Sunday 15, 2017
Prep for meeting tmr urging Broadcast Panel to exercise legal measures on #truevisions & GMMb after violating contract rules for paytv consumers.
More to tell.
15 มกราคม 2560
เตรียมประชุมบอร์ด กสท.พรุ่งนี้ วาระสำคัญเยอะเลย รวมถึงวาระข้อเสนอจากอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กรณี ยกเลิก 6 ช่องรายการไม่แจ้งล่วงหน้า 30 วัน อนุผู้บริโภคฯของ กสท.เห็นว่าการที่ยกเลิกของช่องรายการโดยไม่แจ้งล่วงหน้า 30 วันตามประกาศมาตรฐานสัญญาฯ นั้นขัดกฎ เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค จากข้อเท็จจริง คำชี้แจงและการร้องเรียนจากสมาชิกที่ยืนยันว่ายังไม่ได้รับแจ้งอย่างเป็นทางการจนกระทั่งเวลานี้ว่ามีการยกเลิก 6 ช่องรายการ อนุผู้บริโภคฯ จึงเสนอ กสท.ให้มีคำสั่งระงับการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคดังกล่าว ถ้าฝ่าฝืนก็มีโทษปรับสูงสุดทางปกครอง 5 ล้านบาท อนุผู้บริโภคที่ดิฉันเป็นประธาน เสนอ กสท. สั่ง @TrueVisions ระงับการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบ ถ้าฝ่าฝืนก็ปรับสูงสุด 5 ล้านบาท และวันละ 1 แสนบาท
ดิฉันไม่มั่นใจว่าพรุ่งนี้ กสท.จะมีมติเห็นชอบกับความเห็นของอนุบริโภคดังกล่าวหรือไม่ แต่อนุผู้บริโภคมีหน้าที่ต้องเสนอมาตรการตามกฎหมายต่อ กสท. การไม่แจ้งสมาชิกล่วงหน้า 30 วัน นอกจากขัดเงื่อนไขใบอนุญาตแล้ว ยังขัดประกาศมาตรฐานสัญญาที่ว่าด้วยการเอาเปรียบผู้บริโภคอีกด้วย การยกเลิก 6 ช่องรายการนั้นกระทบสมาชิกภาพรวมเกิน 5 แสนคน เพราะเป็น pay tv รายใหญ่ในตลาดด้วย อนุผู้บริโภคจึงเสนอค่าปรับสูงสุดที่ 5 ล้านบาท ที่ผ่านมาทาง #truevisions เอง ก็ไม่ได้ปฏิเสธข้อเท็จจริงเรื่องที่แจ้งยกเลิก6ช่องต่อสมาชิกและกสทช.ล่วงหน้าน้อยกว่า 30 วัน ตามประกาศ กสทช. เมื่อเป็นเช่นนั้น ตามกฎหมาย กสท. ก็ควรต้องออกคำสั่งให้ #truevisions ให้ระงับการกระทำที่ผิดเงื่อนไขตามประกาศสัญญาบริการทีวีบอกรับสมาชิก เพราะไม่เช่นนั้น อาจจะมีประเด็นถามถึงการละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายหรือไม่ พรุ่งนี้ กสท.คงได้อภิปรายกันยาว
ดิฉันและอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค(กสท.) ของ กสทช.ได้ทำหน้าที่ของตัวเองแล้ว ก็เหลือแต่บอร์ด กสท. พรุ่งนี้จะพิจารณาอย่างไรต่อไป แม้เราจะเข้าใจปัญหาทางธุรกิจของเอกชน แต่กฎหมายก็ควรเป็นกฎหมาย สัญญาบริการกับสมาชิกก็ต้องเป็นสัญญา ใครผิดสัญญาก่อนคนนั้นควรรับผิดชอบ #paytv รัฐหรือ กสทช.มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแลตามหลักนิติธรรม ถ้าใครผิดกฎกติกาที่วางไว้ก็ต้องมีบทลงโทษ ส่วนเอกชนก็ยังมีสิทธิ์ไปฟ้องศาลปกครองได้
เอกชนก็เช่นกัน ยิ่งเป็นบริษัทในเครือมหาชนก็ควรต้องมีสิ่งที่เรียกว่าธรรมาภิบาลหรือ corporate governance ถ้าผิดสัญญากับสมาชิก ก็ควรรับผิด
……
