กฎหมายเขียนชัดเจนว่า *ชั่วโมง* แล้วจะไปตีความเป็นเวลา *รายการ* ได้อย่างไร

8 มิ.ย. 59 June 8, 2016

A long tweets from my works today after a tension with TV licensees on extra commercials violating law & different way to count it. Also my remarks concerning on the incumbent TVs asking subsidy for live broadcast of Olympics 2016 from NBTC Fund but the rights are restricted, not shared to new channels. Someone blamed me for speaking about this deal so its sensitive for a negotiation, but if asking for public money, its public right to know. Many headaches now at work, an atmosphere is literally like in a cold war. Chiling but can’t stay quiet. My duty is to inform stakeholders. Media consumers protection is so hard to get things done, because of bureaucratic process, executive decision & mindset of the industries. Tension & conflicts are my routine now with all stakeholders, so be with it until that time comes. More to take, more to tell.

Changing mode tmr, visiting German Embassy in Bangkok for a casual talk after my recent trip in Berlin. To get more inspiration I guess.

เมื่อเช้านี้มีประชุมร่วมกับตัวแทนฟรีทีวีทุกช่อง ห้องร้อนระอุเลย มีข้อพิพาทกับตัวแทนช่อง 3 และช่องอื่นๆเรื่องแนวทางการนับเวลาโฆษณาในทีวี หลังโต้แย้งกันไปมา ทีมจากช่อง 3 ก็ลุกเดินออกนอกห้องไป ไม่แน่ใจว่าไม่พอใจที่เราพูด หรือว่าไม่ยอมรับวงประชุมทำความเข้าใจวันนี้ ประเด็นหลักที่ทางตัวแทนช่อง 3 โต้แย้งการนับเวลาโฆษณาของ กสทช. คือ กสทช.นับเป็นรายชั่วโมง ขณะที่ช่องนับเป็นเวลาของแต่ละผังรายการ ดิฉันจึงตอบว่าถ้าโต้แย้งถึงวิธีการนับเวลาก็เป็นเรื่องใหญ่ เพราะเป็นแนวทางกำกับดูแลตามมติ กสท.ที่มีไปแล้วหลายเคสก่อนนี้ ถ้าจะฟ้องก็ต้องไปพบกันที่ศาล กฎหมายเขียนชัดเจนว่า *ชั่วโมง* แล้วจะไปตีความเป็นเวลา *รายการ* ได้อย่างไร ประเทศไทยมี 24 ชั่วโมงต่อวัน การนับเวลาโฆษณาก็เป็นไปตามนั้น แนวทางที่ สำนักงานชี้แจงผู้ประกอบการวันนี้ เป็นแนวทางที่มาจาก พ.ร.บ. ประกาศ กสทช. และ มติอนุผู้บริโภค ตามด้วยมติ กสทช. ที่เคยวางไว้แล้ว ไม่ใช่ความเห็นดิฉันคนเดียว

ดังนั้นถ้าผู้ประกอบการรายใดไม่เห็นด้วยกับการนับเวลาหรือจะโต้แย้ง ก็ทำจดหมายมาที่ กสทช. หรือถ้าจะค้านคำสั่งทางปกครอง ก็ต้องไปที่ศาลปกครอง ถ้าจำเป็นต้องสู้เรื่องกฎหมาย ก็ยินดีสู้ในศาลถึงที่สุด ให้เป็นบรรทัดฐานในการกำกับดูแลเวลาโฆษณาตามกฎหมาย คุ้มครองผู้บริโภค แข่งขันเป็นธรรม ล่าสุดมีเคสร้องเรียนเวลาโฆษณาของช่อง 3ว่าเกินเวลา สำนักงานตรวจสอบแล้วว่าเกินจริง เสนออนุฯ มีมติว่าขัดกฎ และ กสท.ก็เห็นว่าขัดกฎ จึงส่ง จม.ถึงช่อง ซึ่งทางช่องก็มีข้อโต้แย้งว่า เขาไม่ได้นับเวลาโฆษณาเหมือนที่ กสทช.นับ เพราะ กสทช. นับตามชั่วโมง และ เขานับตามเวลาของแต่ละรายการ

