18 ธันวาคม 2559
Prep for Broadcast ‘s meeting tmr& my comment on online regulations. More soon.
มีประเด็นที่จะแลกเปลี่ยน เรื่อง พรบ.คอมพ์และแนวการกำกับดูแลสื่อออนไลน์ต่อเยอะเลย แต่คืนนี้ต้องเตรียมประชุมบอร์ด กสท. พรุ่งนี้วาระอย่างเยอะ เนื่องเพราะวันจันทร์ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นวันหยุดราชการ จึงงดประชุมวาระปกติ พรุ่งนี้วาระมาสมทบเยอะเลย ทั้งเรื่องประจำและเรื่องใหม่ๆ วาระสำคัญคือเรื่องอนุส่งเสริมการแข่งขันฯเสนอแนวทางเยียวยาค่าเช่าโครงข่ายทีวีดิจิตอลภาคพื้นดินช่วงทำหน้าที่บริการสาธารณะ งดโฆษณา ที่ผ่านมาค่าเช่าโครงข่ายทีวีดิจิตอลภาคพื้นดินนั้นสูงกว่าค่าเช่าโครงข่ายดาวเทียม ขณะที่ช่องทีวีดิจิตอลงดมีโฆษณา แต่ค่าเช่าโครงข่าย MUX ยังคิดเต็ม ช่อง digital tv เป็นของเอกชนแต่ผู้ให้บริการโครงข่ายเป็นของรัฐ เมื่อช่องงดรับโฆษณาทำหน้าที่บริการสาธารณะ โครงข่ายของรัฐควรช่วยแบกต้นทุนด้วย มี 2 แนวทางคือโครงข่ายดิจิตอลทีวีของรัฐลดราคาค่าเช่าหรืองด หรือใช้เงินกองทุน กทปส.ช่วยสนับสนุนค่าเช่าโครงข่ายช่วงที่ช่องทำตามนโยบายของรัฐ
ช่วงที่ผ่านมา ทีวีเอกชนทุกช่องทำตามนโยบายของรัฐด้วยความเต็มใจในการทำหน้าที่บริการสาธารณะ แม้ประสบภาวะทางการเงินไม่มีรายได้เข้าเลย ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นว่าในช่วงที่ผ่านมาช่องเอกชนไม่มีรายได้เข้าเลย แต่โครงข่ายของรัฐยังมีรายได้เต็มจากค่าเช่า แม้เอกชนเต็มใจแต่ก็สาหัส ด้วยเหตุนี้จึงมีเหตุผลที่ กสทช.และรัฐบาลจะพิจารณาเยียวยาค่าเช่าโครงข่ายทีวีภาคพื้นดินกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อความเป็นธรรมในการประกอบการ
ที่ผ่านมาบอร์ด กสทช. เห็นชอบให้สนับสนุนค่าเช่าโครงข่ายดาวเทียมในหลักการไปแล้ว แต่จริงๆค่าเช่าโครงข่ายภาคพื้นดินก็สำคัญและต้นทุนสูงกว่ามาก ถ้าหน่วยงานรัฐเช่นกองทัพบก อสมท. @thaipbs ไม่สามารถจะลดหรือยกเว้นค่าเช่าโครงข่ายภาคพื้นดินได้ กสทช. และรัฐบาลก็ต้องหาทางเยียวยาช่วงงดโฆษณา กรณีนี้ไม่ได้พูดถึงการเยียวยา digital tvในภาพรวมทั่วไปแต่พูดเฉพาะช่วงที่ กสทช. มีนโยบายให้ทีวีช่องธุรกิจทำหน้าที่บริการสาธารณะ แบบไม่มีโฆษณา อาจกล่าวได้ว่าเป็นเวลา 1 ถึง 2 เดือน เพราะช่องธุรกิจออกอากาศบริการสาธารณะแบบไม่มีโฆษณาก็มีเหตุผลที่รัฐจะเยียวยาค่าเช่าโครงข่ายภาคพื้นดิน
