การร่วมผลิตรายการโทรทัศน์ ระหว่างประเทศไทย – เกาหลี

November 24, 2016

A summary in Busan.

อันยองอาเซโย สวัสดีจากเมืองปูซานสาธารณรัฐเกาหลีใต้ค่ะ วันนี้มีสัมมนาเรื่องการร่วมผลิตรายการโทรทัศน์ ระหว่างประเทศ จัดโดยองค์กรกำกับสื่อที่นี่ คือ Korea Communications Commission – KCC คล้าย กสทช. บ้านเรา เป็นการสัมมนาเรื่องการผลิตรายการร่วมกันข้ามชาติ ( International co-production) จัดโดยทางการเกาหลีใต้ เขาเชิญตัวแทนจากอินโดนีเซีย ไทยและตุรกีเข้าร่วมเป็นการเฉพาะ ที่มาของงานนี้คือทางการเกาหลีใต้กำลังมียุทธศาสตร์ขยายความร่วมมือการผลิตรายการข้ามชาติกับจีน เวียดนามอินโดนีเซีย ไทย และตุรกี เป็นต้น เนื่องเพราะประเทศต่างๆเหล่านี้วัฒนธรรม k-popและละครเกาหลีเป็นที่นิยมชมชอบ อยู่แล้ว เขาจึงอยากจะขยายฐานการผลิต creative industry ด้านภาพยนตร์มีการร่วมลงทุนระหว่างไทยเกาหลีแล้วเช่นเรื่อง 20ใหม่หัวใจรีเทิร์นจากค่าย CJ major กับประเทศไทยดัดแปลงมาจาก MissGranny ของเกาหลีใต้ ภาพยนตร์ไทยที่โด่งดังในเกาหลีใต้ เช่นองค์บาก ชัตเตอร์กดติดวิญญาณ แฝด พี่มากพระโขนง Bangkok dangerous โดยเฉพาะองค์บาก หลายคนที่นี่ชอบมาก เขาบอกเรา วงการโทรทัศน์ยังไม่เห็นการร่วมผลิตกับเกาหลีใต้อย่างเป็นระบบ ภาครัฐยังไม่มีการส่งเสริมเลย ที่ผ่านมาเอกชนไทยร่วมผลิตกับประเทศเพื่อนบ้านมากกว่า ประเทศไทยมีบทบาทในอุตสาหกรรมผลิตเนื้อหากับเพื่อนบ้านในอาเซียนตั้งแต่ปี 1992 บุกเบิกโดยภาคเอกชนเช่นกลุ่มกันตนา ได้รับสัมปทานช่อง5ของกัมพูชา ต่อมาในปี2009 ทางกลุ่มกันตนาได้เข้าร่วมกับประเทศเวียดนามพัฒนาสถานี Let’s Viet ล่าสุดได้บริหารสถานีโทรทัศน์ช่อง MWD ของเมียนมาร์ด้วย ความร่วมมือในการลงทุนระหว่างเอกชนไทยกับต่างประเทศเช่นทีวีอาซาฮีร่วมมือกับกันตนาลงทุนโทรทัศน์ในพม่า อาจมีการแลกเนื้อหารายการร่วมกันเป็นต้น

