8 สิงหาคม 2559
A summary from Broadcast Panel’s meeting today, plus my comments on the referendum results and the future of NBTC Act after an amendment under new Constitution became enacted. Its not my day. I ended up in a minority again for all agenda explained below esp on CTH and consumers protection, also on the cases against Spring News & Voice TV on NCPO Order. More to elaborate. Almost given up.
สื่อโทรมาถามมติ กสท. วันนี้ค่อนข้างจิตตก ขอสรุปสั้นๆดังนี้ก่อนค่ะ ดิฉันเป็น 1 เสียงข้างน้อย 5 วาระรวด ดังนี้
1.วาระGMMz กสท.มีมติเตือนให้ส่งแผนเยียวยาใน 7 วัน ถ้าไม่ส่งจะปรับ 2 หมื่นบาท แต่ยังไม่เอาผิดฐานละเมิดผู้บริโภค ทั้งนี้ยุติไปแล้ว ดิฉันเห็นต่าง
2. CTHยุติบริการKUบนไทยคมไปเมื่อ1ส.ค.โดยที่ กสท.ยังไม่เห็นชอบ แต่กสท.แค่เตือนให้ส่งแผนเยียวยาใน7วัน ถ้าไม่ส่งปรับวันละ2หมื่น ดิฉันเห็นต่าง
3.CTH ประกาศจะยกเลิกบริการทั้งหมด 1 ก.ย. ซึ่ง กสท.มีมติให้ส่งแผนเยียวยาใน 7 วัน ถ้าไม่ส่งจะปรับวันละ2 หมื่น ดิฉันเห็นต่าง เพราะควรใช้โทษหนัก ดิฉันเห็นต่างเรื่องบทกำหนดโทษต่อ CTH และ GMM ที่ทยอยยุติบริการ ฝ่าฝืนกติกา แต่มติ กสท. กำหนดโทษเบาบางเกินไป จะทำให้เอกชนยิ่งไม่แคร์ หลักการคือ กสท. ต้องมีมาตรการจริงจัง บังคับให้ CTH/GMM ต้องมีมาตรการเยียวยาที่ชัดเจนก่อน จึงยอมให้ยุติ โดยการคาดโทษรุนแรง ไม่ใช่ให้ยุติก่อน อย่างน้อยต้องคาดโทษสูงสุด เช่นการจะพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต เพราะเอกชนมีพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนกติกาและส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคจำนวนมาก #CTH
การขู่จะปรับวันละ 2 หมื่น จะทำให้เอกชนยิ่งไม่แคร์ กสทช. ไม่แคร์ผู้บริโภค ไม่แคร์อะไรทั้งนั้น อย่างน้อย กสท./กสทช. ควรมีท่าทีที่จริงจังกว่านี้ การให้ดิฉันซึ่งถึงแม้จะเป็น กสทช.ด้านผู้บริโภคโดยตรง ลุกขึ้นมาโวยวายกับ #CTH อยู่คนเดียว มันทำให้เอกชนไม่กลัว บอร์ด กสท.ทั้งหมดต้องช่วยบ้าง กรณี CTH เป็นเคสใหญ่มาก เป็นมหากาพย์ จะเป็นยิ่งกว่าบรรทัดฐานการประกอบกิจการ Pay TV จากนี้ ใหญ่กว่าเคสไทยทีวีก่อนหน้านี้ ที่ กสท.ยังขู่เพิกถอน ดิฉันถามใน กสท.ว่า ตอนเคสไทยทีวี เป็นฟรีทีวี จะยุติยังต้องรอ กสท.เห็นชอบ แต่ CTH/GMM เป็นทีวีเสียเงินดู ทำไม กสท.จึงใช้ท่าทีที่อ่อนกว่า กสท.ท่านอื่นให้เหตุผลว่าเพราะไทยทีวีเป็นฟรีทีวี เป็นบริการสาธารณะ จะยุติเองไม่ได้ อ้าว แล้วสมาชิกเพย์ทีวี เขาทำผิดอะไร เขาจ่ายเงิน ซื้อกล่องดูตามสัญญาบริการ
