ละครเป็นsoft powerที่เปลี่ยนแปลงสังคมได้ถ้าเราใช้ความคิดสร้างสรรค์ ค้นคว้าวิจัย และมองสังคมด้วยมุมที่รอบด้าน

A long summary in April 1, 2016,

from a panel discussion on Code of Ethics & Practice for TV media on woman’s rights & dignity. NBTC hopes the Code of Practice will help TV broadcasters to work properly when reporting news abt women who were sexually abused. Also to reduce myth & bias abt gender aspect which are represented & reproduced on Thai TVs. Media should have more sense & sensibility. A so-called ‘rape scene’ by a loved one to loved one, usually appeared on Thai soaps/drama as a myth, should be reduced & gone eventually. Thai drama/soaps should represent images of Thai women in more alternative ways as well, to challenge the society with a critical mindset. If we could change Thai soaps on tv progressively, Thai society would be changed in a progressive way, starting from gender perspectives. This is Code of Practices (in Thai) for TV broadcasters on woman’s rights & dignity. https://broadcast.nbtc.go.th/…/academ…/file/590300000002.pdf …

Thanks to all speakers today: @chalidaporn @chalichali @AAshayagachat @OngChina & @Nattha_ThaiPBS for moderating&FB live! More to challenge!

1 เมษายน 2559

ขอสรุปงานวันนี้ใน TL ค่ะ (เรื่องจริงนะคะ) เช้านี้ กสทช.มีงานสัมมนาเรื่อง ‘ผู้หญิงในสื่อ’ และนำเสนอผลงานวิจัยกับแนวปฏิบัติของสื่อในมิติสิทธิมนุษยชน/ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของสตรี งานวิจัยและแนวปฏิบัติสำหรับโทรทัศน์: สิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของสตรี จัดทำโดย ดร.ชเนตตี ทินนาม ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการนำเสนอในมุมมองแบบ’สตรีนิยม’ แต่ภาพรวมก็อยู่บนหลักการของสิทธิมนุษยชนสากล โดยเฉพาะสตรีที่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงทางเพศ ถามว่าทำไมต้องเน้นแนวปฏิบัติของสื่อในมิติสตรีนิยม เพราะ เรื่องร้องเรียนส่วนใหญ่มาจากการผลิตซ้ำอคติและละเมิดผู้หญิง โดยเฉพาะการนำเสนอข่าวอาชญากรรม และทัศนคติในละคร โฆษณา แนวปฏิบัติขั้นพื้นฐานที่สื่อมักลืมก็คือการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของผู้หญิงที่ตกเป็นข่าวถูกละเมิดทางเพศ ไม่แค่ชื่อนามสกุลแต่บริบทแวดล้อมด้วย ผู้ถูกกระทำความรุนแรงทางเพศมีความเปราะบางทางจิตใจ ผู้สื่อข่าวพึงหลีกเลี่ยงการนำเสนอภาพในลักษณะที่มีการเผชิญหน้าระหว่างคู่กรณีความขัดแย้ง การเข้าถึงแหล่งข่าวซึ่งถูกกระทำความรุนแรงทางเพศ สื่อมวลชนต้องขออนุญาตในทุกขั้นตอนตั้งแต่บันทึกภาพ เสียง สัมภาษณ์จนการขอนำข้อมูลไปออกอากาศ กรณีที่ผู้ถูกกระทำความรุนแรงทางเพศเป็นเด็ก การเข้าถึงแหล่งข่าว ควรได้รับความยินยอมจากตัวเด็กเอง พ่อแม่ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแลด้วย ผู้ถูกกระทำความรุนแรงทางเพศควรได้รับโอกาสในการตัดสินใจร่วมกับผู้สื่อข่าวในการกำหนดประเด็นข่าวและภาพที่นำเสนอซึ่งเกี่ยวข้องกับตัวของพวกเธอเอง

สื่อไม่ควรตัดสินอัตลักษณ์ทางเพศของแหล่งข่าวจากลักษณะทางร่างกาย/บุคลิกภาพ เช่นเรียกผู้หญิงที่ดูห้าวๆว่าทอม เพราะอาจเป็นการเหมารวมคลาดเคลื่อน สื่อควรหลีกเลี่ยงการใช้ที่บ้าน/ที่ทำงานของแหล่งข่าวซึ่งถูกกระทำความรุนแรงทางเพศเป็นฉากของการนำเสนอเรื่องราวเหตุการณ์หรือสถานที่สัมภาษณ์ การจำลองเหตุการณ์ความรุนแรงทางเพศ ทำได้แต่ต้องไม่ใช้สถานที่เกิดเหตุจริงและไม่เน้นขั้นตอนการเกิดเหตุการณ์ความรุนแรงอย่างละเอียด