ส่วนนโยบายการช่วยเหลือ digital tv ในภาพรวมที่พูดกันมานานแล้วก็ว่ากันไป อันนี้พูดเฉพาะการเยียวยาช่วงเดือนที่ผ่านมา(ที่ช่องธุรกิจไม่มีโฆษณา) พรุ่งนี้ กสท.จะถกประเด็นที่อนุส่งเสริมการแข่งขันฯ เสนอมาตรการเยียวยาเรื่องค่าเช่าโครงข่าย MUX เข้ามา ผลของการถกมาตรการเยียวยาใน กสท. พรุ่งนี้เป็นอย่างไรก็ยังไม่จบ ต้องไปผ่านบอร์ดใหญ่ กสทช. หรือบางเรื่องถ้าใช้เงินก็ต้องไปผ่านรัฐบาลอยู่ดี การเยียวยาค่าเช่าโครงข่าย digital tv ภาคพื้นดิน สุดท้ายเงินก็ส่งเข้าหน่วยงานรัฐและรัฐวิสาหกิจทั้ง 3 อยู่ดี ( กองทัพบก อสมท. และไทยพีบีเอส)
มีวาระ 8 ช่องดิจิตอลทีวีขอผ่อนผันการทำรายการเพื่อการเข้าถึงของคนพิการเหตุยังไม่มีเงินลดลงทุนเครื่องมือทำ closed caption/audio description ประกาศ กสทช. หลังการประมูลบอกให้ดิจิตอลทีวีทำรายการเพื่อคนพิการใน 3 รูปแบบคือภาษามือ คำบรรยายเปิดปิด(CC)และคำบรรยายเสียง(AD)ต้องเริ่มปีหน้า มี 8 ช่องที่ทำจดหมายร้องเข้ามาว่ายังไม่พร้อม ไม่มีเงินลงทุนเครื่องมือจึงขอผ่อนผันออกไปก่อนแต่ทำให้ต้องแก้ไขประกาศฯ ซึ่ง เป็นเรื่องยาก #CC#AD ทางออกหนึ่งก็คือวัตถุประสงค์หนึ่งของกองทุน กทปส.ให้มีการสนับสนุนการเข้าถึงของคนพิการถ้าต้องการให้เกิดรายการแบบนี้จริงๆ ก็ควรจะส่งเสริม ที่ผ่านมามีการใช้เงินกองทุนไปในเรื่องที่ไม่ตรงวัตถุประสงค์ #คหสต. แต่การสนับสนุนให้มีรายการเพื่อคนพิการอันนี้ตรงวัตถุประสงค์กว่ามาก
ทุกวันนี้แม้ กสทช. จะให้ช่องมีรายการเพื่อคนพิการ เช่นล่ามภาษามือ แต่ให้สำนักงานสำรวจเบื้องต้นพบว่าบางช่องยังไม่มีด้วยเหตุว่าไม่มีเงินลงทุน นอกจากรายการที่มีล่ามภาษามือแล้วจะต้องมีรายการแบบคำบรรยายเปิดปิดและคำบรรยายเสียงสำหรับคนหูหนวกและคนตาบอด แต่ก็ต้องใช้ต้นทุนพอสมควร ช่องดิจิตอลทีวีอ้างว่าประกาศนี้ออกภายหลังประมูลและบังคับเฉพาะฟรีทีวี แต่ไม่บังคับดาวเทียม เคเบิล จึงไม่เป็นธรรมกับเขา จึงขอผ่อนผันเข้ามา
ดิฉันและอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯ เห็นว่าแทนที่จะผ่อนผันกฎทำให้คนพิการเสียประโยชน์ รัฐควรจะส่งเสริมใช้เงินกองทุนสนับสนุนเพื่อคนพิการ รอดูว่าพรุ่งนี้บอร์ด กสท.จะมีแนวทางออกเช่นไรต่อประเด็นนี้ ที่ยังคงสิทธิ์ของคนพิการในการเข้าถึงฟรีทีวี แต่ก็เข้าใจความลำบากของช่องด้วย
วาระสำคัญอีกชุดหนึ่งคือเรื่อง GMMz ทั้งเรื่องการเยียวยาสมาชิก ทั้งเรื่องการจ่ายค่าปรับและเรื่องการสอบทานค่าธรรมเนียมที่อาจไม่ครบตามจริง เรื่องร้องเรียนผู้บริโภคสมาชิก GMM z และ CTH ทางสำนักงานและอนุผู้บริโภค กำลังแก้ไขต่อเนื่อง ส่งประเด็นเข้า กสท. เป็นระยะ ที่ผ่านมา GMMz ส่งแผนเยียวยาล่าช้าจึงเจอคำสั่งปรับทางปกครอง แต่เขาขอผ่อนผันเข้ามาเป็นวาระเข้าบอร์ดพรุ่งนี้หลังอนุผู้บริโภคยืนค่าปรับตามเดิม ในความเห็นส่วนตัวของดิฉันค่าปรับไม่ได้สูงถ้าเทียบกับผลกระทบของผู้บริโภค ที่ใช้เวลาพอสมควรในการแก้ปัญหาแต่ละเคส และภาพรวม ส่วนเรื่องการสอบทานค่าธรรมเนียมเป็นประเด็นซับซ้อนซึ่งทางสำนักค่าธรรมเนียมชงรายละเอียดเข้าบอร์ด กสท. เป็นงานที่น่าชื่นชม จนท.สำนักนี้มาก ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมตามสัดส่วนรายได้แต่มีบางเอกชนจดหลายชื่อแล้วนำรายได้ไปอยู่ในบริษัทที่ไม่ได้รับอนุญาต สํานักค่าธรรมเนียมฯ สอบทานพบว่ารายได้จากการขายกล่องและบัตรเติมเงินไปอยู่ในบริษัทที่ไม่ได้เป็นผู้รับใบอนุญาต ทำให้ไม่ได้มาคำนวณค่าธรรมเนียม มีหลายบริษัทที่ทำแบบนั้นแต่ก็มีหลายบริษัทที่ไม่ได้ทำ ทำให้มีมาตรฐานที่แตกต่างส่งผลให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขันของเอกชน #ค่าธรรมเนียม
เรื่องนี้เป็นผลประโยชน์รัฐและกระทบความเป็นธรรมของเอกชน ถ้าเจ้าหน้าที่ไม่ตรวจพบแล้วเสนอวาระ บอร์ดก็ไม่รู้ ขอบคุณ จนท.ทุกคนที่ทำงานตรงไปตรงมา ถ้าส่วนต่างของค่าธรรมเนียมที่สอบทานแล้วไม่ตรง 50 ล้าน 100 ล้าน 200 ล้าน ก็ทำให้รัฐเสียรายได้และไม่เป็นธรรมกับเอกชนรายอื่นที่จ่ายเต็ม เป็นต้น เมื่อ สนง.มีประเด็นและส่งเรื่องเข้าบอร์ด ก็ต้องดูว่าพรุ่งนี้บอร์ด กสท. จะมีมติ วางเป็นนโยบายอย่างไรให้เกิดความเป็นธรรมและถูกกฎหมาย #fee
การเยียวยาค่าเช่าโครงข่ายMuXและเรื่องการสอบทานค่าธรรมเนียมล้วนเป็นเรื่องการแข่งขันเสรีเป็นธรรมที่ กสทช. @Thawatchai_NBTC ดูแล ชงวาระ กสท. ยังมีวาระผู้รับอนุญาตบางรายไม่จ่ายค่าธรรมเนียมเลยก็คงต้องมีคำสั่งทางปกครองและที่เกี่ยวเนื่องอื่นๆ พรุ่งนี้ คงถกตัวเลขกันนาน