ถ้า กสท.ไม่กำกับสัญญาระหว่างเอกชนกับผู้บริโภคตามเงื่อนไขใบอนุญาต แล้วจะมีประกาศคุ้มครองผู้บริโภคฯ ประกาศมาตรฐานสัญญา และใบอนุญาตไปทำไม ใน #คหสต. กสทช. ใช้ท่าทีต่อเคส CTH/GMM เบาบางกว่าเคส #ไทยทีวีมาก ลองตามดูว่าสุดท้ายเคส CTH/GMM โทษจะถึงเพิกถอนใบอนุญาตเหมือน #ไทยทีวี ไหม เคสไทยทีวี เขาผิดสัญญาต่อรัฐที่ไม่ชำระเงินค่าคลื่น ส่วน CTH/GMM ก็ผิดสัญญาต่อผู้บริโภค ถ้า กสท.ยังไม่เห็นชอบแผนเยียวยา ก็ไม่ควรให้ยุติ ถ้าเขาฝ่าฝืนคำสั่ง จอดับไปแล้ว เช่นไม่ส่งแผนเยียวยา มาถึงขนาดนี้แล้ว ก็ควรเสนอโทษหนักเช่นพักใช้ใบอนุญาต ไม่ใช่แค่จะปรับวันละ 2 หมื่น การอ้าง เทคนิค กฎหมาย บางอย่าง ของสำนักงานหรือบอร์ดเอง ส่อเค้าเป็นการเอื้อประโยชน์เอกชน และ ลิดรอนสิทธิของผู้บริโภค คือ กสทช.ยังไม่ใช้อำนาจเต็มที่ #cth
ดิฉันกับอนุผู้บริโภคฯ เห็นว่าเคสกล่อง GMM/CTH-Ku Band กสท.ควรใช้ฐานอำนาจตาม ม. 31 เรื่องเอาเปรียบผู้บริโภค ที่ปรับสูงสุด 5 ล้านได้แล้ว ไม่ใช่แค่เตือน การใช้โทษที่หน่อมแน้มกับการคุ้มครองผู้บริโภค กรณีCTH/GMM ช่างแตกต่างกับเวลาลงโทษเนื้อหาทางการเมืองที่ผ่านมา ทำให้ดิฉันต้องโหวตสวนแทบทุกครั้ง วันนี้ดิฉันก็ถอดใจในที่ประชุม กสท. อยากจะทุบโต๊ะแต่ทำไม่ได้ ได้แต่พูดอะไรบางอย่างไป แต่ขอยังไม่เล่าวันนี้ เมื่อถึงเวลาพูดได้จะแจ้งทราบค่ะ บอร์ดบอกดิฉันว่าให้ทำตามขั้นตอน เรื่องยังไม่จบ ต้องไปทีละขั้น จะรอดูว่าสุดท้ายเคส CTH/GMM จะจบอย่างไร เป็นเคสวัดใจทุกฝ่าย เรื่องไม่เล็กนะ ความเจ็บปวดของดิฉันที่ต้องดูแลเรื่องร้องเรียน คือ ลูกน้องที่ทำงานให้โดนผู้ร้องด่าใส่ เขาใจเสีย และงานหนัก แต่เราก็ต้องจี้ให้เขาทำงานหนักขึ้น เรื่องร้องเรียนตั้งแต่กล่อง GMMz ถึง CTH เข้ามาหลายร้อย ส่วนใหญ่ยังปิดเคสไม่ได้เลย มี เจ้าหน้าที่ราว 5 คนที่ดูแล ดิฉันให้ทีมหน้าห้องช่วยด้วย
ผู้ร้องเรียนบางท่านส่ง emails มากดดันดิฉันทุกวันว่ายังไม่ได้รับการแก้ปัญหา ดิฉันให้ทีมงานคุย โดนเขาด่าใส่จนต้องระงับอุเบกขาหลายรอบ#gmm/cth พรุ่งนี้บ่ายดิฉันก็ต้องประชุมอนุผู้บริโภคฯ พิจารณาเรื่องร้องเรียนอีก เป็นหน้าที่ก็อดทนทำไปก่อน แม้ตอนนี้บอกตัวเองว่า เหนื่อยไปก็คงเท่านั้น ที่ทวิตนี้ก็คือปลอบใจ เจ้าหน้าที่ตัวเล็กๆทางอ้อมด้วย