ทราบว่า ปัจจุบันราคาละครเกาหลีในกัมพูชาตอนละ2,000กว่าเหรียญสหรัฐ ละครไทยอยู่ที่ 700 – 800 เหรียญ ละครจากฟิลิปปินส์อยู่ที่ร้อยกว่าเหรียญสหรัฐ การผลิตละครไทยในปัจจุบันมูลค่าราว 28,000 เหรียญสหรัฐแต่การสั่งซื้อละครเกาหลีเข้ามาในประเทศตกราวตอนละ 4 – 5 พันเหรียญสหรัฐ การผลิตละครไทยในอาเซียน คือนำบทไปแปลงให้เข้ากับประเทศเพื่อนบ้านและใช้ตัวละครในท้องถิ่นนั้น เช่นเรื่องรักไร้พรมแดนใช้ดาราของไทยและเวียดนาม รายการวาไรตี้ของไทยในทีวีอาเซียนปรับรูปแบบให้เข้ากับพื้นที่นั้นเช่นในกัมพูชารายการฝันที่เป็นจริงแทนที่จะแจกรถเข็นก็เปลี่ยนเป็นแจกวัวแทน ที่ผ่านมาภาคเอกชนไทยไปบุกเบิกร่วมผลิตทีวีในอาเซียนด้วยตนเอง แทบเรียกได้ว่าไม่มีการสนับสนุนจากภาครัฐเลยทั้งในเชิงนโยบายหรือปฏิบัติ ขณะที่ทางเกาหลีใต้ ภาครัฐมีนโยบายในการสนับสนุนภาคเอกชนเต็มที่ในการส่งออกรายการโทรทัศน์และสื่อวัฒนธรรมไปทั่วโลกจนประสบความสำเร็จทางเศรษฐกิจ การสนับสนุนภาคเอกชนโดยรัฐของเกาหลีใต้ทำหลายรูปแบบทั้งการให้เสรีภาพสื่อสร้างสรรค์เนื้อหาเต็มที่ สนับสนุนองค์ความรู้ งบประมาณ เป็นวาระแห่งชาติ ที่ผ่านมาหลังจากเกาหลีใต้สนับสนุนส่งออกเนื้อหาสื่อวัฒนธรรมขายไปทั่วโลก ตอนนี้กำลังจะขยายยุทธศาสตร์ด้วยการไปร่วมผลิตกับประเทศต่างๆ ประเทศไทยเป็นหนึ่งในเป้าหมายของเกาหลีใต้ที่ต้องการขยายยุทธศาสตร์ส่งเสริมการผลิตรายการร่วมกันระหว่างสองประเทศ สัมมนานี้คือจุดเริ่มต้น ข้อดีของการร่วมผลิต(co-production) คือถ้า production ออกมาดีส่งออกขายได้ทั่วโลก ผู้ผลิตไทยจะได้ส่วนแบ่งจากการขายเนื้อหานั้นไปเรื่อยๆ

จุดแข็งของเกาหลีใต้คือมีโนฮาว เก่งทำการตลาดทั่วโลก แต่เขาต้องการแสวงความร่วมมือกับประเทศอื่นๆเพื่อขยายเศรษฐกิจยุคดิจิทัลด้านสื่อวัฒนธรรม การผลิตร่วมกัน(co – production)หมายถึงตั้งแต่เริ่มการวางแผน ลงทุน ใช้ทรัพยากร และขายรายการร่วมกัน แบ่งรายได้กัน ถือลิขสิทธิ์ร่วมกัน มีเอกชนเกาหลีใต้ไปร่วมผลิตกับทีวี เวียดนามแล้ว บทแนวรอมคอม ดราม่า คือสาวเวียดนามหลงรักกับหนุ่มเกาหลี ทำเสร็จแล้วออนแอร์ใน 2 ประเทศ เรตติ้งดี รวมถึงการร่วมผลิตละครระหว่างเกาหลีกับจีนด้วย อาทิเรื่องอิงประวัติศาสตร์สงคราม Imjin War 1592 เป็น factual drama ผลิตร่วมกับCCTVจีน และอื่นๆ เมื่อผลิตละครหรือสารคดีร่วมกันแล้วทางเกาหลีใต้จะเป็นคนนำไปขายทั่วโลกพอได้รายได้มาก็ต้องแบ่งกลับมาให้ผู้ผลิตในประเทศนั้นๆด้วย เป็นกำไรเพิ่ม

วันนี้คุยนอกรอบกับผู้ผลิตอิสระของเกาหลีใต้เขาสนใจร่วมผลิตกับช่องดิจิตอล เขาคุยกับช่อง Mono แล้วและเล่าว่ากำลังจะลองคุยกับเวิร์คพอยท์และ MCOT ผู้ผลิตอิสระเกาหลีใต้เล่าว่าหลังจากคุยกับช่องโมโน เขาบอกอุปสรรคว่าปัญหาอยู่ที่งบลงทุนสูง ของไทยภาครัฐไม่ได้สนับสนุนแบบเกาหลีใต้ (ก็จริง…) เขาถามว่ามีช่องอื่นอีกไหมที่น่าจะสนใจผลิตสารคดีร่วมกับ ตปท. เราแนะว่าน่าจะมีช่อง Now  New)TV AmarinTV PPTV เขาบอกว่าอยากรู้จักช่องใหม่ๆเพิ่ม