วาระหารือเรื่องแนวทางการกำกับกล่องทีวีบอกรับสมาชิกแบบ android ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ส่งผลให้ทีวีดาวเทียมเคเบิ้ลที่ต้องจ่ายเงินดูได้รับผลกระทบ ในตลาดมืดปัจจุบันคนซื้อกล่องทีวี android ต่อเข้ากับเน็ต ดูทีวีบอกรับสมาชิกฟรีๆ ช่องเหมือนกับที่ออกในช่องเคเบิ้ลดาวเทียมที่ต้องจ่ายเงินดู อันนี้เป็นปัญหา กสทช. ที่แยกกำกับโทรคมและโทรทัศน์ คงต้องหารือแนวทางในยุคหลอมรวมที่จะกำกับทีวีบอกรับสมาชิก ประเด็น OTT ละเมิดลิขสิทธิ์
มีวาระรายงานเรื่องการใช้สิ่งอำนวยความสะดวกสำรองในการติดตั้งโครงข่ายทีวีดิจิตอลภาคพื้นดินเฟสสุดท้าย สถานีเสริมต่างๆ วาระการลงโทษช่องรายการที่ละเมิดผู้บริโภคเช่นโฆษณาผิด อย. และละเมิดมาตรฐานสัญญาทีวีบอกรับสมาชิกเป็นต้น รวมทั้งวาระพิจารณาต่อใบอนุญาตวิทยุทดลองประกอบกิจการ ช่องทีวีดาวเทียมรวมทั้งผังรายการ แม้เป็นวาระรูทีนแต่ต้องดูรายละเอียด มีประเด็นเหมือนกัน
ปัญหาการซื้อกล่อง android ดูทีวีบอกรับสมาชิกผ่านเน็ตแบบละเมิดลิขสิทธิ์ ทำให้ทีวีดาวเทียมและเคเบิลเดือดร้อน (คิดว่าพ.ร.บ.คอมพ์ก็คงช่วยยาก) คู่แข่งทีวีดาวเทียมและเคเบิลที่เป็นทีวีบอกรับสมาชิกตอนนี้ไม่ใช่เฉพาะฟรีทีวีดิจิตอลแต่เป็นกล่องทีวี android ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ในตลาดมืด มีบ้านใครบ้างที่ไปซื้อกล่องแอนดรอยมาดูทีวีบอกรับสมาชิกผ่านเน็ตละเมิดลิขสิทธิ์ทีวีดาวเทียมเคเบิ้ลในไทย ฝากคิดว่าจะแก้ปัญหานี้อย่างไรค่ะ การกำกับ OTT หรือ over- the – top tv เป็นโจทย์ที่ท้าทายของ กสทช. และอุตสาหกรรมในการกำกับสื่อยุคหลอมรวม ทั้งประเด็นลิขสิทธิ์และสิทธิผู้บริโภค
นอกนั้นพรุ่งนี้ยังมีวาระที่ศาลคุ้มครองชั่วคราวไทยทีวีไม่ให้ธนาคารกรุงเทพจ่ายแบงค์การันตีค่าประมูลคลื่นงวด 4 – 6 ที่จะมาถึงปีหน้าเป็นต้นไป งวด 1 ถึง 3 ที่ผ่านมาธนาคารกรุงเทพยังมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าประมูลคลื่นแทนบริษัทไทยทีวี แต่ศาลคุ้มครองงวด 4 – 6 อีก 3 ปีข้างหน้าจนกว่าจะตัดสินคดี
วาระพรุ่งนี้ก็คงเป็นเรื่องการอุทธรณ์คดีในชั้นศาลปกครองสูงสุดต่อไป
…….