อยู่ท่ามกลางความขัดแย้งใน กสทช. แล้วต้องทำงานด้านผู้บริโภคให้ดิฉัน งานหนักแต่อนาคตไม่ค่อยมี ดิฉันถูกผู้บริโภคกดดันมา เราก็ต้องมากดดัน เจ้าหน้าที่ต่ออีกที แม้เราจะทำงานหนักไปกับเขา แต่รู้ว่าทุกคนย่อมต้องมีลิมิต ดิฉันเองก็เช่นกัน ใช้ให้เจ้าหน้าที่ต้องทำงานหนัก แต่เรามี rewards ให้เขาไม่ได้ เพราะเราเป็นฝ่ายเสียงข้างน้อยไม่ค่อยมีอำนาจต่อรอง ก็เห็นใจน้องๆ เจ้าหน้าที่ทุกคน ถ้าไม่ได้ เจ้าหน้าที่ตัวเล็กๆใน สำนักงานและทีมงานดิฉันที่คอยทำงานให้อย่างหนักตลอดมา คงทำอะไรได้น้อยลงกว่านี้อีก ยังไงก็ขอบคุณสปิริตทุกคนมากๆ เจ้าหน้าที่สำนักผู้บริโภคฝั่ง กสท. ที่ทำงานใกล้ชิดดิฉัน อนุผู้บริโภคมีจุดยืนอย่างไร เขาก็ชงวาระเข้าบอร์ดให้ตามนั้นอย่างเต็มที่ โดนดุในบอร์ดก็ทนเอา จากนี้ ถ้าดิฉันไม่ได้ทำงานที่ กสทช.แล้ว ขอฝาก “ระบบราชการ” ให้ช่วยดูแล เจ้าหน้าที่ ที่ตั้งใจทำงานเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคด้วย ให้เขาได้มีที่ยืน จากมติ กสท.วันนี้ ดิฉันถอดใจแล้ว แต่โดยกระบวนการของเรื่องยังไม่จบ รอดูเดือนกันยาที่CTHจะจอดับทั้งหมด ดูฟรีทีวี Must Carry ก็ไม่ได้ วัดใจ กสท. ถ้าโครงข่าย #cth ดับหมด กล่องนี้จะดู ฟรีทีวีดิจิตอลภาคพื้น ผ่าน must carry ไม่ได้ด้วยใช่ไหม ไม่ใช่มีแต่คนดูจอดับ ช่องดิจิตอลก็คงโวยด้วย ถ้าเราไม่มีมาตรการเชิงรุก ปล่อยให้เอกชนกำหนดชะตากรรมผู้บริโภคก่อนแล้วค่อยตามเตือน ตามปรับทีหลัง ดิฉันก็คงหมดกำลังจะปกป้อง กสทช.แล้วจากนี้ ยังดีที่กล่อง GMMz ยังไม่ยกเลิกโครงข่าย จึงดูฟรีทีวีผ่าน must carry ได้ แต่ถ้า CTH จะยกเลิกโครงข่ายด้วย คือดับสนิททุกอย่าง คนรับกรรมคือคนดู แผนเยียวยาของ GMM b เดิม ก็ต้องส่งแผนเยียวยาใหม่หมด เพราะแผนเดิมบอกจะชดเชยกล่องCTH KU แต่ 1 สิงหาที่ผ่านมา จอดับบนKUไปแล้ว พฤติกรรมนี้คืออะไร บ้านที่ดูผ่านจาน C band ที่จอดับก่อนแล้ว ต้องขวนขวายไปคิดจาน KU ตอนนี้จอก็ดับตามแล้ว พฤติกรรมนี้คืออะไร
ข้อร้องเรียนของท่านทั้งหมดที่ผ่านสายตา วันนี้ดิฉันไปโวยวายในที่ประชุม กสท.แทนแล้ว ผลก็เท่าที่ได้ตามมติวันนี้ ถอดใจแต่จะตามให้จนที่สุด นอกจากวาระ CTH อีก2วาระที่เป็นเสียงข้างน้อยคือเรื่องสองช่องข่าว ที่ กสท. มีมติให้ลงโทษปรับ และ เตือนเพราะขัดประกาศ คสช. ดิฉันก็เห็นต่างอีก กรณี @SpringNews_TV ตอน”เนติวิทย์”ที่ กสท.ลงมติว่าขัดประกาศ คสช.-ม.37ให้ปรับ 5หมื่น #คหสต.