หากสัมภาษณ์แหล่งข่าวผู้หญิงที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องครอบครัว ควรเลี่ยงการเชื่อมโยงข้อมูลของพวกเธอเช่นการพูดว่า ‘นางสาว ก.ที่เป็นภรรยานาย ข.’ ในการสัมภาษณ์ สื่อมวลชนไม่ควรตั้งคำถามที่เป็นการเปิดแผล ควรคำนึงถึงสภาพจิตใจของแหล่งข่าว ไม่ควรถามถึงความรู้สึกกับเหตุความรุนแรงทางเพศ สื่อมวลชนไม่ควรตั้งคำถามที่มีลักษณะของการกระทำซ้ำความรุนแรงต่อผู้หญิงหรือคำถามที่มีลักษณะกล่าวโทษผู้ถูกกระทำ เช่น “น้องแต่งตัวโป๊ใช่มั้ย”

สื่อควรเลี่ยงคำถามที่เป็นการกล่าวโทษผู้หญิงที่ถูกกระทำทางเพศ เช่นแต่งตัวโป๊ กลับบ้านดึก เดินที่เปลี่ยว เที่ยวกลางคืน ดื่มแอลกอฮอล์ เป็นต้น สื่อควรระมัดระวังการปล่อยเสียงสัมภาษณ์ขณะที่ตำรวจกำลังสอบสวนผู้ต้องหาเพราะเป็นการให้ละเอียดเหตุการณ์มากเกินไปกระทบความรู้สึกของผู้ถูกกระทำ การสัมภาษณ์ผู้ถูกกระทำ สื่อควรให้ทางเลือกในการปกปิดอัตลักษณ์ไม่ใช่จำกัดแค่ว่าใส่หมวกไหมพรมคลุมหัว เพราะอาจทำให้ผู้หญิงรู้สึกแง่ลบต่อตัวเอง แทนที่ให้ผู้หญิงคลุมศีรษะ ช่างภาพควรใช้เทคนิคมุมกล้องช่วยปกปิดอัตลักษณ์เพื่อให้แหล่งข่าวรู้สึกเป็นอิสระปลอดภัยใช้ชีวิตตามปกติเช่นคนธรรมดาได้

การแปลงเสียงสัมภาษณ์ของแหล่งข่าวซึ่งถูกกระทำความรุนแรงทางเพศเป็นเรื่องควรปฏิบัติเพื่อปกปิดอัตลักษณ์การจดจำได้หรืออาจใช้ผู้แสดงแทนมาให้เสียง สื่อมวลชนไม่ควรนำเสนอภาพศพ ภาพเปลือยภาพที่เน้นสรีระเชื่อมโยงด้านเพศของผู้ถูกกระทำความรุนแรงทางเพศ สื่อไม่ควรนำเสนอภาพที่ผู้หญิงถูกกระทำความรุนแรงเช่นโดนฉุดกระชากลากถูทุบตีทำร้าย ยิ่งควรระวังถ้านำคลิปจากในเน็ตมาผลิตซ้ำผ่านทีวี สื่อไม่ควรนำเสนอภาพที่มีลักษณะล้อเลียนในด้านความพิการทางร่างกายรูปร่างหน้าตาหรือบุคลิกภาพของแหล่งข่าว สื่อไม่ควรนำเสนอภาพความอ่อนแอของผู้ถูกกระทำความรุนแรงทางเพศจนนำไปสู่การสร้างความเร้าอารมณ์ในข่าว ควรหลีกเลี่ยงภาพที่แสดงถึงความเศร้าโศก

กรณีจำเป็นต้องใช้ภาพ อาจใช้ภาพวาดหรือการ์ตูนแทนภาพถ่ายในเรื่องความรุนแรงทางเพศที่ส่งผลกระทบต่อแหล่งข่าว แต่ภาพวาดควรจำลองมากกว่าเหมือนจริง สื่อโทรทัศน์ควรหลีกเลี่ยงการนำเสนอภาพข่าวเกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศในอดีตมาเสนอซ้ำในกรณีที่เกิดเหตุความรุนแรงทางเพศครั้งใหม่

