Sum sup 13 – 14 ส.ค. 57
Today Broadcast Panel has not made a decision on Article 37 & controversial content of #Hormonestheseries yet since no consensus.
The debates continue in & out meeting room. Sexuality is a case. Don’t talk abt post-modern approaches in Thai drama yet, we’re still debating on pre-modern concept for Thai TV creative industries still.
NBTC should engage but NOT dictate the way it should be.
We need to counter traditional values in Thai soap such as rape scene by good guys, then embrace modern approaches with critical views to counter it again. More to tell.
ช่วงวันหยุดที่ผ่านมาก็นั่งแลกเปลี่ยนกับคนในวงการละครผ่าน facebook หลังจากเราไปวิจารณ์เขาวันก่อนเรื่องการผลิตซ้ำทัศนคติการข่มขืนไม่ผิด
เขาตั้งคำถามเราว่า ทำไมเรารับฉากพระเอกข่มขืนนางเอกในละครหลังข่าวไม่ได้ แต่ทำไมรับฉากชายรักชาย หญิงรักหญิงใน #hormonestheseries2ได้
ตอบ ในฐานะ กสทช. ไม่ว่าฉากละครตบจูบหลังข่าวหรือซีรีย์วัยรุ่นรอบดึก กสทช. ไม่ควรใช้รสนิยมส่วนตัวมาตัดสินถูกผิด เพราะมันคือบรรทัดฐานทางกฎหมาย สิ่งที่ควรทำคือการใช้วิธีอื่นๆในการกำกับดูแล เช่นการจัดเรท เจรจา มาตรการทางสังคม และอื่นๆ
ถ้าอันไหนผิดกฎหมายจริงๆต้องมีหลัก/คำอธิบายชัดเจนเมื่อ กสทช.ใช้ดุลยพินิจในการตัดสินว่าอะไรผิดกฎหมายมาตรา 37 ไปแล้ว มันก็จะเป็นบรรทัดฐานทางกฎหมาย ถ้าเราลักลั่น 2 มาตรฐานจะทำให้สื่อ/สังคมสับสน
ดังนั้น ความเห็นส่วนตัวจะใช้ดุลยพินิจอย่างรอบคอบมากในการพิจารณาเรื่องร้องเรียนด้านเนื้อหา โดยเฉพาะละครที่ไม่ค่อยอยากใช้มาตรา 37 แต่จะใช้วิธีอื่นๆกำกับ
ละครคือเรื่องแต่ง(fictional drama) คือจินตนาการ คืออรรถรสความบันเทิง ขึ้นอยู่กับมุมมอง รสนิยม ความชอบส่วนบุคคล สากลจึงใช้การจัดเรทเนื้อหา คนบางคนชอบหลีกหนีความจริงไปหลบอยู่ใน fantasy แบบนิยายประโลมโลก คิดว่าผู้ชายเย็นชาหรือที่ชอบใช้ความรุนแรงใกล้ๆตัวจะกลายเป็นพระเอกในละคร ขณะเดียวกันคนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อย “ไม่อิน” กับนิยายหรือละครแนวประโลมโลก แต่กลับชอบละครแนวเหมือนจริง ราวกับดู clip ใน Youtube แบบ reality show.
Medium is a message.