ยังมีวาระย่อยอย่างอื่นอีกไว้มาสรุปเพิ่มเติมภายหลังการประชุมบอร์ด กสท. พรุ่งนี้ค่ะ
จริงๆมีวาระใหญ่เรื่องสำคัญที่ต้องเข้าบอร์ดกสท. พรุ่งนี้แต่ยังไม่เห็น นั่นคือกรณีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนผู้ถือหุ้นในช่องดิจิตอลทีวี ทั้งกรณีการเพิ่มสัดส่วนผู้ถือหุ้นในช่องอมรินทร์ทีวี @amarintvhd และช่องวัน @onehdthailand ที่มีนัยยะสำคัญ รอ สนง.ชงเรื่องเข้ามาให้พิจารณา กรณีเพิ่มผู้ถือหุ้นใหม่ในช่องอัมรินทร์ทีวีอาจไม่น่ากังวลมาก เพราะทุนใหญ่ที่มาถือหุ้นเพิ่ม น่าจะยังไม่เคยถือหุ้นในช่องอื่นๆมาก่อน รอ สนง.ตรวจ กรณีกลุ่มปราสาททองโอสถที่ถือครองช่อง PPTV แล้วมาถือหุ้นใหญ่ในช่องOne อาจมีประเด็น ถ้า สนง.ตรวจพบว่าขัดกฎก่อนประมูล รอวาระพิจารณาเรื่องนี้ เพราะอาจมีประเด็นดราม่าเหมือนกรณีกลุ่มทุนช่องสปริงนิวส์มาถือหุ้นใหญ่ในช่องข่าวเครือเนชั่นก่อนหน้านี้ที่บอร์ด กสท.มีมติออกมาคลุมเครือ 2:2:1
กรณีช่องสปริงนิวส์และช่องเนชั่นตอนนั้นมีความขัดแย้งกันเรื่องการถือหุ้นเลยกลายเป็นข่าวใหญ่ กรณีช่องวันคงเต็มใจเพิ่มทุน แต่ กสท.ก็ต้องตรวจสอบ ผู้รับใบอนุญาตที่เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมสัดส่วนการถือหุ้นต้องแจ้งมาที่สำนักงาน กสทช. และสำนักที่เกี่ยวข้องต้องวิเคราะห์และส่งเรื่องเสนอบอร์ด
ดิฉันตั้งใจจะพูดเรื่องนี้เหมือนคราวเรื่องสปริงนิวส์กับเนชั่น แต่เหตุเกิดช่วงลากิจไปวิปัสสนา ขอดูข้อมูลจากสำนักงานแล้วจะแสดงความเห็น #One ข้อเท็จจริงคือกฎก่อนการประมูลห้ามการมีผลประโยชน์ร่วมกันคือห้ามถือหุ้นใหญ่ร่วมเกินร้อยละ 10 ทั้งในช่องข่าวและช่อง HD ด้วยกัน ประเด็นคือ แม้มติจะออกมาคลุมเครือ 2:2:1 แต่ก็ไปตีความการงดออกเสียงรวมเป็นเสียง ที่บอกว่าไม่ผิดกฎ จึงทำให้เป็นบรรทัดฐาน ซึ่งดิฉันเห็นต่าง อย่างไรก็ตาม สำนักงานก็มีหน้าที่ต้องตรวจสอบและส่งวาระให้บอร์ดลงมติ ความน่าตื่นเต้นคือตอนนี้ กสท.เหลือแค่ 4 คน รอลุ้นการลงมติดีกว่าเรื่องซับซ้อนทั้งสิ้น เกี่ยวกับภาคธุรกิจด้วย ต้องอธิบาย อีกทั้งดิฉันต้องระวังเซ็นเซอร์ตัวเองมากขึ้นในการทวิต เกรงจะไปถูกฟ้องตาม #พรบคอม อีก