ดังนั้นแม้ว่ารายการใดจะอยู่คาบเกี่ยวเวลาชั่วโมง แต่การนับเวลาโฆษณาก็ต้องเฉลี่ยต่อชั่วโมง ซึ่งเรื่องนี้บอร์ด กสท.วางแนวปฏิบัติไว้แล้ว เมื่อทาง กสทช. ยืนยันการนับเวลาตามนี้ แต่ถ้าช่องไม่ยอมรับ ช่องก็ยังมีสิทธิ์สู้ได้ศาลได้เช่นเดิม ดิฉันจะขอรับมอบอำนาจไปให้การในศาลด้วยตนเอง เสนอให้ สำนักงานเปิดเวทีสาธารณะให้ภาคประชาสังคม นักวิชาการ ผู้บริโภค ช่อง มาช่วยกันดูด้วยว่า การนับเวลาแบบ กสทช.นั้นถูกหรือผิด ยินดีให้ดีเบตกัน

ถ้าสำนักงานจะจัดเวทีสาธารณะเรื่องแนวทางการนับเวลาโฆษณา ก็จะเชิญตัวแทนช่อง 3 และอื่นๆที่เห็นต่างมาแสดงความคิดเห็นด้วย สังคมจะได้ช่วยกันตรวจสอบ ปัจจุบันนี้ กสทช. ก็นับเวลาโฆษณาในส่วนที่เป็น *สปอตโฆษณาทางธุรกิจ* จริงๆ ยังไม่ได้นับรวมไปถึงสปอตโปรโมรายการหรือพวกแฝงโฆษณาเลยด้วยซ้ำ ถ้านับรวมสปอตโฆษณาธุรกิจบวกเข้ากับสปอตโปรโมทรายการ มันก็จะยิ่งยาวมาก ผู้บริโภคก็บ่นว่านานกว่าจะได้ดูเนื้อหา แต่ สำนักงานก็นับเฉพาะโฆษณาธุรกิจ ย้ำว่า สำนักงานยังไม่นับรวมพวกสปอตโปรโมทรายการของช่องว่าเป็นเวลาโฆษณา
(นับเฉพาะสปอตโฆษณาธุรกิจ) แต่ก็ฝากทุกช่องช่วยดูความเหมาะสม ไม่ยาสนานเกินไปจนคนดูเดือดร้อนรำคาญ ส่วนพวกแฝงโฆษณา ผู้สนับสนุนรายการ หรือพวกแนะนำสินค้าหรือบริการที่แทรกอยู่ในเนื้อรายการ สำนักงานก็ยังไม่ได้นับรวม ทั้งที่บางช่องเริ่มมากเกินเหตุ

อนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯ ได้เสนอร่างประกาศแนวทางกำกับสำหรับพวกแฝงโฆษณาหรือโฆษณาแฝงและอื่นๆด้วยแล้ว แต่ร่างฯยังไม่ผ่านโดยบอร์ด กสท. ดิฉันเห็นว่าต้องมีแนวทางปฏิบัติสำหรับพวกโฆษณาแฝงด้วย ไม่ใช่จะห้าม แต่ควรมีแนวปฏิบัติให้ทุกช่องไม่เอาเปรียบกัน บางช่องปล่อยเกิน บางช่องเคร่ง แต่บอร์ด กสท. ยังถกไม่ตกผลึก หลายท่านเห็นว่าควรกำกับเฉพาะเวลาโฆษณาที่เป็นสปอตทางธุรกิจตามที่กฎหมายระบุไว้ชัดเจนไปก่อน ถือว่ากำกับขั้นต่ำ

ดังนั้นในปัจจุบัน กสทช.ก็กำกับตามกฎหมายขั้นต่ำ ยังไม่ได้กำกับมากเกินกว่าเหตุเลย ถ้าเฉพาะการกำกับตามกฎหมายขั้นต่ำ เอกชนยังแย้ง ก็ทำงานยากละ ใจคอจะไม่ให้ทำงานคุ้มครองผู้บริโภคเลยหรือไร จะให้คุ้มครองแต่ผู้ประกอบการกิจการใช่ไหมลองเอาใจเขามาใส่ใจเราบ้าง นึกถึงตอนเป็นผู้บริโภคบ้างสิ