ฝ่ายจัดแสงในห้องส่งควรระวังไม่เลือกปฏิบัติทางเพศเช่นถ้าเป็นผู้หญิงแล้วจัดแสงให้ดูอ่อนนุ่ม(อ่อนแอ) แต่เป็นผู้ชายจัดแสงให้ดูคมเข้ม(เข้มแข็ง) ทั้งนี้เพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างภาพเหมารวมในเรื่องเพศภาวะ ว่าเป็นผู้หญิงต้องอ่อนแอ เป็นผู้ชายต้องเข้มแข็ง เป็นต้น

การกำหนดประเด็นข่าวความรุนแรงทางเพศของสื่อต้องคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อตัวแหล่งข่าวมากกว่าคำนึงถึงผลประโยชน์ของสังคมที่อยากรู้ การตรวจสอบคอรัปชั่น สื่อมองประโยชน์สาธารณะมากกว่าผลกระทบแหล่งข่าวได้ แต่ถ้าเรื่องถูกกระทำความรุนแรงทางเพศ ควรคำนึงถึงแหล่งข่าวมากกว่า การรายงานข่าวความรุนแรงทางเพศควรเป็นข้อเท็จจริงมากกว่าอารมณ์ความรู้สึก และไม่ควรอธิบายขั้นตอนการใช้ความรุนแรง สื่อควรนำเสนอข้อมูลความรุนแรงทางเพศในฐานะที่เป็นปัญหาสังคมมากกว่าปัญหาส่วนตัว เพราะความรุนแรงทางเพศคือเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างด้วย สื่อควรวิเคราะห์ทำความเข้าใจโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างหญิงชายว่าส่งผลต่อความรุนแรงต่อผู้หญิงอย่างไร เพื่อนำไปสู่การปรับทัศนคติ สื่อควรเพิ่มพื้นที่ในการนำเสนอประเด็นข่าวเกี่ยวกับผู้หญิงในมิติที่หลากหลายแต่ถูกหลงลืม โดยไม่จำเป็นต้องอยู่ในกรอบบรรทัดฐานดั้งเดิม

การรายงานข่าวความรุนแรงทางเพศควรเชื่อมโยงความรู้ข้ามศาสตร์ นิติศาสตร์สังคมศาสตร์ เพศวิถีศึกษา จิตวิทยา สุขภาพ เพราะส่งผลต่อปัญหาสังคมทุกด้าน สื่อไม่ควรเรียกแหล่งข่าวที่ถูกกระทำความรุนแรงทางเพศว่าเหยื่อแต่ควรใช้คำว่า ผู้รอดชีวิต ผู้ผ่านพ้น ผู้เผชิญความรุนแรง เป็นต้น รายการเล่าข่าวไม่ควรใช้ภาษาหยอกล้อ คำอุทานที่แสดงความรู้สึกในการรายงานข่าวความรุนแรงทางเพศหรือทำให้เป็นเรื่องชวนขบขัน สื่อควรระวังในการใช้ภาษา ที่เป็นการซ้ำเติมความทุกข์ของผู้เสียหาย ควรใช้ภาษาที่เป็นกลาง ไม่ตัดสิน วางอยู่บนพื้นฐานของการเคารพสิทธิ์ ควรหลีกเลี่ยงภาษาข่าวในลักษณะวาทกรรมเชิงลบและสร้างภาพเหมารวมเช่น ทอมโหด แม่ใจร้าย แม่ใจยักษ์ เกย์หื่น เป็นต้น

ควรหลีกเลี่ยงภาษาข่าวที่ลดทอนความหมายของความรุนแรงทางเพศให้เป็นเรื่องเล็กน้อยปกติธรรมดาหรือเป็นแค่เรื่องสนุกที่เกิดขึ้น ควรหลีกเลี่ยงภาษาข่าว ที่ทำให้เรื่องความรุนแรงทางเพศเป็นเรื่องกรรมเวร สิ้นหวังไร้หนทางต่อสู้เช่นใช้คำว่าเคราะห์ร้าย กรรมซัดดวงซวย ชะตาโหด

ฯลฯ
….

