14 ธ.ค. 59
Saying No for all reason to draft amendment of Computer Crime Act which is to be considered by NLA this Friday. Then a summary from NBTC Panel’s meeting today. Such a long story on the refarming of radio broadcasting frequencies owned by state agencies. And more on budget issues. Tedious.
ส่วนตัวก็ไม่เห็นด้วยกับ พรบ.คอมพ์ ตั้งแต่ร่างปัจจุบันถึงร่างใหม่ ส่วนหนึ่งเพราะเคยถูกทางช่อง 3 ฟ้องด้วย พรบ.คอมพ์ จากการทวิต ดีที่ถอนฟ้องไป พรบ.คอมพ์ ไม่ใช่ พรบ.หมิ่นประมาท พอนำมาใช้แทน พรบ.หมิ่นประมาท ทำให้เกิดความยุ่งยากมากขึ้น โทษอาญาแผ่นดินหนักขึ้นมาก ยอมความไม่ได้ ไร้ขอบเขต การเอาผิดตัวกลาง การเอาผิดคนกด like และ share ได้ตาม พรบ.คอมพ์ง่ายๆ ก็ไม่ได้ช่วยให้การกำกับดูแลสื่อออนไลน์ดีขึ้น แต่เพิ่มภาระให้ระบบและศาล
ดิฉันเคยเป็นพยานในคดี พรบ.คอมพ์ มาก่อน ปวดหัวแทนมาก และพรุ่งนี้ก็มีหมายเรียกให้ไปเป็นพยานในคดี พรบ.คอมพ์ ในประเด็นจากการกด like และ share
พรุ่งนี้ที่ต้องไปเป็นพยานในคดี พรบ.คอมพ์ จากการกด like & share ไม่ใช่คดีเรื่องความมั่นคงแต่อย่างใดเลย เป็นเอกชนฟ้องเอกชนด้วยกัน หมิ่นประมาท ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลมีข้อโต้แย้งกัน ฝั่งหนึ่งกด like และ share ข้อความพาดพิงอีกฝ่าย เลยฟ้อง พรบ.คอมพ์ ศาลอาญาเรียกดิฉันไปให้ข้อเท็จจริง รายละเอียดไว้มาเล่าพรุ่งนี้หลังไปให้ถ้อยคำในศาลแล้วค่ะ ประเด็นคือการใช้ พรบ.คอมพ์พร่ำเพรื่อ แทน กม.หมิ่นประมาท อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน ความแปลกคือ ต้นเรื่องไม่ถูกดำเนินคดี พรบ.คอมพ์ แต่คน share โดนคดี ไม่ใช่เรื่องความมั่นคงด้วย เป็นเรื่องความคิดเห็นเรื่องดิจิตอลทีวีทั่วไป อีกทั้งภาษาของโลกออนไลน์ การกด like และ share ไม่ใช่แปลว่าการเห็นด้วยเสมอไป ธรรมชาติการแชร์คือฟีเจอร์ของ social media ถ้าเหมารวมจะยุ่งมาก ถ้ารัฐจะกำกับดูแลสื่อออนไลน์จริงๆ ขอเสนอแนะให้ลองดูแนวทางขององค์กรกำกับเกาหลีใต้(KCSC) ที่พยายามถ่วงดุลระหว่างเสรีภาพและความรับผิดชอบ