เคสนี้ยังไม่ขัด กม. (เคส ดร.วันชัยควรขัดมากกว่าอีก) เคส @SpringNews_TV ตอน “เนติวิทย์” สัมภาษณ์ อ.สุลักษณ์ พูดเรื่องกฎหมายการยกเลิกหมอบคลาน เป็นมุมมองเชิงประวัติศาสตร์ ในเน็ตก็ถกกันกว้างขวาง ที่ กสทช. บางครั้ง เจ้าหน้าที่ก็จะชินกับวัฒนธรรมหมอบคลาน เวลาจะมาคุยกับบอร์ดที่นั่งเก้าอี้ แทบจะคุกเข่า ต้องคอยร้องห้ามกัน ว่าอย่าคุกเข่า ได้โปรด ขนบหลายเรื่องดิฉันเห็นต่างแต่บางเรื่องก็ต้องทำใจ เช่นถ้าคุกเข่ามาก็จะห้าม แต่ถ้าผู้อาวุโสยกมือไหว้เราตามตำแหน่ง เราก็ห้ามยากแต่รีบไหว้กลับ ขนบธรรมเนียม จารีต แบบนี้ เราควรถกเถียงกันได้ระดับหนึ่ง ถ้ากฎหมายไม่ได้ห้าม แต่ถ้า กสท./กสทช. ไปห้ามถก ก็เท่ากับไปขยายขอบเขตต้องห้ามเอง ในระบบราชการยังมีชนชั้นผู้ใหญ่ผู้น้อยสูง ช่วงแรกที่ทำงาน กสทช.ก็ไม่ชิน ตอนหลังก็เริ่มปรับตัว แต่ก็พยายามให้มีชนชั้นน้อยที่สุดเท่าที่ทำได้ อย่างน้อยตอนนี้ ก็ทำให้ เจ้าหน้าที่บางสำนักใน กสทช.เรียกดิฉันว่า ‘พี่เก๋’ แทน ‘ท่านสุภิญญา’ แล้ว ถ้าพ้นตำแหน่งก็ยังคงเรียกพี่ได้เหมือนเดิม จริงๆเรียก ‘พี่’ ก็เป็นชนชั้นอาวุโสเหมือนกัน แต่ของเราจะมาเรียกชื่อกันเฉยๆเหมือนฝรั่งก็คงไม่ชินกันอีก เรียกพี่หรือคุณก็โอเค
เช่นเดียวกับวาระช่อง @Voice_TV ที่ กสท.ให้ผิดประกาศ คสช.เพราะนำเสนอข่าวเรื่องการรัฐประหาร แต่ดิฉันว่ายังไม่ขัด กม. (ซึ่ง กสท.ก็ใช้โทษเตือน) กลายเป็นว่าช่อง @SpringNews_TV เจอโทษปรับซึ่งสูงกว่าช่อง @Voice_TV และเป็นฟรีทีวีดิจิตอลที่ถูกลงโทษปรับ 5 หมื่นบาทตามฐาน ม.37 ต่อจากช่องไทยทีวี / @BrightTV20 / GMM25……
สรุป มติวันนี้ ดิฉันว่า GMM/CTH ละเมิดผู้บริโภค แต่ กสท.ว่ายังไม่ขัด / ส่วนสองช่องข่าวดิจิตอล กสท.ว่าขัดประกาศ คสช. ดิฉันว่ายังไม่ขัด จบข่าว ประเด็น GMMz กับ CTH จะมาอธิบายอีกครั้งนะคะ อย่างน้อยตอนนี้ กสท. ยอมลงมติให้สั่ง GMM/CTH ส่งแผนเยียวยาใหม่ใน 7 วัน ไว้ตามอัพเดทอีกครั้งค่ะ
ส่วนเรื่อง #PogemonGoth ที่ถามมา วันนี้ กสท.ไม่ได้หารือค่ะ แต่เห็นข่าวว่า สำนักงานจะหารือในฝั่งโทรคม มีอะไรแจ้งที่ @TakornNBTC ตรงเลยค่ะ ส่วนเรื่อง #รัฐธรรมนูญ ส่วนตัวก็ทำใจค่ะ เพราะจะทำให้ พรบ.กสทช.ถูกแก้ไขใหม่หมดแน่นอน น้อมรับผลเสียงข้างมาก และ ให้กำลังใจเสียงข้างน้อย รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของ พรบ. กสทช.ใหม่หมด ส่งผลให้ต้องแก้ กม.ประกอบใน 180 วัน แต่ สนช. ก็ผ่านวาระแรกแก้ล่วงหน้าไว้แล้ว