ประเทศเราพูดกันมากเรื่องหลักนิติธรรม(Rule of law)และธรรมาภิบาลบริษัท (Corporate governance) แต่รูปธรรมนั้นจับต้องได้ยากทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะการบังคับใช้กฎหมายกับผู้มีอำนาจรัฐหรือเอกชนรายใหญ่ สังคมมักจะไม่เคยเชื่อมั่นเลยว่าจะมีการบังคับใช้กฎหมายตามหลักนิติธรรมได้จริง นอกจากเรามีรัฐที่อ่อนแอทั้งระบบแล้ว เรายังมีเอกชนจำนวนมากที่สร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อสาธารณะ แต่ขาดความรับผิดชอบตามหลักธรรมาภิบาลอย่างที่พูด สิ่งที่เรียกว่าระบบ “อำนาจนิยมอุปถัมภ์ ทุนนิยมอภิสิทธิ์” อาจยังฝังรากลึกในสังคมไทย แม้ทำการปฏิรูปมาหลายทศวรรษ แต่ก็ยากที่จะเปลี่ยนแปลงมันได้ ดิฉันเคยเชื่อมั่นว่าการกำกับดูแลในระบบใบอนุญาตของ กสทช.ควรจะดีกว่าระบบสัมปทานที่ขึ้นอยู่กับรัฐบาลในอดีต ความเชื่อยังไม่หมดไปแต่มั่นใจน้อยลง ระบบอุปถัมภ์และความมีอภิสิทธิ์ เชื้อโรคร้าย ที่บ่อนทำลาย หลักนิติธรรมของสังคมไทยมายาวนานหลายทศวรรษ ระบบอุปถัมภ์และความมีอภิสิทธิ์ เปรียบเหมือนเชื้อโรคร้ายที่บ่อนทำลายหลักนิติธรรมของสังคมไทยมาเนิ่นนาน อีกเมื่อไหร่เราถึงจะปฏิรูปมันได้จริงๆ จากประสบการณ์การทำงานทั้งอยู่นอกระบบรัฐ(NGOs)และมาอยู่ในระบบเอง(กสทช.) รวมเวลากว่า 2 ทศวรรษ ก็พบว่าการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปมันก็ยังยากเหมือนเดิม ดิฉันอาจจะโชคดีที่มีโอกาสทำงานทั้งการผลักดันอยู่นอกระบบและได้เข้ามาอยู่ในระบบ ลองใช้ทั้งกลไกกฎหมายและกลไกทางสังคม แต่งานมันก็ยังไม่สำเร็จ
วันก่อนคุยกับเพื่อนๆ เรื่องปัญหา Rule of law ในสังคมไทยที่อ่อนแอ เพื่อนบอกว่าคงต้องแล้วแต่กฎแห่งกรรม สรุป เราไม่ควรหวังระบบกฎหมายกันจริงหรือ กสทช.เกิดขึ้นมาเพื่อปฏิรูปโครงสร้างเดิมที่เรียกว่า “อำนาจนิยมอุปถัมภ์ ทุนนิยมอภิสิทธิ์” ภายใต้ระบบสัมปทานเดิม แต่เหมือนเรายังไปไม่ถึงไหน ได้แลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรมซึ่งตอนนี้ก็ถูกตั้งคำถามมาก จริงๆมีหลายคนก็พยายามต่อสู้กับระบบ แต่ปัญหาก็ยังคงอยู่เช่นเดิม
สัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีโอกาสไปอบรมเรื่อง หลักนิติธรรมหรือ Rule of law ที่จัดโดย TIJ และ Harvard law school ที่ดุสิตธานี ได้ความรู้ดีแต่ยาก ได้ฟังเพื่อนๆ ที่เป็นตำรวจ อัยการ ผู้พิพากษา องค์กรกำกับอื่นๆและหน่วยงานรัฐต่างๆที่มาอบรมด้วย ทุกคนล้วนตั้งใจดีแต่เจอปัญหาเชิงระบบกันหมด บางคนบอกว่าต้องปฏิรูปที่ระบบเชิงโครงสร้างก่อน บางคนบอกว่าต้องเริ่มจากตัวเราเองก่อนในการคานดุลกับระบบ ดิฉันเชื่อทั้งสองอย่าง อาจารย์ในหลักสูตร TIJ บอกว่าหัวใจสำคัญอันนึงที่สู้กับระบบที่ไม่ถูกต้องได้คือ หลักความโปร่งใส (Transparency) เราก็พยายามจะทำให้มากที่สุด
มีข้อท้วงติงในคลาสว่า เป็น เจ้าหน้าที่รัฐไม่ควรมาแสดงความเห็นทางโซเชียลมาก แต่ดิฉันมองว่ามันคือทางในการสื่อสารกับสังคม ให้เกิดความโปร่งใสทางหนึ่ง ได้ความรู้ดีๆจากที่เรียนในหลักสูตรเยอะโดยเฉพาะแนวกำกับดูแลในยุค global economy และเศรษฐกิจแบบ informality เช่น Uber/Fb ทั้งหลาย ไว้มาเล่าค่ะ การกำกับดูแลเอกชนแบบ formality ตามกฎหมายว่ายากแล้ว มาเจอระบบเศรษฐกิจแบบ informality ในยุคไร้พรมแดนอีก รัฐ/เอกชนไทยต้องตั้งหลักหลักกันนาน