ผู้ผลิตอิสระของเกาหลีใต้ที่คุยวันนี้แนะว่าน่าจะมีช่องทางให้ภาคเอกชน ในเกาหลีได้พบปะกับผู้ประกอบการช่องดิจิตอลทีวี เราเห็นด้วย จะเสนอ สำนักงาน เขาเล่าว่าเดือนหน้าจะมีงานแนว expo ที่สิงคโปร์ รัฐบาลเกาหลีจะสนับสนุนให้เอกชนได้ไปพบปะกัน แต่ของไทยเหมือนเอกชนต่างดิ้นรนเช่าบูธเอง ฟังแล้วได้ไอเดียวว่า กสทช.น่าจะสนับสนุนให้มีงานแนว expo เปิดเวทีให้ภาคเอกชนต่างประเทศได้มาพบปะกับช่องดิจิตอลทีวีเผื่อมีการร่วมทุนพัฒนาเนื้อหา ทีวีไทยเสียเงินนำเข้าซีรีส์เกาหลีเป็นเงินที่สูงมาก ถ้าต่อไปพัฒนาเป็นการร่วมทุนแล้วไทยได้ประโยชน์จากการขายซ้ำเนื้อหาก็อาจช่วยสร้างรายได้เพิ่ม ตั้งแต่มีดิจิตอลทีวี สถิติการนำเข้าเนื้อหาจากต่างประเทศโดยเฉพาะซีรีส์เกาหลีก็สูงขึ้นโดยเฉพาะช่องใหม่ๆ ปีนี้ทราบว่ามีละครเกาหลี 30 กว่าเรื่อง

คนเกาหลีใต้บอกว่าทีวียุคนี้รอแต่โฆษณาในประเทศคงไม่พอ ต้องมีการพัฒนาเนื้อหาเพื่อผลิตซ้ำนำไปขายทั่วโลกสร้างมูลค่าเพิ่มเรื่อยๆ แต่ต้องทำ R&D มาประชุมที่เกาหลีใต้ 2 วัน แต่ได้ไอเดียเรื่อง digital economy กับทีวีแจ่มชัดขึ้นมาเลย อุตสาหกรรมต้องปรับตัวยกระดับ ภาครัฐต้องหนุนเสริมจริงจัง ตั้งแต่มีดิจิตอลทีวี ทำให้ผู้ผลิตยกระดับมาเป็นเจ้าของสถานี หลายช่องส่งออกละครไปยังกลุ่มประเทศCLMV ส่วนจีนและไต้หวันสนใจซื้อลิขสิทธิ์จากเครือ BEC ยุคแอนะล็อก ช่อง7และช่อง3 นำเข้าเนื้อหาจากต่างประเทศราว 23 – 24% แต่ยุคดิจิตอลช่อง 3 นำเข้าลดลงมาก ช่อง 7 คงเดิม

หลังจากที่มีทีวีดิจิตอล ช่องวันมีเนื้อหารายการนำเข้าถึงร้อยละ 20.30 ช่อง Workpoint 6.36% ส่วน Mono พิเศษคือส่วนใหญ่นำเข้าจากต่างประเทศ ประเทศไทยมีกฎหมายห้ามต่างชาติเป็นเจ้าของทีวี(ถือหุ้นได้แค่25%) แต่ไม่ได้มีข้อห้ามเรื่องของการนำเข้าเนื้อหาและไม่มีข้อจำกัดการผลิตรายการร่วม บางประเทศมีข้อจำกัดคือกฎหมายบอกว่าต้องมีรายการต่างประเทศจำนวนกี่เปอร์เซ็นต์แต่ของไทยไม่จำกัดเช่นช่อง Mono แต่มีกฎว่าต้องมี 2 ภาษา แปลเป็นไทย

กฎหมายไทยและประกาศ กสทช.ไม่ได้จำกัดสัดส่วนรายการทีวีใน/ต่างประเทศ แต่ไปจำกัดที่ส่วนเนื้อหาว่าต้องเป็นข่าวสารสาระและบันเทิงกี่เปอร์เซนต์แทน  ความน่าสนใจของดิจิตอลทีวีคือบางช่องเน้นนำเข้าเนื้อหา ส่วนบางช่องพยายามส่งออกเพื่อเพิ่มรายได้ ควรมีการวิจัยและพัฒนาส่งเสริมอย่างเป็นระบบ