ในเกาหลีใต้ การกำกับสื่อออนไลน์อยู่ภายใต้องค์กรกึ่งอิสระ คล้าย กสทช. (Korea Communication Standard Commission) กำกับพวก hate speech และอื่นๆ ทั้งนี้ KCSC ต้องมี criteria ที่ชัดเจนก่อน และ เปิดให้โต้แย้ง ตรวจสอบได้ เน้นการมีส่วนร่วมกับภาคสังคม และ สื่อออนไลน์ สร้างบรรยากาศที่เปิด แน่นอนกลุ่ม NGOs เกาหลีใต้ก็คงยังไม่พอใจการทำงานของ KCSC ทั้งหมด แต่ #คหสต. มองว่า ก็ยังมีบรรยากาศที่เปิด และ เป็นมิตรกว่าเรา ไม่ตึงหย่อนไป
บ้านเรา เว็บพนัน เว็บขายยาทำแท้ง ฯลฯ ก็ไม่เคยได้รับการกำกับจากรัฐ แต่ พรบ.คอมพ์ กลับถูกใช้ในเชิงจำกัดเสรีภาพความคิดเห็นแบบพร่ำเพรื่อเกินไป
ถ้าเนื้อหาอะไรขัดกฎหมายไทยที่มีอยู่แล้ว เช่น พรบ.อาหารและยา พรบ.ลามกอนาจาร พรบ.พนัน และอื่นๆ ก็ควรแก้ให้ผู้ทรงอำนาจตาม กม.นั้น แก้ไขได้เร็วขึ้น ประเด็นคือ บางครั้งหน่วยงานรัฐไทย ก็เชื่องช้า อ่อนแอในการบังคับใช้ กม.ตามปรกติ ทุกเรื่องเลยมาฝากความหวังให้ตำรวจใช้ พรบ.คอมพ์จัดการแทน ส่วนตัวเห็นด้วยว่าควรมีการกำกับเนื้อหาที่ผิดกฎหมายที่มีอยู่แล้วในสื่อออนไลน์ เช่น อาหารเสริม ยาลดความอ้วน ผิด อย. แต่ไม่ใช่ใช้ พรบ.คอมพ์ เป็นหลักเพราะมันไม่ได้แก้ปัญหาตรงจุด
#คหสต. ถ้าเนื้อหาผิด กม.จริง เช่น ผิด อย. การ censorship ที่ไม่เกินกว่าเหตุนั้นรับได้ แต่ไม่จำเป็นต้องทำให้เป็นคดีอาญาแบบอาชญากรรมร้ายแรง (เหมือนแนวสากล)
#คหสต. การกำกับสื่อออนไลน์จริงๆ ถ้าต้องมี ควรอยู่ภายใต้ กสทช. โดยต้องมี กติกา ที่ชัดเจน แบบ KCSC ในเกาหลีใต้ มีจุดยืนที่ถ่วงดุลเสรีภาพและความรับผิดชอบ โดยเฉพาะที่ขัด กม.ที่มีอยู่แล้ว เช่น อย. ลามก อนาจาร แต่ไม่ใช่ให้อำนาจรัฐกว้างไร้ขอบเขต เนื่องจากกฎหมายปัจจุบันไม่ได้ให้อำนาจ กสทช.กำกับออนไลน์ ถ้าจะแก้ พรบ. ควรบูรณาการงาน กสทช. เป็น Thai/National Communications Commission แต่ก็ต้องไม่ใช่การใช้อำนาจ censorship แบบควบคุม (ยากนะ แต่ เสนอไอเดียที่ดีกว่า พรบ.คอมพ์ ไหม? )
กสทช.ไทย ก็คงไม่ได้ดูก้าวหน้าในสายตาชาวโลก แต่โดยโครงสร้างขององค์กรที่ถูกออกแบบให้ต้องทำงานแบบระบบเปิด ตรวจสอบถ่วงดุลได้ น่าจะดีกว่า ที่สำคัญ กระทรวง Digital economy ควรเน้นงานนโยบายส่งเสริมในระดับมหภาคแทนที่จะต้องมาจุกจิกกับการวิ่งไล่จับตาม พรบ.คอมพ์ ชาวโลกจะเข้าใจยากมาก เวลานักข่าวจ่อไมค์ถาม รัฐมนตรีกระทรวง Digital Economy ก็พบแต่ประเด็น วันนี้ท่านปิดไปได้แล้วกี่เว็บคะ/ครับ เป็นต้น มันคงไม่ใช่ทิศทาง
