1 ปี กสทช. กับความล้มเหลวในมิติการคุ้มครองผู้บริโภค

เวทีสาธารณะ การประเมินบทบาทการทำงานของ กสทช. ต่อการปฏิบัติอุตสาหกรรมสื่อ ทั้งด้านกิจการวิทยุ โทรทัศน์ และโทรคมนาคม บุคคลจากหลายฝ่ายที่เข้าร่วมต่างเห็นว่า 1 ปีที่ผ่านมา กสทช.ประสบความล้มเหลว ในมิติการคุ้มครองผู้บริโภค โดยเฉพาะปัญหาใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่

ขณะเดียวกันยังประเมินว่า ปีหน้า กสทช.ยังต้องเผชิญปัจจัยเสี่ยงในการฟ้องร้องงานด้านโทรคมนาคม และด้านกระจายเสียงอย่างต่อเนื่อง หากไม่มีการทำให้กระบวนการต่างๆ เกิดความชัดเจน

“เวทีเสวนาสาธารณะ 1 ปี กสทช. ความสมหวัง หรือ ไม่สมหวังของสังคมไทย” ผู้ที่อยู่ในแวดวงกิจการโทรคมนาคม และกิจการกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ รวมทั้งนักวิชาการ, นักกฎหมาย รวมไปถึง ตัวแทนเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค สะท้อนว่า กสทช.ประสบความล้มเหลวในมิติงานคุ้มครองผู้บริโภค แม้บางเรื่องจะออกประกาศบังคับใช้ไปแล้ว เช่น การกำหนดวันหมดอายุในบัตรเติมเงินโทรศัพท์เคลื่อนที่,เอสเอ็มเอสขยะ, ค่าบริการเกินจริง, โครงข่ายล่ม, ขาดกลไกเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหาผู้บริโภคในระยะยาว

รวมถึงปัญหาสัญญาสัมปทานโทรคมนาคม บริษัท ทรู ที่จะหมดลงในเดือนกันยายนปีหน้า ซึ่งยังเป็นปัญหาใหญ่ และอาจกระทบต่อลูกค้าของเครือข่าย”ทรู” กว่า 20 ล้านเลขหมาย รวมถึงอัตราค่าบริการในระบบ 3 จี

ขณะที่ภารกิจงานด้านกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ จะยังเป็นภาระหนักของกสทช. ทั้งการเรียกคืนสัมปทานคลื่นความถี่ด้านวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ เพื่อนำจัดสรรให้ใบอนุญาต หรือเข้าสู่ระบบการประมูล

และการประมูลทีวีระบบภาคพื้นดินในระบบดิจิตอลในปีหน้าที่จะถูกจับตาดูถึง ความโปร่งใส และการเปิดโอกาสให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรี เป็นธรรม และทั่วถึง, นักวิชาการหลายคน เสนอแนะว่าสิ่งที่ กสทช. ต้องดำเนินการคือทำให้ประชาชนรู้เท่าทันสื่อ เพราะสื่อในปัจจุบัน อาจไม่ได้เป็น

นอกจากนี้ยังมีการตั้งข้อสังเกตว่า ที่ผ่านมา กสทช ม่มีผลงานปรากฏ ทั้งๆ ที่เป็นองค์กรที่มีพนักงานประมาณ 1,000 คน มีการเบิกจ่ายงบประมาณจำนวนมาก โดย ปี 2554 กสทช.ใช้จ่ายสูงถึง 1 พัน 400 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นเงินเดือน , ค่าจ้างที่ปรึกษางานต่างๆ ค่าเดินทางทั้งในและต่างประเทศ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับผลงานที่ผ่านมา กสทช. อาททำงาน ไม่คุ้มกับงบประมาณ

 

ข้อมูลข่าวจาก  Thai PBS News