อย่างเครือกันตนาตัดสินใจไม่ประมูลช่องทีวีในประเทศไทยแต่ไปบุกเบิกช่องทีวีในประเทศเพื่อนบ้านแทน ก็คงล้มลุกคลุกคลาน เจออุปสรรคไม่น้อยเช่นกัน ทางเกาหลีเขาเน้นลงทุนในเรื่องของการวางแผน วิจัย พัฒนาบทละคร ขณะที่ของไทยต้นทุนอยู่ที่ดารานักแสดงมากกว่าการลงทุนเรื่องบท #คหสต.

ทางออกหนึ่งของอุตสาหกรรมทีวีไทยคือ เน้นลงทุนผลิตเองหรือร่วมผลิต ยกระดับเน้นส่งออก ผลิตขายซ้ำให้ได้มากขึ้นเหมือนของเกาหลีใต้ ไทยเราไม่มีกฎหมายห้ามเรื่องการร่วมผลิตรายการทีวีกับต่างประเทศแต่อุปสรรคใหญ่คงอยู่ที่เงินลงทุนของช่อง แบบเกาหลีคือรัฐส่งเสริมในช่วงเริ่มต้น ทางองค์กรกำกับเกาหลีใต้พูดกับดิฉันว่าอยากจะส่งเสริมให้มีการร่วมผลิตทีวีระหว่างเกาหลีกับไทยโดยใช้โลเคชั่นของประเทศไทยเป็นที่ถ่ายทำให้มากขึ้น กองกิจการภาพยนตร์ กรมการท่องเที่ยวทำหน้าที่พิจารณาอนุญาตให้กับหน่วยงานที่จะมาถ่ายทำภาพยนตร์หนังโฆษณาละครในประเทศไทยและมีการเก็บสถิติไว้  ด้านผู้ผลิตอิสระเกาหลีใต้เล่าว่าไปร่วมผลิตกับสื่อในมาเลเซียแล้วนำเนื้อหาไปขายต่อทั่วโลกทุกวันนี้ก็ยังต้องแบ่งรายได้ 30% กลับไปที่มาเลเซีย
…..

มาประชุมรอบนี้ได้ไอเดียเยอะเลย เกิดแรงบันดาลใจมากมายแต่ไม่แน่ใจว่าจะผลักดันได้สักกี่เรื่อง ขอกลับมาหารือใน กสทช. และหน่วยงานรัฐอื่นๆก่อน กลับไป ดิฉันจะให้ทีมงานทำรายงานเสนอ กสท. และหารือกับสำนักงานที่เกี่ยวข้อง อาจจะมีการสัมมนาเรื่องนี้ในประเทศไทยสักครั้ง ระดมไอเดีย นอกจากใน กสทช.แล้วคงต้องหารือกับ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงดีอี กระทรวงท่องเที่ยว รวมทั้งสถาบันวิชาการและก็อุตสาหกรรมสื่อว่าคิดเห็นอย่างไรกัน ดั้งเดิมการประมูลคลื่นโทรทัศน์วิทยุเพื่อเข้ากองทุน กทปส.ที่จะใช้เงินกลับมาพัฒนาอุตสาหกรรมสื่อแต่ตอนนี้เงินดังกล่าวถูกส่งเข้ารัฐบาลโดยตรง กสทช.ไม่สามารถจัดสรรเงินที่ได้จากการประมูลคลื่นโทรทัศน์ให้อุตสาหกรรมทีวีเพราะมีการแก้กฎหมายให้ส่งเงินเข้ารัฐบาล จึงต้องหารือนโยบายรัฐบาลด้วย สรุปการประชุม 2 วันจบแล้วได้ไอเดียเยอะแต่จะกลับมาทำได้แค่ไหน ขอหารือในประเทศก่อน ไว้จัดสัมมนาขยายไอเดียเรื่องนี้จะเชิญทุกท่านค่ะ