แต่ทาง กสทช.เอง ก็คงไม่อยากกำกับดูแลสื่อออนไลน์หรอก งานนี้เป็นเผือกร้อน ตอนนี้ก็โยนกันไปมา ใช้ พรบ.คอมพ์ออกหน้าแทน ยิ่งแก้ยิ่งยุ่งเหยิงขึ้นอีก แนวทางการกำกับสื่อออนไลน์ควรมีหรือไม่ อย่างไร สังคมควรเปิดกว้างถกเถียงกันต่อไปนะคะ แต่ตอนนี้ ขอเห็นว่าไม่เห็นด้วยกับร่าง พรบ.คอมพ์ ก่อน ในยุค คมช. เคยร่วมชุมนุม ค้าน สนช. ออกกฎหมายรวม พรบ.คอมพ์ แต่ครั้งนี้คงทำไม่ได้แล้วนะคะ ทำได้เพียงแสดงจุดยืนและความคิดเห็นมา ณ ที่
……
สรุปมติบอร์ดใหญ่ กสทช. วันนี้ โดยย่อดังนี้ค่ะ
บอร์ดใหญ่ กสทช. เห็นชอบตามข้อเสนอของ บอร์ด กสท.เรื่องกำหนดระยะเวลาการถือครองคลื่นความถี่วิทยุของรัฐทั้งหมดตามแผนแม่บท ถึง เมษา 60 ก่อนคืนคลื่น วันนี้ได้ฟังข่าวดี ท่านเลขาธิการ กสทช. แจ้งว่า สำนักงาน กสทช.จะเป็นรายแรกนำร่องการคืนคลื่นวิทยุ 1 ปณ. ดีใจ(ใน)ที่สุดเลย cc @TakornNBTC จากมติวันนี้ทางสำนักงาน กสทช.คงทำจดหมายแจ้งหน่วยงานราชการทั้งหมดที่ถือครองคลื่นวิทยุกระจายเสียงให้ทราบโดยทั่วกัน เสนอให้ สำนักงานจัดประชุมแจงเผือกร้อนเข่งใหญ่ของ กสทช.หลังปีใหม่คือนับเวลาถอยหลังสิ้นสุดการถือครองคลื่นความถี่วิทยุของหน่วยงานรัฐทั้งหมด หลังเมษา 60 Where do we go?
ถ้า กสทช. ยังไม่มีแผนการจัดสรรคลื่นที่ถูกกฎหมายรองรับ การออกอากาศหลังเมษา 60 ของวิทยุหน่วยงานรัฐทั้งหมดจะผิดกฎหมายใช่หรือไม่ ใช่ๆ ทำงานมา 5 ทำงานมาห้าปี ไม่มีช่วงไหนไม่มีเรื่องร้อน ปัญหาดิจิตอลทีวียังคุกรุ่น ต้นปีหน้าก็จะเจอปัญหาการคืนคลื่นวิทยุกระจายเสียงของรัฐอีก มาช่วยกันทายว่า กสทช. จะเรียกคืนคลื่นความถี่วิทยุกระจายเสียงของหน่วยงานรัฐได้สักกี่คลื่นในปีหน้า หลังครบ 5 ปีถือครองตามแผนแม่บทแล้ว วัดใจ กสทช. ที่มีจุดยืนในการเรียกคืนคลื่นและท่าทีของหน่วยงานรัฐต่างๆ ที่ก็คงไม่ค่อยอยากจะคืนคลื่น เรื่องนี้จะจบลงอย่างไรโปรดติดตามต่อไป สำหรับตนเองตั้งแต่ทำงานปฏิรูปสื่อของรัฐมา 20 ปีคงต้องบอกว่าถึงวันนี้ที่รอคอยสักที แต่ทำไมรู้สึกอึมครึม ไม่แน่ใจว่าจะออกมาอย่างไรในที่สุด
จุดยืนส่วนตัวไม่ได้ radical ที่จะเรียกคืนวิทยุรัฐทั้งหมด แต่จะไม่คืนเลย ถือครอง โดยไม่ได้ประกอบกิจการด้วยตนเองก็คงไม่ใช่กระมัง วันนี้ บอร์ด กสทช.เห็นชอบสนับสนุนงบประมาณกองทุนวิจัยและพัฒนา กทปส. ให้หลายหน่วยงานเลย ดีใจด้วยนะคะ