หลังการอบรม Rule of law โดย TIJ และ Harward Law School เขามีเวทีสัมมนาสาธารณะด้วยค่ะ แต่ยังไม่มีเวลาเล่า ไว้มาเก็บตกค่ะ เพราะบ่นกันมากๆ ก็มีคนบอกว่าบ่นไปก็เท่านั้น กลับมาก้มหน้าก้มตาทำหน้าที่ของตัวเองไปให้ดีที่สุดดีกว่า ก็จริงของเขา ในขณะที่เราโทษสังคมแล้ว ก็ต้องกลับมาสำรวจตัวเองเหมือนกันว่าเราก็ผ่อนปรนตัวเองกับระบบอุปถัมภ์และความมีอภิสิทธิ์ในชีวิตประจำวันด้วยหรือเปล่า เพื่อนคนหนึ่งบอกว่าถ้ายังเปลี่ยนแปลงตัวเองกันไม่ได้ แล้วเราจะไปเปลี่ยนแปลงสังคมได้อย่างไร จะสอนลูกเราได้อย่างไร หันมาดูตัวเองก่อนดีกว่า
จากที่เคยมีความฝันที่จะเปลี่ยนแปลงสังคม พออายุมากขึ้น ก็เริ่มกลับมาคิดเชิงปัจเจกอีกครั้งกระมัง ทำนองว่า สันติภาพเริ่มต้นจากรอยยิ้ม เป็นต้น
บ่นไปพอสังเขปแล้ว ก็กลับมาก้มหน้าก้มตาทำหน้าที่ของตัวเองต่อไป คืนนี้ก็เตรียมประชุมบอร์ด กสท. พรุ่งนี้ไปประชุมแล้วลงมติ ยืนยันจุดยืนตัวเองไป ถ้ามีคนบอกว่า เราควรทำ “หน้าที่” ของตนเองไปให้ดีที่สุดแล้วสังคมจะดีเอง เราคนนึงก็พยายามทำสิ่งนั้นอยู่ ก็หวังว่าสักวันหนึ่งสังคมจะดีขึ้นจริง วันก่อนไปดูภาพยนตร์เรื่อง La La Land มา ซาบซึ้งในใจไปตามระเบียบกับความจริงของชีวิต และ ตอกย้ำว่าความฝันของเราหายไปนานแล้วโดยไม่รู้ตัว คืนนี้ไม่มีเวลาและไม่อยู่ในภาวะจะรีวิวหนัง ไว้รอจังหวะและบรรยากาศเหมาะสม ไว้มา แลกเปลี่ยนกัน ระหว่างนี้แนะนำไปดูกันค่ะ หนังดี #LaLaLand การได้ดูหนังดีๆทีโดนใจเรา ช่วยให้ผ่อนคลายจากการทำงานเครียดได้ จึงเข้าใจหัวอกสมาชิก #truevisions ที่ช่องหนังโปรดหายไปตั้ง 6 ช่อง แบบไม่รู้ตัว สมาชิกทรูวิชั่นส์ท่านหนึ่งที่มาแสดงความคิดเห็นกับอนุผู้บริโภคเล่าว่า ทรมานใจมากที่จะไม่ได้ดู Game of Thrones ตอนนี้กำลังหาทุกทางที่จะดู สมาชิกท่านนี้บอกว่าเข้าใจได้ที่สุดท้ายจะไม่มีช่อง HBO แต่เสียความรู้สึกที่ #truevisions ไม่แจ้งสมาชิกก่อน ปล่อยให้รู้จาก กสทช.
สมาชิกท่านนี้บอกว่าจ่ายเดือนละ 2,000 กว่าบาทไม่ใช่เรื่องใหญ่สำหรับครอบครัวเขา แต่เขาอยากร่วมฟ้องในเคสนี้ เพื่อเป็นบรรทัดฐานให้กับสังคมไทย สมาชิกท่านนี้บอกว่าจะร่วมฟ้อง #truevisions ในคดีแพ่งร่วมกับคนอื่นๆ และกำลังคิดว่าจะฟ้อง กสทช.ได้หรือไม่ ดิฉันตอบว่าก็เป็นสิทธิ์ ฟ้องได้ จริงๆดิฉันก็ไม่อยากให้ฟ้อง กสทช. หรอก แต่ถ้าสุดท้ายเราแก้ปัญหาไม่ได้อย่างที่ท่านพอใจก็เป็นสิทธิ์ผู้บริโภคในการฟ้องร้องตามหลัก Rule of law พรุ่งนี้อนุผู้บริโภคจึงเสนอวาระให้ กสท.ตัดสินใจ จะได้รู้ทิศทางว่าเป็นอย่างไร สมาชิกและผู้บริโภคจะได้ตัดสินใจทางกฎหมายต่อไป
นอกจากอนุผู้บริโภคฯเสนอให้ กสท.สั่งระงับการกระทำที่เอาเปรียบเรื่องไม่แจ้งล่วงหน้า 30 วันแล้ว ยังให้ส่งแผนเยียวยาเพิ่มใน 7วันด้วย สรุปข้อเสนอของอนุผู้บริโภคฯ (ที่ดิฉันเป็นประธาน) ต่อบอร์ด กสท. ให้ตัดสินใจพรุ่งนี้ รวมทั้งมีวาระ #GMMb ด้วย อนุผู้บริโภคก็เสนอปรับ 1 ล้านบาท และปรับรายวัน จนกว่าจะแก้เรื่องร้องเรียนค้าง
รวมถึงวาระอื่นๆอีกมากมาย ไว้มาสรุปหลังการประชุม กสท. อ่านย้อนหลังได้ที่ http://www.supinya.com เช่นเดิมค่ะ