่งข้อมูลไปยัง server ของ กสทช. คืออัพเดตจากระบบเลย วันไหนมีรายการสดเราก็จะรู้ ว่าอดดูละครนะ (T__T) และเรื่องสำคัญที่อยากเน้นก็คือ “การเปลี่ยนผ่าน ไปสู่การส่งสัญญาณโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล” จึงเป็นที่มาของการนำ blogger ของผู้ใช้เน็ตระดับ power user ไปร่วมปีนดาดฟ้า (ไม่ได้ปีนเสา ปีนเสาไม่ได้ ปีนตึก)
นี่คือการปีนตึกจริงๆ คือขึ้นบันไดหนีไฟจากชั้นที่เปิดให้ชมวิว แบบ Panorama (ปกติขึ้นไม่ได้ เพราะประตูมีระบบป้องกันไว้) แล้วปีนขึ้นไปบนดาดฟ้าของตึกใบหยก 2 (ต้องเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น)
มาถึงช่วงของ การอัพเดตเรื่องเสาออกอากาศดิจิตอลทีวี โดยคุณสุภิญญา กลางณรงค์ และ ผศ.ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ (กสทช.) สำหรับเรื่องของการออกอากาศดิจิตอลทีวีนั้น หลายๆคนทราบว่า ตึกใบหยก เป็นสถานีส่งในกรุงเทพและปริมณฑล การรับชม จะต้องหันเสาให้ตรงกับทิศทางของเสาส่งสัญญาณ คือตึกใบหยก และหลายๆคน คงได้ยินข่าว การก่อสร้างตึกที่สูงกว่าตึกใบหยก ไม่ว่าจะเป็นตึกระฟ้า “ตึกมหานคร” ย่านสีลม-สาทร ที่เคลมได้ว่า สูงที่สุด แต่ก็มีอีกตึกคือ The Super Tower ข้าง Central Grand พระราม 9 กำลังจะเป็นตึกที่สูงที่สุด ซึ่งจะมีผลต่อการรับชมดิจิตอลทีวี ในที่พักอาศัยย่านนั้นๆ เพราะ “ตึกบัง” แต่ทาง กสทช. ก็บอกว่าจะต้องคุยกับทาง G Land เพื่อเจรจา อาจจะย้ายไปตั้งสถานีที่ตึก The Super Tower เมื่อการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์
เรื่องของการรับชมนั้น ตอนนี้กำลังอยู่ในช่วงของการ ติดตั้งเสาตามพื้นที่ต่างๆ ให้ดิจิตอลทีวี ครอบคลุมการให้บริการทั่วประเทศ แต่ไม่ได้ทุกจังหวัด ขึ้นอยู่กับภูมิประเทศด้วย เสา A1 A2 A3 ตอนนี้ลงเสา A1 อยู่ บางจังหวัด ติดตั้งไม่ได้ก็จะเป็นจังหวัดใกล้เคียง โดยตอนนี้มี 17 เสา (ตอนนี้ ปีที่ 2) จาก 40 เสาหลัก มีเสาเสริมด้วย
โดยทิศทางการหันเสา่ การออกแบบตัวบ้าน อาคาร โครงสร้างก็สำคัญ บ้านที่ปิดหน้าต่างทึบ จะรับสัญญาณได้แย่กว่าอาคารที่เปิดโล่ง แนะนำให้ติดตั้งเสาไว้ในอาคารที่โล่ง หรือภายนอกอาคารจะดีกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อจำกัดของอาคารด้วย ตอนนี้บางพื้นที่รับชมผ่านเสาบนหลังคาจะชัดกว่าเสาเล็กแบบหนวดกุ้ง อีก 2 ปี เราใช้เสาอากาศแบบหนวดกุ้งได้แล้ว (เสาทีวีดิจิตอล) คือพื้นที่จะครอบคลุม 95% ในปีที่ 4 นี่ก็ผ่านไปปีกว่าแล้ว