ที่ทวีตไปก็เป็นส่วนหนึ่งของแนวปฏิบัติ (Code of Practices)ของสื่อที่ควรเป็นในการรายงานข่าวที่เคารพสิทธิสตรี จากนี้เป็นเรื่องละครและโฆษณาบ้าง เนื้อหาของรายการละครควรวางอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง ไม่ผลิตซ้ำอคติทางเพศ
ถ้าละครจะเสนอเกี่ยวกับประเด็นอนามัยเจริญพันธุ์ โรคทางเพศ ควรศึกษาข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นก่อน เช่น ผู้ติดเชื้อ HIV ละครไม่ควรผลิตซ้ำบทบาททางเพศภาวะ/เพศวิถีแบบเดิมเดิมๆที่กำหนดกรอบของความเป็นผู้หญิงที่ดีหรือผู้หญิงไม่ดี อาทินางเอกเก็บกด นางร้ายแย่งผู้ชาย เนื้อหาของรายการละคร ควรนำเสนอภาพความเท่าเทียมทางเพศของผู้หญิงในพื้นที่หลากหลายของสังคม เช่นศาสนา การเมืองเศรษฐกิจ เป็นต้น ละครควรระวังการผลิตซ้ำภาพผู้หญิง แบบมีอคติเช่นโรคจิตวิปลาสเสียสติอาฆาตพยาบาท (โดยเฉพาะจากการแย่งชิงผู้ชาย) ละครไม่ควรสร้างค่านิยมหรือมายาคติที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดว่าผู้หญิงเป็นวัตถุทางเพศที่ถูกกระทำความรุนแรงได้ โดยเฉพาะจากพระเอก ละครควรเพิ่มเนื้อหาที่ส่งเสริมให้ผู้ชายมีความรับผิดชอบในเรื่องเพศสัมพันธ์ เช่นการคุมกำเนิดเป็นเรื่องที่ต้องรับผิดชอบร่วมกันของทั้งหญิงและชาย ละครควรสะท้อนว่าผู้หญิงสามารถพูดหรือแสดงความต้องการในเรื่องเพศได้ หรือบอกให้ผู้ชายใส่ถุงยางได้ ควรแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับอนามัยเจริญพันธุ์ด้วย เช่นเดียวกัน ควรเปลี่ยนทัศนคติในเรื่องเพศว่าผู้หญิงเท่านั้นที่เป็นฝ่ายเสียหายผู้ชายเท่านั้นเป็นฝ่ายได้เปรียบ เพราะขืนใจคือละเมิดสิทธิมนุษยชน เนื้อหาในละครไทยควรนำเสนอภาพผู้หญิงที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ ทั้งทางสังคมเศรษฐกิจศาสนาวัฒนธรรม ไม่ใช่จำเป็นต้องพึ่งพิงผู้ชายอยู่เสมอไป

ไม่ควรนำเสนอเนื้อหาโฆษณาที่สะท้อนอคติทางเพศที่แอบแฝงมาพร้อมกับเนื้อหาการเหยียดชาติกำเนิด สีผิว วัฒนธรรม ชาติพันธุ์ โฆษณาไม่ควรนำเสนอภาพผู้หญิงในลักษณะที่ด้อยค่า ไร้ศักดิ์ศรี ไม่นำเรื่องสรีระเพศภาวะ สถานะทางสังคม สถานภาพสมรสมาเป็นประเด็นล้อเลียน โฆษณาไม่ควรนำเสนอภาพผู้หญิงเป็นวัตถุทางเพศเพื่อผู้ชาย ทำให้เรื่องเพศเป็นสินค้าแต่ควรเสนอมุมมองใหม่ๆที่ก้าวหน้าบ้าง ควรมีศิลปะสร้างสรรค์ ควรนำเสนอทางเลือกและค่านิยมใหม่ๆเกี่ยวกับความงามของผู้หญิงโดยไม่จำกัดเฉพาะความงามในอุดมคติ เช่นต้องผอม ต้องขาวจมูกโด่ง ตาโต อกโต ไม่ควรตอกย้ำภาพตายตัวของผู้หญิงในเรื่องวัยโดยเฉพาะหญิงสูงอายุในงานโฆษณามักถูกทำให้มีภาพอ่อนด้อย พึ่งพาตัวเองไม่ได้ ไม่ควรสร้างภาพตายตัวว่าผู้หญิงเป็นเพศที่หมกมุ่นอยู่กับการบริโภคอย่างไม่มีเหตุผล ลงทุนซื้อทุกอย่างที่ขวางหน้าเพียงเพราะ อยากสวย อยากผอม ละครและโฆษณาควรเสนอบทบาทใหม่ๆของผู้หญิงบ้างเช่นในหน้าที่อาชีพการงาน บทบาททางสังคมนอกบ้าน เป็นต้น โฆษณาไม่ควรนำเสนอนัยยะทางเพศผ่านเด็ก จริงๆ เอเจนซี่ควรจำกัดอายุผู้แสดงในงานโฆษณาที่สื่อนัยยะทางเพศ ที่ทวิตมาทั้งหมดดิฉันไม่ได้พูดเองนะคะ ขอให้เครดิตนักวิจัยจากมหาลัยมหิดลที่ศึกษาให้ กสทช. เพื่อเป็นแนวปฏิบัติให้สื่อ