รัฐธรรมนูญใหม่ จะออกแบบ พรบ. กสทช.ชุดใหม่ ส่วน พรบ.จะผ่านเมื่อใดก็รอลุ้น ถือว่านับถอยหลัง (กสทช.ชุดนี้จะครบวาระตามกฎหมายเดิม ปลายปีหน้า) รอลุ้นกันว่า กสทช.ชุดนี้จะได้ทำงานจนครบวาระปลายปีหน้าไหม รวมทั้งตัวดิฉันเองด้วย จุดหลักคือ ร่าง พรบ.กสทช.ใหม่ที่จะเปลี่ยนโครงสร้างหลัก เรื่องนี้คงต้องอภิปรายกันยาว ไว้มีเวลาค่อยมาลงรายละเอียด ถือคติเดิมว่า ความเปลี่ยนแปลงเป็นนิรันดร์ ทำวันนี้ให้ดีที่สุด กสทช.เกิดจากรัฐธรรมนูญ 40 ถูกเปลี่ยนแปลงตอนรัฐธรรมนูญ 50 และถึงจุดเปลี่ยนแปลงอีกครั้งในปี59 (ถ้า รธน.ลงราชกิจจาต้นปี60 ก็ 40 – 50 – 60พอดี)
ส่วนตัวไปใช้สิทธิ์หย่อนบัตร 4 วินาทีทุกครั้งที่มีสิทธิ์(เลือกตั้งและประชามติ) ดีใจเสมอที่ได้ใช้สิทธิ์ทางการเมืองไม่ว่าอยู่ฝ่ายแพ้หรือชนะก็ตาม
One woman One vote เป็นสิทธิทางการเมือง ตามหลักการสิทธิมนุษยชนสากล แม้ว่าครั้งนี้จะมีข้อจำกัดต่างๆ แต่ก็ยังดีที่เห็นบรรยากาศหย่อนบัตรกลับมา ในที่สุดไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ชอบหลายอย่างใน รัฐธรรมนูญ ฉบับนี้ แต่พอผ่านมาใช้แล้ว ก็คงต้องช่วยกันติดตามตรวจสอบการใช้อำนาจตามนั้นกันต่อไป
“เคารพเสียงข้างมาก ปกป้องเสียงข้างน้อย” คงเป็นหลักการที่ควรใช้ทุกยุคสมัย ฟังดูดี แต่ก็ไม่ง่าย การเปิดใจกว้าง รับฟังกัน คงพอช่วยได้ เหมือนการทำงานใน กสทช.ที่ผ่านมาดิฉันก็เคารพเสียงข้างมาก แต่ก็รักษาสิทธิ์เสียงข้างน้อยในการแสดงจุดยืนเสมอมา (Majority rules, minority rights) ร่างรัฐธรรมนูญยุค คสช.ได้รับเสียงข้างมากสนับสนุน ได้แต่หวังว่าจากนี้ ฝ่ายผู้มีอำนาจจะเปิดใจกว้างมากขึ้น ให้ทุกฝ่ายได้แสดงออก ติดตาม รธน.นี้ คนที่ออกไปใช้สิทธิ์ครั้งนี้ ไม่ว่าออกไป Yes หรือ No เขาได้แสดงจุดยืนแล้ว และทำให้ฝ่ายรัฐรับรู้ว่า ยังมีอีก 40% ที่เห็นต่าง ซึ่งไม่น้อยเลย การเปิดใจรับฟังเสียงส่วนน้อยย่อมท้าทายผู้มีอำนาจ แต่คือสิ่งจำเป็นในการบริหารประเทศ ส่วนรอยร้าวในสังคมจะประสานได้ดีก็ด้วยความยุติธรรม
ประโยคนี้ยังใช้ได้เสมอ ขอทวิตอีกครั้ง “If you wish for peace, work for justice.” ในฐานะเป็นเสียงข้างน้อยในการทำงานมาหลายครั้งที่ กสทช.ดังที่ให้สัมภาษณ์ไป จึงเข้าใจความรู้สึกดี คิดว่า อย่างน้อยเราก็ได้แสดงจุดยืนแล้ว
ขอบคุณทุกท่านที่ยังเข้าใจข้อจำกัดในการงานที่ กสทช. บางครั้งเราก็ไม่สามารถกำหนดผลให้ออกมาได้อย่างที่ตั้งใจ ถึงจุดหนึ่งก็ต้องยอมรับความจริง….