นอกจากนี้ กสทช. มีแอพ DTV Service Area แนะนำสำหรับคนที่ติดตั้งเสา แนะนำการหันทิศทางเสาให้ถูกต้องและเหมาะสมเพื่อการรับชมที่ดีที่สุด
เรามีการพูดคุยเรื่องเทคนิคกันเยอะมาก เพราะกำลังจะเป็นช่วงของการเปลี่ยนผ่านจากระบบอนาล็อก สู่ดิจิตอล ในปี 2561 ทำให้มีหลายเหตุผล ที่ทีวีดิจิตอล ต่างจากทีวีอนาล็อก ไม่ว่าจะเป็น ฝนตกก็ยังดูได้ (ถ้าไม่ได้ดูผ่านเคเบิล) รับชมแบบ Hi-Def เต็มตา
ส่วนเรื่องเลขช่องเนี่ย ต้องมีคนสงสัยเยอะแน่ๆ ทำไมไม่สรุปกันสักที เขาก็พยายามกันอยู่ครับ แต่ก็เข้าใจนะว่า ทุกกล่อง ทุกช่อง ก็อยากจะมีช่องเลขตัวเอง (ถึงได้บอกตอนต้นว่า กดรีโมทเลื่อนช่องไปเรื่อย) << >>
ว่ากันต่อเรื่องคลื่นความถี่ จริงๆการออกอากาศดิจิตอลทีวี มันก็มีคลื่นความถี่แบบเครือข่ายโทรศัพท์มือถือแหล่ะครับ แต่มันจะไม่ใช่ 900MHz 1800MHz แต่จะมีคลื่นความถี่ของมัน แต่อย่างที่เรารู้กันคือ ประเทศไทยติดเรื่อง capacity จริงๆเราเอาคลื่นมาใช้ได้เยอะ แต่มันก็จะมีอีกคือ ทีวีชุมชน เหมือนวิทยุชุมชนนั่นแหล่ะครับ
ไปชมห้องส่ง ช่อง 5 ขึ้นไปชั้นชมวิวของตึกใบหยก 2 แล้วขึ้นไปอีก (พื้นที่หวงห้าม)
อุปกรณ์ส่งสัญญาณออกอากาศ มีตัวสำรอง ในภาพคือ ตัวบนเสีย ตัวล่างใช้งานได้ (สำรอง) มี UPS สำรองไฟเครื่องใหญ่มาก และนอกจากตึกใบหยก หากระบบออกอากาศล่ม ก็จะมีที่อื่นสำรองด้วยเช่นกัน สำหรับอุปกรณ์ ได้คุยกับผู้ควบคุมอุปกรณ์บอกว่า ทุกช่องรวมการออกอากาศไว้ที่ตึกใบหยกที่เดียว ควบคุมง่าย ตามกฎ หากช่องไหนดูแลอุปกรณ์ส่งสัญญาณเอง แล้วระบบล่ม จะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ค่าปรับด้วย แต่เมื่อรวมไว้ที่เดียวก็ดูแลง่ายกว่า
หมายเหตุ : ในงานแบ่งการเดินชมห้องส่งเป็นกรุ๊ปๆ ทำให้ทีมของ ADSLThailand รับชมเพียงสถานีส่งของช่อง 5 เท่านั้น ไม่ได้ไปดูห้องหลัก
การเปลี่ยนผ่านจากทีวีอนาล็อก สู่ทีวีดิจิตอล