แนวทางปฏิบัติในการนำเสนอรายการโทรทัศน์บนหลักสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของสตรี โดย ดร. ชเนตตี ทินนาม Chanettee Tinnam https://broadcast.nbtc.go.th/…/academ…/file/590300000002.pdf …

งานวิจัยและแนวปฏิบัติชิ้นนี้ก็มาจากฐานคิดทางสตรีนิยม (feminism) แต่แท้จริงแล้วก็อิงหลักสิทธิมนุษยชนสากล จึงใช้กับเพศสภาวะอื่นๆก็ได้ ดังเช่นผู้ร่วมสัมมนาในเวทีวันนี้กล่าวว่าถ้าเราเคารพหลักสิทธิมนุษยชนอยู่แล้ว ก็ไม่ต้องพูดเรื่องสิทธิสตรีก็ได้ เพราะสิทธิสตรีคือสิทธิมนุษยชน เพียงแต่ว่าเรื่องร้องเรียนการทำหน้าที่ของสื่อที่ผ่านมาเกี่ยวข้องกับประเด็น ‘ผู้หญิง’มาก ดังที่งานวิจัยสรุปปัญหามาเป็นแนวปฏิบัติให้สื่อระวัง นอกจากการนำเสนองานวิจัยและแนวปฏิบัติแล้ว วันนี้ยังมีเสวนาเรื่องผู้หญิงในสื่อ มีมุมมองต่างๆน่าสนใจมาก เช่นทัศนคติของผู้มีอำนาจที่เป็นผู้ชาย แม้แต่ตัวผู้หญิงที่นิยมการผลิตซ้ำภาพความรุนแรงหรือการคุกคามผู้หญิงผ่านสื่อเอง บางครั้งถูกเรียกว่าเป็นรสนิยม ควรให้มีการถกเถียงในสังคมบ่อยๆ วิทยากรบางท่านบอกว่าการใช้กฎหมายยังไงก็ควบคุมไม่ถึงเพราะบางเรื่องอยู่ในกมลสันดาน เป็นโจทย์ของสังคมที่ต้องช่วยกันสร้างบรรทัดฐานใหม่ ในประเด็นจรรยาบรรณสื่อ กสทช.เข้าไปใช้อำนาจตรงไม่ได้ ดังนั้นสื่อต้องช่วยกันวางกรอบหรือแนวปฏิบัติที่ยอมรับร่วมกันมาตรฐานอย่างต่ำคือไม่เลยเส้น พลังทางสังคมในยุคนี้ก็มีบทบาทสำคัญในการท้าทายการทำงานของสื่อและยกระดับมาตรฐานทางจรรยาบรรณ โดยเฉพาะมิติสิทธิมนุษยชน/ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จริงๆจะให้สำนักงานจัดเวทีวันนี้ในช่วงเดือนมีนาคมที่มีวันสตรีสากล แต่เวลาไม่ลงตัวเลยต้องมาจัดวันที่ 1 เมษา (แต่พูดกันถึงเรื่องจริงล้วนๆ) หลังสงกรานต์จะมีการนำเสนอแนวปฏิบัติสำหรับสื่อในประเด็น เด็ก เยาวชนและครอบครัวบ้าง ส่วนแนวปฏิบัติในประเด็นเพิ่มเติม อาทิ กลุ่มที่มีเพศวิถีหลากหลาย คนพิการ ฯลฯ กสทช. ยังไม่ได้ศึกษาวิจัย ขอรับมาให้สำนักงานพิจารณาต่อไปค่ะ เมื่อ 3 ปีก่อน กสทช. ทำแนวปฏิบัติเรื่องกรอบจริยธรรมภาพรวมให้สื่อใช้แล้ว ปีที่ผ่านมาก็เน้นเรื่อง สิทธิมนุษยชนของสตรี รายการเด็กเยาวชนครอบครัว