แม้ผู้ประกอบการอาจจะบ่นว่า กสทช.กำกับเยอะ เอาเข้าจริงคงเป็นเรื่องการเมืองมากกว่า แต่เรื่องคุ้มครองผู้บริโภค ผลการกำกับดูแลยังอ่อนแอมากๆ ขนาดเรื่องวิธีการนับเวลาโฆษณา กสทช. ยังโดนภาคเอกชนโต้แย้งว่าไม่ควรนับเป็นรายชั่วโมง ให้นับตามเวลาของรายการ ก็กฎหมายเขาระบุว่าเป็น *ชั่วโมง* เวลา กสทช.พูดว่านับเวลาโฆษณารายชั่วโมง ก็คืออิง 24 ชั่วโมงต่อวัน เพราะประเทศไทย (และประเทศอื่นๆ) มี 24 ชั่วโมง ใช่หรือไม่ ถ้าจะให้นับเวลาตามผังรายการของช่อง ก็จะมีหลายมาตรฐานมาก และช่วงเวลายอดนิยม โฆษณาก็จะมากเกินเหตุ จนกระทบสิทธิ์คนดู กฎหมายจึงคุ้มครองไว้ จากที่มีเรื่องร้องเรียนและที่สำนักงานสุ่มตรวจ มีราว 4 – 5 ช่องที่พบว่าเวลาโฆษณาเกินเวลา ของจริงอาจมากกว่านี้ แต่ก็ดูกันไม่ค่อยทัน เพราะเจ้าหน้าที่น้อย ช่องที่โดนร้องเรียนเรื่องโฆษณาเกินเวลา ส่วนใหญ่ก็เป็นช่องเรต ติ้งดีๆ อันนี้เข้าใจได้ ซึ่งถ้าไม่กำกับดูแล ก็ยิ่งไม่เป็นธรรมกับช่องเล็กด้วย

ดังนั้นการกำกับดูแลเวลาสปอตโฆษณา ไม่ใช่เรื่องทำตามกฎหมายและคุ้มครองคนดูผู้บริโภคเท่านั้น แต่คือกำกับแข่งขันเป็นธรรมด้วย สำนักงานจัดประชุมวันนี้ ก็เตรียมการมาอย่างดี คือ สำนักงาน ตรวจสอบเวลาโฆษณาของทุกช่องใน 1 วัน และถอดเทปตัวสปอตโฆษณาออกมาด้วยแบบละเอียด ทั้งแจ้งล่วงหน้าให้ทุกช่องตรวจสอบเวลาสปอตโฆษณาจากเทปของตนเองมาด้วยวันนี้เอาข้อมูลที่ สำนักงานตรวจสอบและของช่องที่ตรวจมาเอง มาเทียบกันว่าตรงไหม

ซึ่งจริงๆมันก็ค่อนข้างเป็นคณิตศาสตร์มาก เกิน 10-12.5 นาทีต่อชั่วโมง ก็คือเกิน แต่ประเด็นที่ช่องโต้แย้งคือ เขาไม่อยากให้นับเป็นรายชั่วโมง ฝากให้ทุกท่านช่วยอ่านตัวบทในมาตรา 23 ของ พ.ร.บ.ประกอบกิจการฯ เขาเขียนว่า *ชั่วโมง* ท่านเข้าใจว่าอย่างไร ‪#‎เวลาโฆษณา กสทช.ตีความ กฎหมายกำกับขั้นต่ำสุดแล้ว ถ้ายังกำกับขั้นนี้ไม่ได้ ก็คือไม่ต้องกำกับอะไรแล้ว ถ้าจะเป็นแบบนั้น อุตสาหกรรมกำกับตนเองได้ไหม‪#‎โฆษณา

ถ้าจะไม่ให้ทำงานกำกับดูแลเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค/แข่งขันเสรีเป็นธรรม ก็ลดชื่อองค์กร กสทช.เหลือแค่องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ก็พอ ‪#‎ไม่ได้ประชด แต่ดีไม่ดี พ.ร.บ.กสทช. ฉบับแก้ไข อาจไม่มีทั้งอำนาจจัดสรรคลื่นความถี่ และ ไม่มีเรื่องคุ้มครองผู้บริโภคเป็นสำคัญ ‪#‎เศร้า ‪#‎เตรียมเก็บของกลับบ้าน