ดูตัวเลขกันไว้ให้ดีนะครับ อย่างที่ย้ำกันมาตลอด ปี 2558 – 2561 เป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน หลังจากปี 2557 เราได้ “ทดลอง” และทำความรู้จักกับดิจิตอลทีวีกันไปแล้ว ดังนั้นในผังนี้ คือแผนการ “ยุติ” การออกอากาศ ดิจิตอลทีวีครับ เราแจกกล่องกันมาเป็นปีแล้ว จนจะหมดเขตแลกกล่องอยู่แล้ว แต่แลกกล่องแล้วไง? เอาไปวางไว้เฉยๆ พื้นที่ยังไม่ครอบคลุม รายการยังไม่น่าสนใจ แต่ต้อง remind แล้วล่ะครับว่า โลกเปลี่ยนไป อนาล็อก ต้องเปลี่ยนเป็นดิจิตอลแน่นอน หลีกเลี่ยงไม่ได้ จะใช้ทีวีเก่ายังไง ใช้กล่อง มันก็แปลงรับดิจิตอลได้แหล่ะครับ ไม่ต้องซื้อทีวีใหม่ก็ได้
ในภาพ พ.ศ. 2560 กรมประชาสัมพันธ์ ยุติการออกอากาศ ทีวีอนาล็อกทั้งประเทศ ปี พ.ศ. 2561 อสมท. ยุติการออกอากาศ ทีวีอนาล็อกทั้งประเทศ มันมาแล้วครับ เหลือเวลาไม่มากแล้ว แต่ทั้งนี้ ณ ปี 2558 ตอนนี้ กันยายน ก็จะมี ThaiPBS เริ่มทยอยยุติการออกกาศ ทีละส่วน ทยอยไปเรื่อยๆ แต่ไม่ได้กระทบกับการออกอากาศปกตินะครับ เพราะเขาเหมือนย้ายห้อง เคลียร์สถานที่ยุติ แต่ไปส่งที่สถานที่ใกล้เคียง ขยับไปเรื่อยๆ Transition ครับ
เอาจริงๆนะ ITU เขาอยากให้ยุติ ในปี 2558 แต่กสทช ยังใจดี จริงๆก็มีข่าวมานานแล้วล่ะ ดังนั้น ปี พ.ศ. 2561 ก็จะเป็นการยุติของจริง ไม่เหมือนมือถือนะครับ ที่คุ้มครองซิมดับ ต่ออายุยืดเวลาการคุ้มครองไปเรื่อยๆ ยุติก็ยุติเลยตามแผน
ตัวอย่างของการยุติการออกอากาศ คือ ThaiPBS เป็นสถานีแรกที่ยุติการออกอากาศในระบบอนาล็อก ที่เกาะสมุย เหตุผลคือ ในบางพื้นที่ ที่โทรทัศน์ในระบบอนาล็อก รับสัญญาณไม่ได้ หรือมีผู้ชมน้อยมากอยู่แล้วก็ยุติไปเลย (เพราะทุกบ้านรับชมผ่านจานดาวเทียมนั่นเอง)
นอกจากนี้ ในส่วนของผู้ประกอบการ ThaiPBS บอกว่า ค่าไฟสถานีส่ง ของอนาล็อก เดือนละ 7 แสน เปลี่ยนเป็นดิจิตอล ค่าไฟลดเหลือ 5-7 หมื่น
ส่วนเรื่องที่น่าสนใจคือ ช่องที่ล้มละลาย ถ้าถามว่า จะเอายังไงต่อ เจ้าของก็สามารถขายเวลาให้เช่ารายการได้ คือเจ้าของไม่ทำเอง
อีกเรื่อง หากอยากได้ช่อง HD ปัญหาคือ capacity ไม่พอ จะต้องเอาช่อง SD รวมกัน เพื่อให้ capacity พอ (หมายถึงเรื่องคลื่น สัญญาณ ที่ไม่เพียงพอในการออกอากาศ HD)
และสำหรับข้อกำหนดในการออกอากาศดิจิตอลทีวีนั้น กำหนดไว้ ต้องออกอากาศให้ได้ 99.98% ถ้าระบบล่ม ต้องล่มไม่เกิน 45 นาที และมีสถานีส่งสำรองที่กรมทหารสื่อสารด้วย
นอกจากนี้มีเรื่อง MUX ซึ่งขอย้ายไปเขียนในตอนหน้าครับ
ขอขอบคุณ กสทช. ขอบคุณ คุณ Markpeak ที่เชิญผมเข้าร่วมกิจกรรมนี้ครับ
และขอบคุณทีมวิศวกรรม ThaiPBS ที่มาให้ความรู้ครับ