31 พค. 59 In Singapore for Broadcast Asia & Communicasia 2016, speaking abt NBTC policy on sound broadcasting in June 2, 2016. More to tell.
คืนนี้อยู่ที่สิงคโปร์นะคะ มาร่วมงาน @BroadcastAsia 2016 และรับเชิญมาเป็นวิทยากรวันมะรืนนี้ จะอัพเดทเป็นระยะค่ะ
BroadcastAsia เป็นงานใหญ่ประจำปีของวงการเทคโนโลยีและธุรกิจวิทยุและโทรทัศน์ในเอเชีย จัดพร้อมกับงาน Communicasia ด้านเทคโนโลยีการสื่อสารสนเทศ ตั้งใจจะมางาน BroadcastAsia ตั้งแต่ปีก่อนๆแล้ว แต่ไม่ได้มาสักที ปีนี้เจ้าภาพเขาเชิญมาเป็นวิทยากร เลยได้โอกาส (องค์กรที่จัด เขาออกค่าเดินทาง+ที่พักของดิฉัน)
วันนี้มาถึงงานช่วงบ่าย เดินดูนิทรรศการเทคโนโลยีด้านวิทยุและทีวี เจอผู้ประกอบการจากไทยหลายคน รวม ผอ. @ThaiPBS ด้วย เลยได้อัพเดทเรื่องงานกัน
งาน @BroadcastAsia และ @Communicasia ปีนี้จัดที่ Marina Bay Sands งานใหญ่โต คนเยอะมาก ดิฉันมาพูดเรื่องอนาคตวิทยุ (ดิจิตอล?) ถือว่าท้าทายมาก เพราะ session ที่พูดเป็นเรื่องแนวเทคโนโลยี แต่เราก็จะมาเล่าว่า ปัญหา และ อนาคตของวิทยุ เมืองไทย กำหนดด้วยเทคโนโลยี ตลาด หรือ political will? เพราะสภาพการณ์ปัญหาเรื่องการใช้คลื่นความถี่ของกิจการวิทยุกระจายเสียงในไทยนั้น หนาแน่น คับคั่ง มากที่สุดในโลก คลื่น FM แทบไม่มีที่จะหายใจแล้ว
สำหรับโทรทัศน์ (ดิจิตอล) มาตรฐานทางเทคโนโลยี ในไทย ตอนนี้ค่อนข้างนิ่ง ผ่านขั้นตัดสินใจระดับนโยบายมาแล้ว เหลือการกำกับดูแลให้ภาคส่ง ภาครับ ครอบคลุมตามแผนที่วางไว้
การกำหนดมาตรฐานทางเทคโนโลยี และ อนาคตวิทยุดิจิตอลจะยากกว่าทีวีดิจิตอลหลายเท่า ด้วยหลายปัจจัยทั้งในประเทศ และนอกประเทศ เตรียมมาเล่าเรื่องนี้ในเวที และใน TL ด้วย
ในภูมิภาคนี้เขาพอเห็นแล้วว่าทิศทาง เทคโนโลยีโทรทัศน์และโทรคมนาคมไทย เดินไปทางไหน หลัจาก กสทช.จัดสรรคลื่นและ กำหนดมาตรฐานเทคนิคต่างๆไปแล้ว แต่วิทยุยังลึกลับ ที่อนาคตวงการวิทยุยังลึกลับ เพราะหลายปัญหายังไม่ได้แก้และแก้ไม่ตก จะใช้เทคโนโลยีมาช่วยคงไม่ได้หมด แต่ต้องมีเจตจำนง (political will) ขอคืนคลื่นด้วย
#โทรคมนาคม กสทช.ได้คลื่นมาจัดสรรใหม่แล้ว (900/1800) ส่วน #ทีวี ก็จัดสรรคลื่น UHF ว่างไปแล้ว เหลือวิทยุ ทั้งคลื่นรัฐ คลื่นท้องถิ่น กว่า4-5พันสถานี เราจะขอคืนแล้วจัดสรรใหม่หมดได้อย่างไร
ตามทฤษฎีแล้ว ถ้าไม่ขอคืนทั้งคลื่น FM / AM ของรัฐและท้องถิ่นกว่า 4-5 พันรายมาตั้งหลักใหม่ เราจะออกแบบแผนคลื่นความถี่ใหม่ที่ควรเป็น ไม่ได้เลย การลดจำนวนคลื่น FM ลง อย่างถูกกฎหมายและไม่กระทบสิทธิเสรีภาพ(เช่นการไปปิดสถานี) ก็คือการแข่งขันสำหรับบริการธุรกิจ (ประมูลคลื่น) แต่ถามว่าในวงการนี้พร้อมประมูลไหม (ก็คงไม่)
แล้วเช่นนั้น เราควรแก้ปัญหานี้อย่างไร ถ้าไม่มีใครยอมคืนคลื่น และ ไม่พร้อมจะแข่งขันโดยการประมูล นอกจากอยู่กันไปแบบนี้ #วิทยุกระจายเสียง ไว้มาเล่าต่อวันที่พูดเรื่องนี้ค่ะ