สรุปแบบดราม่า ตราบเท่าที่ดิฉันยังทำหน้าที่นี้ ก็จะทำเต็มที่ แต่ก็ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยว่าเพื่อนบอร์ดจะเห็นด้วยไหมและเอกชนจะฟ้องไหม ก็สู้กัน วันนี้มีบางท่านมาบอกว่าใกล้จะหมดวาระแล้ว อย่าให้มีเคสฟ้องศาลเลย จะได้ไม่มีคดีติดตัวตอนหมดวาระ ใกล้จะหมดตำแหน่งแล้ว (คือจะให้หยุดทำงานเลยไหม) ส่วนตัวขึ้นศาลจนชินแล้ว ไม่มีปัญหาถ้าสู้กันเปิดเผยด้วยเหตุผล สุดท้ายตามกระบวนการ Rule of law ทุกเรื่องก็จบลงที่ศาลอยู่แล้ว (แต่ถ้าไม่มีปัญหาก็ดีที่สุด)

ส่วนเรื่องที่รายเดิมบอกว่าทำไมไม่กำกับโฆษณาแฝงในทีวีรายใหม่บ้าง ย้ำว่า ดิฉันเสนอร่างประกาศกำกับดูแลไปแล้ว แต่บอร์ด กสท.ยังไม่เห็นชอบ ดังนั้นไม่ว่ารายเดิมหรือรายใหม่ ถ้าเข้าข่ายขัดกฎหมายและเอาเปรียบผู้บริโภคเกินกว่าเหตุ หรือแข่งขันไม่เป็นธรรม ดิฉันก็เห็นด้วยให้กำกับทั้งสิ้น

…….

ดิฉันไม่ได้ติดใจประเด็นที่ทีมช่อง 3เดินออกจากห้องประชุม แค่เล่าให้ฟังปรากฏการณ์ แต่ติดใจประเด็นโต้แย้งเรื่องการนับเวลา จะให้ส่งตีความเลยหรือ การเดินออกจากห้องประชุมเป็นสิทธิ์สากล ดิฉันก็เคยทำตอนเดินออกจากห้องประชุม กสท. เวลาทนไม่ไหวจริงๆหรือตอนไม่ต้องการร่วมพิจารณาบางวาระ สรุป กสทช.มีแนวทางการนับเวลาตามกฎหมายแบบนี้ไว้ ไม่ใช่‪#‎คหสต.ดิฉันคนเดียว ถ้าคุณ/ช่องใด จะโต้แย้ง มีสิทธิ์ถาม/อุทธรณ์/ฟ้องมา ฝากให้อ่านมาตรา 23 อีกครั้ง ถ้าจะไปตีความมุมไหนก็ให้นักกฎหมายโต้แย้งมาเป็นลายลักษณ์อักษร เราพร้อมไปศาล การกำกับดูแลเวลาโฆษณาเรื่องใหญ่ได้ขนาดไหน ท่านก็ดูเคส อสมท. กับไร่ส้มก็แล้วกัน คิดว่า กสทช.(ทั้งหมด) จะกล้าเสี่ยงไม่กำกับดูแลไหม ถามตรงๆ

การไม่กำกับดูแลเวลาโฆษณาตามกฎหมาย ก็อาจถูกมองว่าเข้าข่ายเอื้อประโยชน์เอกชนได้ เคส กสทช.อาจต่างรายละเอียดจาก อสมท.-ไร่ส้ม แต่คือประเด็นสำคัญ ส่วนกรณีการถ่ายทอดสดที่จะมีมากขึ้น แล้วกระทบเวลาโฆษณา ถ้าช่องจะขอยกเว้น เสนอมาถามได้ แต่ กสทช.ก็ต้องรอบคอบตอนพิจารณาว่าจะใช้ฐาน กฎหมายใดรองรับ

การนับวันเวลาก็ใช้ตามสากล คือ 1 วันมี 24 ชั่วโมง 1 ชั่วโมงมี 60 นาที 1 นาทีมี 60 วินาที ถ้าใครคิดว่าให้เวลาโฆษณาน้อยไป(10-12) ก็ไปเสนอแก้ พ.ร.บ.ในสภา ท่านที่เปิดทีวีลองดูช่องต่างๆคืนนี้เลยช่วง primetime ช่วงเวลาโฆษณานานเกินไปไหม เอาเปรียบคนดูไหม เดือดร้อนรำคาญไหม ลองนับแล้วร้องเรียนมาค่ะ 1200