เทคโนโลยีการสื่อสารมีส่วนทำให้คนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จากความสุขละเมียดในการเสพนิยายประโลมโลก มาเป็นอรรถรสแบบเสมือนจริง
ตอบ ในฐานะ #คหสต. เพราะทำงานด้านสิทธิมนุษยชนมาก่อน จึงเห็นว่าฉากข่มขืนเทียมเป็นมายาคติ(myth)ที่ตอกย้ำวัฒนธรรมความรุนแรงต่อเพศสภาพที่อ่อนแอกว่า
ในขณะที่ฉากแสดงความรักหรือเรื่องเพศวิถี (sexuality) คือเป็นความปรกติของมนุษย์ในสังคมที่มักจะหลบเลี่ยงในการพูดกันตรงๆ วัยรุ่นจึงโหยหา
ความหลากหลายทางเพศของมนุษย์ที่เรียกรวมๆว่า LGBT ถือเป็นสิทธิมนุษยชน อยู่ในหลักการเรื่อง Self-determination คือการเลือกวิถีให้ตนเอง
เนื่องจากสังคมเราทำให้ผู้ชายเหมือนผู้หญิงมากขึ้นในทางกายภาพ เช่นผู้ชายก็ต้องทาครีมก่อนนอน ใส่เสื้อ slim fit เข้ารูป ส่วนหนึ่งก็ทำให้ gap ลดลง
อีกด้านคือทำให้มนุษย์ค้นพบบางอย่างมากขึ้นว่าแท้จริงแล้วเพศสภาพคือสิ่งที่ทำให้มนุษย์สืบเผ่าพันธุ์ แต่เพศวิถีต่างหากที่กำหนดวิถีชีวิตเรา
ลึกๆคงไม่มีครอบครัวไหนอยากให้ลูกชายเป็นเกย์หรือลูกสาวเป็นทอม แต่ความจริงคือมนุษย์ต่างมีสิทธิ์ค้นพบและกำหนด sexual orientation ของตน
ผู้ชายที่มี sexual orientation แบบ bi sexual หรือผู้หญิงที่เป็นทอมหรือดี้ เขาอาจตกหลุมรักเพศไหนก็ได้ เพราะเธอหรือเขาในฐานะที่เป็น ‘คนๆนั้น’
ซับซ้อนไปกว่านั้น คือความละเอียดระหว่าง sexuality ในฐานะแรงปรารถนาทางเพศกับความรักความผูกพันในฐานะบุคคลกับบุคคล บางครั้งไม่ใช่เรื่องเดียวกัน
ถ้าจะมี ‘ทัศนคติอันดี’ ที่ละครควรสร้างหรือผลิตซ้ำควรจะเป็นความจริงใจในความรู้สึกของตนเองและในความสัมพันธ์กับคนอื่น ไม่ว่าจะมีเพศวิถีแบบใด
อาทิ การที่ผู้ชายเป็นเกย์ทำให้ผู้หญิงอกหักเสียใจ ไม่ใช่ผิดเพราะเขาชอบผู้ชาย แต่เพราะเขาโกหกเธอมากกว่า สิ่งที่ควรเป็นคือเปิดเผยจริงใจต่อกัน
วันก่อนสอนหลานชายวัยรุ่นว่า เดี๋ยวนี้ผู้ชายแสดงออกว่าเป็นเกย์กันเยอะ ซึ่งก็ไม่ผิดนะ แต่ชีวิตก็จะยุ่งยากขึ้น เช่นจะมีลูกก็ลำบาก
จากนั้นสอนหลานชายต่อว่า แต่มีแฟนผู้หญิงก็ยุ่งยากเหมือนกันถ้าไม่พร้อม ทางที่ดีตอนนี้อย่าเพิ่งมีดีกว่า ป้ายังไม่อยากอุ้มหลาน LoL
ในขณะที่ญาติอีกคนสอนหลานว่า ถ้าเป็นเกย์ ระวังพ่อตีตายเลยนะ แม้จะเหมือนพูดเล่น แต่ไม่ใช่ละ บางครั้งสังคมไทยมักสอนโดยใช้อำนาจสร้างความกลัว ถ้าสอนเขาว่าถ้าเป็นเกย์พ่อตีตาย คือทำให้เขากลัว แต่ถ้าสอนว่าถ้าเลือกเป็นเกย์ชีวิตก็จะยุ่งยากขึ้น มีผลตามมา คืออาจทำให้กลัวเหมือนกันแต่ให้เขาถามตัวเอง.. ค้นพบตัวเองต่อไป
……..