วาระ สำนักงานของบประมาณปี 2560 ประมาณการรายรับ หมื่นล้าน สำนักงานตั้งงบประมาณราว ห้าพันล้าน บอร์ด กสทช.ยังไม่ได้เห็นชอบทั้งหมด ทบทวนอีกรอบ สำนักงานขอนัดประชุม กสทช. วาระพิเศษว่าด้วยเรื่องงบประมาณและอื่นๆทิ้งท้ายปีเก่า 28 ธันวาคม หลังวันนี้ยังไม่ได้ข้อยุติ
ส่วนวาระราคากลางและกรอบการสร้างสำนักงานแห่งใหม่ที่ค้างคา วันนี้มติ กสทช. 4:3 เห็นชอบราคากลาง สำนักงานเตรียมประกาศสมัครประกวดราคา ดิฉันอยู่ฝ่ายเสียงข้างน้อย 3 เสียง มีเหตุผลประกอบค่อนข้างยาว ไว้รอทำบันทึกความเห็นทีเดียว เหตุผลหลักคือกำลังจะมี พรบ.กสทช. ฉบับใหม่ เรายังไม่รู้ว่า พรบ.ใหม่จะมีกรรมการกี่คนโครงสร้าง สำนักงานจะต้องถูกปรับเพิ่มลดอย่างไร ถ้าสร้างตึกใหม่ไปก่อน ไม่แน่ใจว่าต้องปรับแก้ทีหลังอีกไหม
อีกทั้ง กสทช.ชุดนี้ก็ใกล้จะครบวาระแล้วการสร้างโครงการใหญ่ๆเช่นตึกใหม่อาจเป็นภาระผูกพันชุดใหม่ที่เข้ามา แต่ปัญหาตอนนี้ก็คือเช่าตึกหลายแห่ง ประเด็นคือระยะยาวก็ต้องขยับขยายอาคารสำนักงานใหม่ให้ลงตัว ลดการเช่าตึก อยู่รวมกัน แต่จะตัดสินใจใน กสทช.ชุดนี้หรือปล่อยให้ชุดหน้าเขาว่าไปต่อ เป็นความเห็นส่วนตัวดิฉันคนเดียว ก็เคารพความคิดเห็นคนอื่น เห็นความจำเป็นว่าต้องสร้างแต่มีรายละเอียดบางเรื่องที่มองต่างเท่านั้นเอง
วาระร่างประกาศการสนับสนุนวิทยุชุมชนที่ไม่แสวงหากำไร ก็ผ่านบอร์ดใหญ่ กสทช. ในวันนี้แล้ว ข่าวดี ดีใจด้วย ดีใจจัง นานมากแล้วเรื่องนี้ ไว้ร่างประกาศการสนับสนุนวิทยุชุมชน ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จะมาสรุปความให้ทราบอีกครั้งค่ะ นอกนั้นก็มีวาระงานบริหารอื่นๆ เช่นแนวทางในการให้คะแนนเพื่อกำหนดโบนัสของพนักงาน กสทช. สุดท้ายก็เป็นดุลพินิจของท่านเลขาธิการ ไม่ใช่บอร์ด
ส่วนวาระการสนับสนุนค่าโครงข่ายทีวีดาวเทียม 2,500 ล้าน วันนี้ยังไม่เข้าบอร์ดใหญ่ ยังอยู่ในการวินิจฉัยของอนุที่ปรึกษากฎหมาย ไว้มาขยายความ ช่วงนี้ช่องดิจิตอลทีวี ทยอยส่ง จม.ขอความเห็นใจเรื่องการลดภาระค่าธรรมเนียมช่วงที่ออกอากาศแบบไม่มีรายได้เลย ส่งเรื่องให้ สำนักงานเสนอบอร์ดแล้ว ส่วนเรื่องทาง FOX ฟ้องธนาคารกรุงเทพ เรื่องแบงค์การันตีGMM/CTH เขาเคยมาแจ้ง กสทช.แล้วช่วงกลางปี เป็นคดีใหญ่ที่น่าสนใจและสำคัญชวนติดตามมาก
คืนนี้พอสังเขป พรุ่งนี้เช้าตรู่ สำนักงาน กสทช. ร่วมเป็นเจ้าภาพพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมพระบรมศพในหลวงรัชกาลที่ 9 (ร่วมกับกรมประชาฯ อสมท.) …