ถ้ายังใช้กฎหมายปัจจุบัน ก็ต้องกำกับดูแลตามนี้ จริงๆยังกำกับน้อยไป กตป.ก็ยังว่า กสทช.อ่อนแอเรื่องคุ้มครองผู้บริโภค ผู้ประกอบการยังจะโวยอีก พูดตรงๆใกล้จะปลงแล้วค่ะ ทำงานมากว่า 5 ปี พบว่าการกำกับดูแลเพื่อผู้บริโภคมีอุปสรรคตลอดทั้งภายนอกและภายใน เจอวิธีคิดของผู้ประกอบการยิ่งน่าตกใจ ถ้ายังรับเงินเดือนและทำหน้าที่ ก็จะพยายามทำงานเต็มที่ รอวันเก็บของ(เตรียมลังแล้ว) แต่ผลมันก็ออกมาอย่างที่เห็น สังคมไทย เอกชนไทย ราชการไทย

เมื่อกลไกรัฐก็อ่อนแอ เอกชนก็กำกับตนเองตามมาตรฐานไม่ได้ ผู้บริโภคก็คงต้องดูแลตนเอง บทสรุปที่คลีเชมากๆ

กสทช.ก็เน้นแต่เรื่องกำกับสื่อเข้มข้นตามเหตุการเมือง พอเรื่องคุ้มครองผู้บริโภคก็เรื่อยๆมาเรียงๆนกบินเฉียง ตรงนี้คือสิ่งที่ทำให้อึดอัดมากขึ้น

ยอมรับว่าทำงานใน กสทช.อาจสร้างการเปลี่ยนแปลงไม่ได้มากนัก แต่พยายามเป็นคนให้ข้อมูลสาธารณะและเป็นปากเสียงให้สังคม พูดเรื่องที่เขาอยากเงียบๆ อย่างเรื่อง กลุ่มทีวีพูลของบถ่ายทอดโอลิมปิก 150 ล้าน หรือเรื่องขอทีวีประชารัฐ เขาคงอยากเงียบๆก่อน นี่ก็ออกมาให้ข่าว เพราะสังคมควรจะรู้ด้วย มีคนว่าดิฉันเป็นเหตุให้การเจรจาธุรกิจของกลุ่มทีวีพูลสะดุดลง เพราะออกมาให้ข่าว ถามจริง ถ้าคุณจะขอใช้งบกองทุนฯ เจ้าของเงินควรรู้ไหม‪#‎โอลิมปิก ถ้าไปซื้อสิทธิ์ด้วยเงินเอกชนเอง บริหารกันเอง คงไม่มีใครว่า แต่นี่จะขายโฆษณาด้วย จะขอเงินกองทุนด้วย แต่ก็อ้างว่าติดลิขสิทธิ์แบ่งเพื่อนไม่ได้…

ขอยกตัวอย่าง ตอนกรณี RSไปซื้อสิทธิ์ถ่ายทอดบอลโลกมาเองแท้ๆ กสทช.(ข้างมาก)ยังออกกฎบังคับเขาออกแต่ฟรีทีวีเท่านั้น จนแพ้ในศาล รัฐต้องเสียค่าชดใช้ มาถึงโอลิมปิกรอบนี้บ้าง เหตุการณ์กลับอีกมุม กลุ่มทีวีพูลเขาไปซื้อสิทธิ์มาเองและจะออกฟรีทีวีอยู่แล้ว ทำไมต้องไปช่วยให้เขาของบกองทุน 150 ล้านอีก ถ้าอ้างว่าของบเพิ่มให้ 150 ล้าน เพื่อให้ทีวีดิจิตอลช่องใหม่ได้ประโยชน์ แล้วถามจริงทำไมไม่ถามกลุ่มฟรีทีวีช่องใหม่ก่อนว่าเขาเห็นด้วยไหม แล้วสุดท้ายก็มาเปลี่ยนแผนเอง ว่าไม่ให้ช่องใหม่ร่วมถ่ายทอดสดแล้วเพราะขัดเงื่อนไขลิขสิทธิ์เดิม อ้าว แล้วก่อนมาของบ ไม่ได้คุยเจ้าของสิทธิ์หรือ มาบอกว่าเพราะให้ข่าวแล้วเจรจาล่ม เฮ้อ นึกว่าข่าวไม่ออกแล้วเจ้าของสิทธิ์เขาจะไม่รู้หรือว่าทีวีพูลจะให้ช่องใหม่ถ่ายทอดด้วย ถ้าได้กองทุน กสทช. รู้ก่อนรู้หลังก็คือต้องรู้เหมือนกัน รู้ก่อนย่อมดีกว่าอยู่แล้ว คือแฟร์ทุกฝ่ายในการตัดสินใจ เสนอของบกองทุนมา อ้างว่าจะแบ่งให้ช่องใหม่ แต่ช่องใหม่บอกยังไม่รู้เรื่อง สุดท้ายเปลี่ยนใจไม่ให้ช่องใหม่แล้ว แต่ยังของบกองทุนเท่าเดิม

