ก่อนจะเลิกทำรายการก็ต้องขอกสท.และมีแผนแจ้งเยียวยาผู้บริโภคก่อน ถ้าเป็น PayTVต้องแจ้ง กสท.พร้อมแผน

A summary of today (June 28, 2016) after a press conference with reps from ThaiPBS & WHO this morning for a project to develop a progressive reporting by media on road safety since Thailand has a very high rate of fatality on the road. More to tell. Then a meeting with sub-Com on media consumers asking CTH & IPM for a testimony & solution after they are announcing to terminate the services via satellite. Headache & more to follow up.
28 มิถุนายน 2559

วันนี้บ่ายมีประชุมอนุคุ้มครองผู้บริโภคสื่อ กสท. เชิญทางตัวแทน ‪#‎CTHและ @IPMTv มาชี้แจง เรื่องจะยุติบริการบนดาวเทียม ปัญหาคือทาง #CTH จะยุติการบริการที่ต้องจ่ายเงินดูบนดาวเทียมไทยคม KU Band ส่วนทาง @IPMTv จะยุติบริการผ่านจาน NSS6 เหลือเฉพาะไทยคม กรณี #CTH จากคำชี้แจงเบื้องต้นแจ้งว่าลูกค้าจาน KU Band ราว4หมื่น แต่ลูกค้าที่ได้รับผลกระทบราว 9พันรายที่จ่ายเงินซื้อแพ็คเกจแบบ pre paid ไว้ ทาง CTH แจ้งว่า กล่องเดิมยังสามารถดูช่องฟรีทีวีดิจิตอลตามกฎ must carry ได้ต่อไปจนกล่องพัง แต่จะยุติการให้บริการช่องที่ต้องจ่ายเงินดูบนไทยคม สำหรับลูกค้า CTH บนจาน KU Band ที่ซื้อแพคเกจไว้แล้วดูไม่ครบเขาชี้แจงโดยวาจาว่าจะมีการชดเชยเป็นเงินคืนให้ตามสัดส่วน ส่วนบริการผ่านจานดาวเทียมเวียดนามยังคงมีต่อ แต่ลูกค้าส่วนใหญ่ที่สมาชิก 3 ปีจะหมดราวกันยายนปีนี้ เขายังไม่ตอบว่าหลังจากนั้นจะเป็นอย่างไร  CTH แจ้งว่าตอนนี้ยุติการขายแพคเกจเพย์ทีวีบนไทยคมในตลาดแล้ว เพราะกำลังจะยุติ ถ้าท่านใดยังพบการโฆษณาขายกล่อง/แพคเกจฝากแจ้งมาได้

อย่างไรก็ตาม การชี้แจงวันนี้เป็นไปโดยวาจา ทางอนุผู้บริโภค กสท. ขอให้ทาง CTH ส่งคำชี้แจงและมาตรการเยียวยามาเป็นลายลักษณ์อักษรในสัปดาห์นี้ วันนี้อนุผู้บริโภค กสท. พิจารณา 2 ประเด็นคือ 1.ประเด็นทางกฎหมายในเรื่องของการยุติบริการกับเงื่อนไขใบอนุญาต 2. มาตรการเยียวยากับผู้บริโภค

ประเด็นเงื่อนไขใบอนุญาต จริงๆแล้ว CTH ในฐานะผู้ให้บริการโครงข่ายทีวีดาวเทียม ต้องแจ้ง กสทช.ก่อนที่จะยุติบริการ พร้อมแผนเยียวยาให้เห็นชอบ จนถึงบัดนี้ทางCTHยังไม่ได้ทำจดหมายแจ้ง กสทช. มาเป็นลายลักษณ์อักษรเลย ทั้งที่อีก 1 เดือนก็จะครบกำหนดที่แจ้งกับผู้บริโภคไว้ว่าจะยุติบริการ ฟรีทีวีดิจิตอลกรณีช่องไทยทีวีที่ดูได้ฟรี ก่อนจะเลิกทำรายการก็ต้องขอ กสท.และมีแผนแจ้งเยียวยาผู้บริโภคก่อน ถ้าเป็น PayTV ต้องแจ้ง กสท.พร้อมแผน