สรุปประชุมบอร์ด กสท. เช้านี้จบแล้ว ยังไม่ได้ลงมติเรื่อง#HormonesTheSeries1 แต่อย่างใด เลื่อนออกไปอีก เนื่องเจ้าของวาระขอถอนไปพิจารณาเพื่มเติม
คิดว่าเสียงกรรมการในบอร์ด กสท. แตกมาก เลยยังไม่ฟันธงไม่ได้ว่าสุดท้ายเนื้อหา #HormonesTheSeries1 ผิดกฎหมายหรือไม่ ถกกันต่อไป
อย่างไรก็ตามการจัดเรทของ #HormonesTheSeries ภาคแรกมีปัญหา เพราะแม้ออนแอร์ดึกแต่กลับมารีรันตอนเช้า อันนี้ #คหสต. ช่องควรถูกตักเตือน
ส่วน #HormonesTheSeries2 ออนแอร์ เรท18+ หลัง4ทุ่ม โดยไม่กลับมารีรันตอนเช้าแล้ว แต่การเผยแพร่ต่อในเน็ท ถ้าไม่ผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ฯไม่เป็นไร
ส่วนเนื้อหาที่ล่อแหลมคงต้องถกจ้อกฎหมายและกรอบกติกากันต่อไป
การให้เด็กเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเรทผู้ใหญ่อย่างเหมาะสมและเท่าทันสื่อใหม่ เป็นเรื่องที่ผู้ปกครองและโรงเรียนต้องช่วยดูแลด้วย เพราะรัฐคงไปดูแลยาก
อะไรถูกอะไรผิดอะไรควรไม่ควร ตามความเห็นของคนดูและนอร์มของสังคม ทุกท่านถกเถียงกันได้เต็มที่เลยค่ะ ในมุม กสทช.ก็ต้องถกละเอียดเพราะใช้ *กม.*ชี้
เรื่อง sexuality ของแต่ละสังคมเราคงคุยกันได้ข้ามวันข้ามคืน ประเด็นคือเราสามารถเปิดใจคุยกันได้อย่างเต็มที่ในพื้นที่สาธารณะแล้วหรือยัง
วันนี้เสนอในบอร์ด กสท.ว่า การใช้กฎหมายตัดสินบางครั้งก็มีเส้นบางๆคั่นอยู่ ควรใช้การเชิญคนทำละครทุกแบบทุกรุ่นมาทบทวนกติการ่วมกันดีกว่า เนื่องจากในสังคมมีคนคิดต่างกันอยู่มาก
เราคงต้องฟังทุกมุม การจะตัดสินว่าอะไรถูกอะไรผิด ดำ-ขาว โดยไม่ได้มองรอบด้าน บางครั้งสร้างปัญหาเพิ่ม
มุมมองเรื่องการคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีเหตุผลน่ารับฟัง การจัดเรทที่เหมาะสมเป็นวิธีการหนึ่ง อีกทางคือให้คนทำละครร่วมทำ Code of Conducts
เสนอให้ สนง.ชวนคนทำละครมาworkshopการสร้างสรรค์เนื้อหาทางเพศที่ควรจะเป็น ทั้งคนทำแนวละครแนวผู้ใหญ่ตบ-จูบและแนววัยรุ่นพลุ่งพล่าน
คนทำละครฟรีทีวีหลังข่าวก็โยน กสทช.ให้ไปคุมละครวัยรุ่นรอบดึกบอกแรงกว่า แต่คนชอบละครวัยรุ่นรอบดึก ก็ย้อน กสทช.ว่าละครหลังข่าวแรงกว่าอีก
สิ่งที่ควรจะเป็นคือคนทำละครทุกแบบทั้งหมด ควรหันกลับมาทบทวนตนเอง รับฟังคำวิจารณ์ และหันมาช่วยกันวางกติกา ยกระดับมาตรฐานวิชาชีพตนเอง
ในระดับสากล การทำข่าว โฆษณาหรือละครเกี่ยวกับเด็กหรือคาบเกี่ยววัยรุ่น มันมีมุมละเอียดอ่อนที่มืออาชีพต้องคำนึง เขามีคู่มือ Code of conducts.