ถ้ากล่าวเอง รับทราบเอง คนอื่นเขาจะรู้เรื่องด้วยไหม ไม่ใช่งานเล่น ล่าสุดช่อง @amarintvhd ส่งจดหมายมาถามและค้านเรื่องนี้ หลายประเด็นเลย ส่วนตัวชอบแนวทางช่อง @amarintvhd คือเขาเงียบๆ ทำตามกติกา กสทช.เต็มที่ แต่เวลาไม่เห็นด้วยอะไร ส่งจดหมายร้องเรียนมาตรงไปตรงมา สุภาพแต่เข้ม ตอนกลุ่มทีวีพูลเสนอของบกองทุนมา สำนักงานก็ชงเข้าวาระ กสท.พิจารณาด่วนเลย พอช่อง @amarintvhd ทำ จม.ท้วงมา ดิฉันแจ้งให้ สำนักงานเสนอวาระ กสท.(แต่เงียบ) พอเงียบแบบนี้ ดิฉันก็ต้องแจ้งกับสังคมว่าได้รับจดหมายทักท้วงจากช่องดิจิตอลและให้ สำนักงานเสนอวาระเข้า กสท.แล้ว เพราะเป็นเรื่องใหญ่ สังคมจับตา

ส่วนวาระประชุมจะเข้าบอร์ดเมื่อใด พิจารณาหรือไม่ อย่างไร เสียงเดียวกำหนดไม่ได้อยู่ดี ทำได้คือ แจ้งให้สังคมรับทราบเรื่องที่กระทบประโยชน์สาธารณะ

…..

ขออภัยวันนี้ทวิตจัดเต็ม ยาวไปนิด ช่วงนี้เครียดหลายประเด็นมาก วุ่นวายไปหมด บรรยากาศก็อึมครึม เหมือนมีสงครามเย็นเล็กๆ คงรอวันปลดล็อก สำหรับผู้ประกอบการ ดิฉันมีข้อพิพาทเกือบแทบทุกรายแล้ว ท่านก็ทำใจแล้วกัน ต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่ อีกไม่นานก็คงหมดหน้าที่แล้ว อาจก่อนครบวาระด้วย ส่วนใน กสทช. ถ้าจะไม่ให้ดิฉันพูดเรื่องวาระประชุม ก็แปะข้างหน้าว่า ‘ลับที่สุด’ เหมือนบางเรื่อง ทำให้พูดไม่ได้ เพราะถ้าไม่ลับ กฎหมายให้เปิดเผยได้

กลับมาเรื่องการกำกับโฆษณาเกินเวลา หลังจากวันนี้ สำนักงาน จะสรุปเคสที่พบปัญหาเสนอ อนุกรรมการ และ กสท.ตัดสิน ถ้าผิดช่องค้านก็ค่อยฟ้องมา

กระบวนการภายในก็ค่อนข้างช้า กว่าจะขอเทปจากช่อง จนท.ถอดเทป รอช่องมาชี้แจง เลื่อนบ้างอะไรบ้าง เสนออนุกรรมการ และ กสท.พิจารณา หลายเดือนเลย

หลัง กสท.มีมติแล้ว ผิดครั้งแรกก็ยังเป็นการเตือน กว่าจะได้ลงโทษปรับจริงจัง ดิฉันคงหมดวาระไปก่อน ยังไม่นับยื้อกันไปมา ฟ้องร้องกันที่ศาลอีก