ถ้ามีประเด็นอะไรที่ควรทำแนวปฏิบัติของสื่อเพิ่มเติมที่เป็นการลงรายละเอียด จะเสนอให้สำนักงานไปคิดวิเคราะห์เพื่อดำเนินการต่อค่ะ งานวิจัยและแนวปฏิบัติเรื่องสิทธิมนุษยชนของสตรีในสื่อดังกล่าวเผยแพร่ในเว็บ กสทช. พลเมืองเน็ตทุกท่านก็นำไปใช้เป็นแนวปฏิบัติของตนเองได้นะคะ วิทยากรในเวทีเสนอให้ กสทช. มีมาตรการจูงใจฉันมอบรางวัลให้กับช่องที่ส่งเสริมสิทธิมนุษยชนของสตรี และมีความระมัดระวังในการรายงานข่าวเป็นต้น รวมทั้งข้อเสนอของนักวิชาการด้านสตรีที่เสนอให้ กสทช. และสังคมเปิดเวทีถกเถียงดีเบต ให้มากขึ้น เพื่อการขยายมุมมองของสื่อและสังคมเอง รับข้อเสนอทั้งหมดมาพิจารณาต่อ ส่วนตัวสนใจงานแนวนี้อยู่แล้วถือเป็นงานอุ่นๆ ไม่ร้อนไม่เย็นของ กสทช. ในมิติส่งเสริมการกำกับดูแลจรรยาบรรณสื่อ

วันนี้เป็นเวทีสาธารณะ ตัวแทนช่องทีวีส่วนใหญ่ก็มานั่งฟังแต่ปกติกสทช. ก็มีประชุมร่วมกับช่องต่างๆ เพื่อสะท้อนปัญหาเป็นระยะๆ อยู่แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่ช่องก็มีท่าทีในการรับฟังนำไปคิดวิเคราะห์ทบทวนและปรับปรุงแก้ไข หลังมีเรื่องร้องเรียน หลายเรื่องก็มีพัฒนาการที่ดีขึ้น อย่างประเด็นรณรงค์ลดมายาคติพระเอกข่มขืนนางเอกในละคร แม้ยังมีอยู่แต่ทางช่องใหญ่ เช่นช่อง 3 เอง ก็รับนำไปเป็นนโยบายให้ผู้ผลิตละครระมัดระวังขึ้น การที่ช่อง3 นำละครแนว ‪#‎วัยแสบสาแหรกขาด มาออกคืนศุกร์เสาร์อาทิตย์ในขณะที่ต้องแข่งขันด้านละครกับช่องใหม่ๆด้วย ถือเป็นแนวคิดที่น่าสนใจ

ผู้เขียนบทละคร #วัยแสบสาแหรกขาด ก็คือคนที่เขียนบทละคร ‪#‎สวรรค์เบี่ยง ในอดีตที่เคยถูกวิจารณ์และมีข้อถกเถียงทางสังคมเรื่องฉากพระเอกรุนแรงนางเอก กสทช.เคยเปิดเวทีและมีการถกเถียงกับผู้เขียนบทละครโทรทัศน์ ตอนนั้นเห็นต่างกันหลายเรื่องแต่ตอนนี้ดิฉันคิดว่ามีพัฒนาการในทางที่ดีขึ้นหลายมิติ ส่วนตัวก็ขอให้กำลังใจช่อง/ผู้จัด บริษัทผลิตละคร/คนเขียนบท/ผู้กำกับและนักแสดงที่ต้องการสร้างสรรค์ละครไทยในมิติใหม่ๆที่จะทำให้สังคมก้าวไปข้างหน้า

ละครเป็น soft power ที่เปลี่ยนแปลงสังคมได้ ถ้าเราใช้ความคิดสร้างสรรค์ ค้นคว้าวิจัย และมองสังคมด้วยมุมที่รอบด้าน บวกด้วยความคิดเชิงวิพากษ์ ยังมีอีกหลายประเด็น ไว้ค่อยมาเล่าต่อค่ะ ส่วนการสรุปงานช่วงบ่ายจากเวที “2ปีทีวีดิจิตอล” ที่ธรรมศาสตร์ ขอแปะไว้ก่อน เพราะจะยาวไปเช่นกัน งานสัมมนา ‘ผู้หญิงในสื่อ’ วันที่ผ่านมา กสทช.ขอขอบคุณวิทยากรทุกท่าน สำหรับมุมมองที่หลากหลาย อ.@chalidaporn @chalichali @OngChina @AAshayagachat และคุณ @Nattha_ThaiPBS ที่ดำเนินรายการและถ่ายสดผ่าน facebook live ค่ะ…