วันนี้อนุผู้บริโภคจึงได้เสนอตัวแทน #CTH ไปว่า ถ้าจะให้มีเวลาทุกฝ่ายก็ควรจะขยายเวลายุติบริการออกไป แล้วส่งมาตรการเยียวยาให้ บอร์ดกสท.ก่อน ให้เวลา CTH ในสัปดาห์นี้ตัดสินใจและตอบมา ไม่ว่าจะขยายเวลายุติบริการบน KU Band ไทยคมหรือไม่ก็ต้องส่งแผนเยียวยามาเป็นลายลักษณ์อักษร วันนี้อนุผู้บริโภคจึงมีมติ เบื้องต้นให้ สำนักงานเสนอเรื่องด่วนให้ กสท. พิจารณา เพื่อดูเรื่องการขัดเงื่อนไขใบอนุญาตของ CTH ด้วย เนื่องจากอนุผู้บริโภคจะดูเรื่องแผนเยียวยาแต่ถ้าเป็นเรื่องเงื่อนไขขัดใบอนุญาตจะต้องให้อนุกรรมการที่ดูแลเรื่องใบอนุญาตพิจารณาด้วยเช่นกัน

วันนี้มีนักกฎหมายในอนุผู้บริโภคตั้งข้อสังเกตถึงเหตุผลของCTH ว่าทำไมต้องยุติบริการควรชี้แจงด้วยลายลักษณ์อักษรด้วย ไม่ใช้ให้เข้าใจเอาเอง มีข้อเสนอให้ สำนักงานตรวจสอบการแจ้งรายได้ จ่ายค่าธรรมเนียมของโครงข่าย CTH ว่าประสบปัญหาธุรกิจจริงไหมอย่างไรด้วย

วันจันทร์นี้จะเสนอให้ กสท.พิจารณาเบื้องต้นแล้วก็จะรอแผนเยียวยา คืบหน้าอย่างไร จะชี้แจงเพิ่มเติมค่ะ ส่วนกรณี IPM ก็มาชี้แจงว่าประสบปัญหาทางธุรกิจเนื่องจากการแข่งขันสูงจากดิจิตอลทีวีทำให้ต้องลดต้นทุนที่จ่ายให้กับดาวเทียมต่างชาติ (NSS6) จึงจะให้บริการผ่านจานดาวเทียมไทยคมเป็นหลักซึ่งตอนนี้ก็ทยอยชี้แจงผู้บริโภคให้มีการ ปรับหมุนทิศทางหน้าจานดาวเทียม ปัญหาคือค่าใช้จ่ายช่าง‪#‎IPM

เคส IPMTv ไม่ต้องเปลี่ยนกล่อง แต่ต้องปรับหน้าจานหันไปรับไทยคม ซึ่งประชาชนทั่วไปจะทำ DIY เองยาก โดยมากต้องจ้างช่างและมีค่าใช้จ่าย เป็นต้น ปล.คนบ่นเรื่องดิจิตอลทีวีภาคพื้นดินต้องติดเสาก้างปลายุ่งยาก เอาเข้าจริงทีวีติดจานดาวเทียมมีปัญหาจุกจิกซับซ้อนกว่าเยอะ แก้ปัญหากันมานับทศวรรษ กรณี @IPMTv เขาทำเรื่องแจ้ง กสทช. มาล่วงหน้าตามเงื่อนไขใบอนุญาตแล้วว่าจะมีการยุติบริการแต่ยังไม่ได้ส่งแผนเยียวยา วันนี้ให้ส่งมาด้วยเช่นกัน

……

ส่วนช่วงเช้าวันนี้มีแถลงข่าวร่วมกับ @ThaiPBS และตัวแทน @WHO เรื่องบทบาทสื่อกับการรายงานข่าวอุบัติเหตุบนท้องถนน เศร้าสลดไม่น้อยกับสถิติ ตัวแทน @WHO บอกว่าประเทศไทยคนตายบนท้องถนนสูงมาก ราว 83% ที่ตายคือกลุ่มที่ ‘vulnerable’ อาทิ คนขี่จักรยาน มอเตอร์ไซค์ และคนเดินถนน การรายงานข่าวอุบัติเหตุบนท้องถนนของสื่อถูกทำให้เป็นเรื่องรูทีนธรรมดาๆ ไม่สำคัญเท่าข่าวอาชญากรรมอื่นๆ และเน้นข้อเท็จจริงมากกว่าสาเหตุปัญหา มีความคาดหวังให้สื่อรายงานข่าวเรื่องอุบัติเหตุบนถนน ยกระดับเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างเพื่อกระตุ้นความตื่นตัวและนำไปสู่การแก้ปัญหาจริงต่อเนื่อง นักปั่นจักรยาน นักเดินทางไปมาทั่วโลก เขาไม่เป็นไร แต่หลายรายที่มาจบชีวิตบนท้องถนนที่เมืองไทย ปัญหาบนถนนไทย จริงๆเป็นวาระแห่งชาติมาก