ส่วนทางการเกาหลีใต้หลังสัมมนาที่นี่เขาจะเดินสายไปพูดคุยกับประเทศต่างๆเห็นว่าจะมาเมืองไทยเดือนหน้า เขาขอนัดที่ กสทช.แล้ว ไว้มาอัพเดทค่ะ เห็นตัวอย่างการทำงานเชิงรุกอย่างมีระบบและยุทธศาสตร์ของภาครัฐและเอกชนเกาหลีใต้แล้ว น่าประทับใจ ไทยเราคงต้องเรียนรู้อีกเยอะ

ปล. ได้ถ่ายรูปร่วมกับตัวแทนองค์กรกำกับสื่อจากประเทศเกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ตุรกี เพิ่งเห็นว่าเราเป็นผู้หญิงคนเดียวอีกแล้ว ได้เจอกับประธาน KPI ซึ่งเป็นองค์กรกำกับสื่อที่อินโดนีเซีย (คล้าย กสทช. ) อายุท่าน 35 ปีเอง เป็นยุคคนรุ่นใหม่จริงๆ cc สนช. #พรบ.กสทช.

ยังมีเรื่องราวอีกเยอะแต่ขอพักก่อนค่ะไว้มาเล่าต่อ ปิดท้ายด้วยภาพจากทีวีดิจิตอลเกาหลีใต้ ละครน่ารักดูละมุนละไมดี HD ชัดเวอร์ เขาเล่าว่า ทางเกาหลีใต้เขาจะเริ่มการออกอากาศทีวีแบบ Ultra HD แบบ super ชัดมากขึ้น ประมาณกุมภาพันธ์ปีหน้า รอติดตามผลการรับชม งาน 2 วันเสร็จแล้ว พรุ่งนี้เตรียมตัวกลับกรุงเทพฯ ถ้าตื่นเช้าและขยัน ไม่กลัวหนาว 0 องศา จะลองออกไปวิ่งริมชายหาดข้างโรงแรม #Busan ขอบคุณทางภาครัฐเกาหลีใต้ที่เป็นเจ้าภาพเชิญมาประชุมครั้งนี้ เป็นทริปสั้นแต่ได้ความรู้และแรงบันดาลใจการพัฒนาอุตสาหกรรมทีวี จะกลับไปขยายผล

ปล. ข้อมูลทั้งหมดที่ทวิตไปมาจากการทำ ข้อมูลของทีมงานดิฉันและเจ้าหน้าที่สำนักงาน กสทช. ถ้าอันใดผิดพลาด ภาคเอกชน โต้แย้งมาได้นะคะ #Busan ขอบคุณทีมงานของดิฉันโดยเฉพาะเลขานุการและเจ้าหน้าที่จากสำนักส่งเสริมการแข่งขันและการกำกับดูแลกันเอง สำนักงาน กสทช.ที่ช่วยเตรียมข้อมูลทั้งหมด กลับไปมีเรื่องจะเสนอไอเดียกับสำนักงานเยอะเลย จะฝากท่าน @TakornNBTC ส่งไอเดียไปยังรัฐบาลด้วย ในการพัฒนาอุตสาหกรรมทีวียุคเศรษฐกิจดิจิทัล

ขอบคุณทางประธาน กสท. @DrNateeDigital ด้วย ที่ติดภารกิจอื่น เลยเสนอชื่อดิฉันมาประชุมที่เกาหลีใต้แทนครั้งนี้ จะกลับไปเสนอไอเดียในบอร์ด กสท. รวมทั้งหารือกับท่าน @Thawatchai_NBTC ที่ดูเรื่องงานส่งเสริมการแข่งขันของอุตสาหกรรมทีวีและเคยเชิญทางเกาหลีมาอบรมให้กับช่องดิจิตอลทีวีก่อนนี้ รวมทั้งการหารือกับภาควิชาการ ภาคเอกชน NGOs ผู้บริโภค กองทุนสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ กองทุน กทปส. และอื่นๆอีกมากมาย

….

วันนี้เราปิดท้ายการพูดในเวทีที่ปูซาน ด้วยการโควทคำพูดของนายบันคีมุน (คนเกาหลีใต้ในเวทีสหประชาชาติ) ที่กล่าวไว้ในงานวันทีวีโลกปี 2013…