……

ส่วนเรื่องงบทีวีพูลหรือ ทรท.ของบกองทุน กสทช.150 ล้าน สุดท้ายจะอย่างไรนั้น รอดูมติของบอร์ดกองทุน กทปส. และ บอร์ดใหญ่ กสทช.ตัดสิน #โอลิมปิก อย่าลืมข้อเท็จจริงหนึ่งว่า แม้จะให้เหตุผลว่าทำเพื่อช่องใหม่ แต่ช่องใหม่ๆก็แสดงความเห็นค้าน และมีบางช่องค้านเป็นจดหมายมา ควรฟังความเห็นเขาด้วย

ส่วนเรื่องช่องทีวีประชารัฐ ตอนนี้ก็ยังรอดูท่าทีกันต่อ ถ้ามีอะไรคืบหน้า จะมาอัพเดทเพื่อทราบ ส่วนเรื่องร่างประกาศการกำกับโฆษณาแฝงที่ยังไม่นับเวลา ดิฉันและอนุผู้บริโภค ให้ สำนักงานเสนอร่างประกาศเข้า กสท.นานแล้ว ตอนนี้ไปอยู่ที่อนุเนื้อหาฯ การประชุมร่วมกับฟรีทีวีทุกช่องเรื่องการกำกับเวลาโฆษณาในวันนี้ แม้จะร้อนแรงแต่ส่วนตัวก็ขอบคุณทุกช่องที่ส่งทีมมาทำความเข้าใจ

ส่วนตัวขอบคุณสำนักคุ้มครองผู้บริโภค กสท.(บส.)ที่แม้งานหนัก แรงกดดันทุกทาง ไหนจะผู้บริโภค ผู้ประกอบการ บอร์ด กสท.แต่ก็ทำงานกันเต็มที่แม้คนน้อย การมีเจ้าหน้าที่ใน กสทช.ทำงานตามแนวทางของเรา แม้อาจต้องขัดแย้งกับส่วนอื่นๆ แต่มีระดับปฏิบัติตั้งใจทำงานให้เคียงบ่าเคียงไหล่ ก็ยังอุ่นใจและขอบคุณ ถ้าเป็นบอร์ดเสียงน้อยๆแล้วมอบหมายงานอะไร ไม่มีเจ้าหน้าที่ทำงานให้จะเฉายิ่งกว่านี้ โชคยังดี แม้คนน้อย งานยาก เยอะ แต่เจอเจ้าหน้าที่ตั้งใจก็มีกำลังใจ ขอบคุณมดงาน ทวนกระแสทุกคนในระบบราชการ สู้ๆค่ะ

งานวันนี้ขอบคุณทีมอาจารย์ @shinytweet และนักศึกษานิเทศ มธบ. ที่ช่วยสำรวจเวลาโฆษณาของทุกช่อง ทำให้ข้อมูลแน่นขึ้น เมื่อต้องกำกับภาคเอกชน จึงเสนอแนะให้ สำนักงาน กสทช.หาแนวร่วมเป็นภาคประชาสังคม สร้างแนวร่วมกับภาควิชาการ ผู้บริโภค สังคม เราจะได้มีพลังต่อรองบ้าง

ขอบคุณ @trio_th @PoonKhanabkeaw และทุกคนจากสำนักคุ้มครองผู้บริโภควิทยุและโทรทัศน์ฯ กสทช.ที่ทำงานหนักและแบกรับแรงกดดันจากทุกฝ่าย งานกำกับดูแลเวลาโฆษณาธรรมดาๆยังต้องปลุกเร้าพลังใจคนทำงานกันขนาดนี้ และมีดราม่ากันขนาดนั้น … ขอบคุณทุกท่านที่รับฟังและเข้าใจค่ะ

……….

งานเครียดติดกันมาหลายวัน พรุ่งนี้ขอปรับโหมดเป็นสากลนิดนะคะ มีนัดต้องไปสถานทูตเยอรมัน สรุปบทเรียนจากทริปที่เขาเชิญเราไปกรุงเบอร์ลินเดือนก่อนไว้มาเล่าค่ะว่าไปแลกเปลี่ยนอะไรกับทางสถานทูตบ้าง และมาเก็บตกเนื้อหาจากทริปศึกษาเรียนรู้ของกระทรวงต่างประเทศเยอรมันตามที่เคยสัญญาไว้…