ดังนั้นสื่อควรมองข่าวอุบัติเหตุบนท้องถนนให้เป็นปัญหาเชิงระบบเชิงโครงสร้างด้วย ไม่ใช่แค่เป็นโชคดี โชคร้าย เหตุสุดวิสัยของปัจเจกบุคคล ที่บอกว่าอุบัติเหตุบนถนนเป็นปัญหาเชิงโครงสร้าง อาทิเราไม่มีวินัย safety /ปัญหาคอรัปชั่นจากการสร้างถนนที่เสี่ยงต่อการขับขี่ /กม.อ่อนแอ เป็นต้น ฟังข้อมูลนอกรอบว่า การสร้างถนนบางที่ได้งบมาสร้างเกาะกลางถนนก่อนตัวถนน ทำให้มันไม่ปลอดภัยเท่าที่ควร (คงเหมือนรีบสร้างสะพานลอยคร่อมเสาไฟฟ้า) ทั้งการสร้างถนนที่ขาดมาตรฐาน การพาดสายไฟสายเคเบิลที่ไร้ระเบียบ เรื่องสร้างสะพานลอยพร้อมเสาไฟฟ้า ล้วนสะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างของประเทศไทย

นอกจากรายงานแค่ปรากฏการณ์แล้วผ่านไปสื่อควรจะยกระดับลงลึกไปถึงรากปัญหา แล้วทำมันอย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นให้เกิดการแก้ปัญหาจริงๆ เราเห็นความสำคัญเรื่องนี้ แต่ กสทช. อาจจะไม่ได้มีบทบาทตรงมากนอกจากงานส่งเสริมและสนับสนุนให้สื่อเกิดการเรียนรู้และตื่นตัวเหมือนเวทีในวันนี้

หลังจากนี้ทาง สำนักงาน กสทช. จะร่วมกับทาง @ThaiPBS และ @WHO จัดเวทีพูดคุยอบรมกับสื่อต่อเนื่องและไป ตจว.ด้วย เพื่อกระตุ้นให้เกิดการทำงานเชิงรุก อย่างน้อยเบื้องต้นเวลาสื่อรายงานข่าวอุบัติเหตุบนท้องถนนพยายามไม่พูดว่า ปาฏิหาริย์รอดชีวิต แต่ให้พูดว่าเพราะคาดเข็มขัดนิรภัยจึงรอด เป็นต้น เพื่อย้ำซ้ำๆว่า เพราะคาดเข็มขัดนิรภัย เพราะสวมหมวกกันน็อค จึงอาจรอดชีวิตได้ ไม่ใช่ไปตอกย้ำว่าเพราะปาฏิหาริย์ โชคช่วย ตลอดเวลา misleading คนที่ต้องเสียชีวิตจำนวนมากเพราะอุบัติเหตุบนท้องถนน สะเทือนใจไม่น้อยกว่าเหตุอื่นๆจริงๆสามารถแก้ปัญหาและป้องกันได้ ถ้าทุกฝ่ายตื่นตัวจริงจัง

การบังคับใช้กฎหมายของรัฐก็ต้องจริงจัง อาทิ เห็นข่าวรถตู้เกิดอุบัติเหตุแล้ว สะเทือนใจทุกครั้ง แต่เรายังไม่ค่อยเห็นสื่อเจาะลึกตามรากปัญหาจริง แม้เป็นลูกคนอื่นแต่เห็นแล้วก็รู้สึกสะเทือนใจบางครั้งก็ทำให้รู้สึกว่าทำไมชีวิตคนเรา ถึงตายง่ายเกินไป บนท้องถนนเมืองไทย ยิ่งเป็นเด็กเล็ก ปัญหามันใหญ่และซับซ้อนมาก ก็ต้องแก้หลายทาง ในบทบาทสื่อ ก็ขอฝากไว้ละกันนะคะ ขอให้ทุกช่องช่วยทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ในการแก้ปัญหานี้ ตอนเด็กๆเราก็ต้องนั่งรถสองแถวและรถตู้ไปโรงเรียนเอง พ่อแม่ต้องทำงาน ไม่มีเวลาไปส่ง ปลอดภัยมาได้ ขอฝากทุกฝ่ายเข้มงวดมาตรฐานความปลอดภัยมากขึ้น

FYI – สำหรับสื่อทุกแขนง ฝากนำไปศึกษา และ ยกระดับการรายงานข่าวอุบัติเหตุบนท้องถนนด้วยค่ะ…