พูดถึงเรื่อง #พรบคอม และการกำกับสื่อออนไลน์นอกจากที่เสนอแนะให้ไทยลองดูโมเดลของเกาหลีใต้แล้วอีกประเทศที่น่าสนใจคือเยอรมนี อ่านข่าวเจอว่าทางการเยอรมันจะเพิ่มมาตรการเข้มการกำกับเนื้อหาใน facebook แต่ประเด็นคือน่าใช้มาตรการปรับไม่ใช่โทษอาญา ให้เป็นภาระ FB ไม่ใช่ลงโทษคนใช้ ยังไม่เห็นรายละเอียด บอกไม่ได้ว่าจะเห็นด้วยกับแนวทางที่รัฐเยอรมนีเสนอไหมและยังไม่ผ่านด้วย เขายังถกกันอยู่ ประเด็นคือการไม่ทำให้เป็นโทษอาญาหรือไม่ ในฐานะเป็นองค์กรกำกับดูแล ดิฉันรับได้กับการกำกับดูแลระดับหนึ่ง เช่นกลไกค่าปรับ แต่ไม่เห็นด้วยการทำให้เป็นโทษอาญาเพราะละเมิดสิทธิพลเมือง คดีหมิ่นประมาทก็เช่นกันก็ต้องยอมรับว่าประเทศไทยยังเป็นโทษอาญาแต่หลายประเทศเขาก็ยกเลิกไปแล้วเพราะมันละเมิดสิทธิพลเมือง หลายประเทศที่ทำตามแนวทาง UN ยกเลิกโทษหมิ่นประมาททางอาญาจะเหลือแต่เป็นโทษทางแพ่งแทนเพราะมันชดใช้ตรงประเด็นมากกว่าการนำคนเข้าคุกเพราะแสดงออก จริงอยู่ที่ท่านบอกว่าประเทศอื่นก็มีการกำกับสื่อออนไลน์เหมือนกัน แต่ต้องดูว่าเขาเป็นโทษอาญาหรือไม่โดยเฉพาะในประเทศที่ระวังเรื่องสิทธิมนุษยชน ที่ประเทศไทยถูกลดระดับเสรีภาพของสื่อออนไลน์ เพราะเปิดช่องให้มีการฟ้องเอาผิดทางอาญาได้มากแม้กระทั่งการพูดรับทราบในกล่องข้อความส่วนตัวเป็นต้น ตอนนี้ facebook ถูกกดดันจากในสหรัฐอเมริกาเองให้มีการกำกับการกรองข่าวปลอมมากขึ้นแต่เป็นกลไกทางสังคม มากกว่าการใช้กฎหมาย #คหสต. ในกลุ่มยุโรปเองก็อาจมีมาตรการกดดัน facebook ในทางนโยบายของรัฐแต่เขาคงไม่มาไล่ฟ้องเอาผิดอาญากับพลเมืองที่กดไลค์ต่างๆ เป็นต้น คงเพราะเมืองไทย รัฐอาจจะไม่มีกลไกในการเจรจาต่อรองกับ facebook ทางออกจึงไปใช้กฎหมายอาญา ปรามระดับพลเมืองแทนซึ่งก็ขัดหลักสิทธิมนุษยชน Facebook มีสำนักงานใหญ่โตเปิดเผยในสิงคโปร์ แต่ในเมืองไทยเขาเริ่มมีเจ้าหน้าที่ มีออฟฟิศเล็กๆ แต่ไม่เปิดเผยว่า สนง.ตั้งอยู่ตรงไหน จริงๆถ้ารัฐไทยจะกดดันหรือเจรจา ก็ควรตรงไปที่บรรษัทข้ามชาติอย่าง facebook แทนที่จะมาปราบปรามพลเมืองที่ใช้ facebook #คหสต. ในแง่การขยายทางธุรกิจ facebook ก็มาตั้งทีมเล็กๆในไทย แต่ยังไม่เอิกเกริกเหมือน สนง.ในสิงคโปร์ ถ้าจะขยายกว่านี้ คงต้องเจรจากับรัฐไทย #คหสต.
เยอรมนีเขาเข้มห้ามการพูด เรื่องเกี่ยวกับนาซีอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นอันนี้คงเป็นประเด็นที่เขาให้ความสำคัญในการกำกับสื่อออนไลน์ด้วย ขอไปศึกษาก่อน ถ้ามีโอกาสจะเสนอสำนักงานให้เชิญ ตัวแทนจากเกาหลีใต้และเยอรมันนีมาเล่าให้ฟังแล้วกันค่ะ คนไทยคงสนใจเพราะเขาก็ละเอียดอ่อนเรื่องสื่อออนไลน์
ปล.เวลาพูดถึงการกำกับสื่อออนไลน์ขอให้แยกประเด็นการแสดงความคิดเห็น ออกจากอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์นะคะ …จริงๆมันคนละเรื่องเดียวกัน