มืออาชีพในการทำละครควรต้องทำ R&D วิจัยและพัฒนาบทด้วยการหาความรู้ แนวปฏิบัติจากผู้เชี่ยวชาญและขัดเกลาโต้แย้งในทีมทำบทให้ละเอียดมากที่สุด
แทนที่คนทำละครหลังข่าวและรอบดึก ต่างโยนกันไปว่าอีกฝ่าย *แรงกว่า* และ รัฐควรไปควบคุมคนที่ *แรงกว่า* นั้น ควรกลับมาทบทวนตนเอง ยกระดับร่วมกัน
เพราะการตัดสินเนื้อหาละครว่าอะไรที่ *แรงกวา* และ *แรงกว่าอีก* นั้น คนทำละครและคนดู คงไม่อยากให้ตัวแทนภาครัฐ5คนมานั่งตัดสินว่าอะไรผิดอะไรถูก
สิ่งที่
กสทช.ทำได้เลยและควรทำคือการทบทวนแนวทางจัดเรทที่เหมาะสม-ร่วมสมัย และการเปิดพื้นที่แก้ไข ส่งเสริม พัฒนา สร้างเวทีเรียนรู้ร่วมคนทำ-คนดู
เวทีถกเถียงเรื่องละครฉากข่มขืน
วันก่อนที่ กสทช. จัดก็สร้างผลกระทบมากทีเดียวในวงการคนละคร เพราะวิชาชีพเขาถูกท้าทาย ทำให้การดีเบตขยายวง เมื่อดีเบตขยายวง แม้จะมีการ defend ตัวเอง แต่การที่เขาเห็นคนดูล่ารายชื่อจริงกว่า 2 หมื่นคนคัดค้านฉากละครดังกล่าว ถือเป็นช็อคทางวัฒนธรรมได้
วันนั้นที่มีตัวแทนกลุ่มล่ารายชื่อใน Change ไปยื่นตรงใส่มือคนทำละครในเวที กสทช. คิดว่าทำให้เขาหยุดฟังมากกว่าที่ กสทช.จะไปปรับเงินเขาเสียอีก
จากเวทีวันนั้นกลายเป็นดีเบตต่อเนื่องระหว่างดิฉันและผู้เขียนบทละคร *สวรรค์เบี่ยง* ใน facebook ต่อจนได้ข้อเสนอน่าสนใจ
https://www.facebook.com/PuiiPunsorn/posts/10152660342758856?
ให้คนทำละครทุกค่าย ทุกช่อง ทุกรุ่นมาช่วยกันวาง แนวปฏิบัติ DOs & DON’Ts อะไรที่ควรทำ อะไรที่ควรระวัง
อาศัยมุมมองหลากหลายและงานวิจัยต่างๆ
ทั้งคนทำละครแนว สวรรค์เบี่ยง จำเลยรัก ผัวชั่วคราว #HormonesTheSeries สุภาพบุรุษจุฑาเทพ เหนือเมฆ และอื่นๆควรได้มานั่งสรุปบทเรียนกัน
ถ้าปฏิรูปละครไทยได้ คือการปฏิวัติวัฒนธรรมขนาดย่อม ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่อย่าคิดว่ามันคงไม่มีวันเป็นจริงในชาตินี้ พลังของคนดูมีส่วนมากในการเปลี่ยนแปลง เช่นการล่ารายชื่อนับหมื่น ส่งความเห็นถึงคนทำละครว่าไม่เอาฉากผลิตซ้ำว่าการข่มขืนโดยพระเอกนั้นไม่ผิด เป็นการแสดงออกที่มีพลังมากกว่ากฎหมาย กสทช.ต้องทำงานตรงนี้ต่อเนื่อง
………..
นอกจากเรื่อง #HormonesTheSeries1 ที่เข้าวาระวันนี้แต่ยังไม่ได้พิจารณาแล้ว ยังมีวาระสำคัญคือ MUX ของ MCOT ที่กำลังจะถูกปรับถ้าวางโครงข่ายยังไม่เสร็จตามแผนอีก
กสท. ให้ สนง. ส่งจดหมายแจ้งเตือน อสมท. ให้เร่งวางโครงข่าย MUX ใน 30 วัน จากนั้นถ้าไม่เสร็จอีกจะปรับวันละ 20,000 บาทจนกว่าจะเสร็จตามแผน
กรณีช่อง 3 แอนาล็อก แม้ศาลปกครองไม่คุ้มครองแต่เรื่องก็ยังไม่จบ ศึกเพิ่งเริ่ม งานนี้มีเหนื่อย ต้องขอบคุณ ThaiPBS ที่ยืนเคียงข้าง กสท. ต่อสู้ในคดีนี้
………..
พรุ่งนี้มีประชุมบอร์ดใหญ่ กสทช. ต่อเรื่องโครงการคูปองแลกกล่อง คงมีความคืบหน้าเพิ่มเติมมารายงาน คูปองจะได้แจกจริงๆ เร็ววันนี้ค่ะ /: