การประชาสัมพันธ์ผ่านผู้นำชุมชนหรือopinion leadersจะได้ผลมากกว่าใช้สื่อสารมวลชนในการกระตุ้นความเข้าใจดิจิตอลทีวีในหมู่บ้าน

25 มีนาคม 2559 March 25, 2016

Summary: In a public meeting with stakeholders for reports by 3 local univs after conducting survey on ‪#‎AnalogTV ‪#‎switch-off in 3 provinces Results: Little still access via analog tv, most households have sat/cab TV, now adjusting to digital terrestrial TV more & more.

People in local area got an awareness but confused. Opinion leaders are better to provide information than using mass media PR. ‪#‎digitalTV NBTC&stakeholders shall learn fr the report to adjust works better esp when new voucher coupon for set top box going to be sent next round. Next province is Ubolratchathani which analog TV to be switched off by @ThaiPBS I’m going there next week meeting with local stakeholders.

More to tell. Rather a hectic week with TV regulations & transition for digital TV. Now call it a day! Back soon. Have a nice weekend.

สรุปงานวันนี้ 3 มหาวิทยาลัยรายงานผลการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลและผลกระทบจากการยุติช่องอนาล็อกของ @ThaiPBS ได้ข้อมูลเชิงประจักษ์มามากเลย ผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้สะท้อนทั้งจุดอ่อนและจุดแข็งเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงการทำงานของ กสทช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระยะเวลาอีกกว่า 2 ปี ทั้งสามมหาวิทยาลัยลงพื้นที่เคาะประตูบ้านให้นักศึกษา ผู้นำชุมชนออกไปถามแบบสอบถามนับหมื่นชุด สรุปผลโดยย่อดังนี้ค่ะ

ภาพรวมของ 3 พื้นที่ที่มีการยุติทีวีอนาล็อกของไทยพีบีเอสไปแล้วนั้น ไม่กระทบครัวเรือนมากนักเพราะส่วนใหญ่ก็ไม่เคยรับ analog ได้ชัดอยู่แล้ว 3 พื้นที่ดังกล่าว ส่วนใหญ่ครัวเรือนรับชมทีวีดาวเทียมและเคเบิ้ลเป็นหลักนานมาแล้ว การยุติระบบแอนะล็อกจึงไม่กระทบมาก เมื่อสอบถามว่าถ้ารับชมระบบอนาล็อกเดิมไม่ได้ประชาชนจะรับชมช่องทางใด ตัวอย่างแบบสอบถามในร้อยเอ็ดตามภาพประกอบ ส่วนความรู้ความเข้าใจอยู่กับ digital tv ผลสำรวจมายังน้อยตามคาดหรือไม่ก็สับสน ย้ำจุดอ่อนเรื่องการประชาสัมพันธ์เชิงลึก

ความท้าทายที่นักวิจัยสะท้อนคือการทำให้คนเปลี่ยนจากทีวีดาวเทียมและเคเบิ้ลมาดูทีวีภาคพื้นดินซึ่งครัวเรือนก็คิดว่าไม่จำเป็นถ้าเดิมดูได้อยู่แล้ว ผลการสำรวจยืนยันว่าคนไทยส่วนใหญ่เข้าถึงช่องใหม่ๆ digital tvได้แต่ ต่างจังหวัดยังดูผ่านดาวเทียมและเคเบิ้ล ส่วนภาคพื้นดินค่อยๆขยับสัดส่วนขึ้นมา นักวิจัยเสนอว่า กสทช.ควรปรับรูปแบบการประชาสัมพันธ์ลงพื้นที่ เพราะชาวบ้านต้องการทำความเข้าใจแบบปากต่อปาก สื่อแบบสปอตทีวีฟังผ่านหูแล้วก็ผ่านไปดังนั้นการประชาสัมพันธ์ผ่านผู้นำชุมชนหรือ opinion leaders จะได้ผลมากกว่าใช้สื่อสารมวลชน ในการกระตุ้นความเข้าใจเรื่องดิจิตอลทีวีในหมู่บ้าน

การแจกคูปองรอบใหม่นี้ กสทช.คงต้องหารือกับรัฐบาลจริงจังให้เป็นนโยบายระดับชาติให้ผู้นำชุมชนเป็น change agent ช่วยสร้างความเข้าใจ การใช้สื่อสารมวลชนประชาสัมพันธ์ทำได้ในขั้นสร้างการตระหนักรู้(awareness)และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เข้าใจเชิงลึกคงต้องใช้สื่อบุคคลช่วยด้วย ผลการสำรวจพบ 2 กลุ่มหลัก คือ

1.ปฏิเสธการเปลี่ยนมาดูทีวีภาคพื้นเพราะปัญหายุ่งยากหรือของเดิมดูได้อยู่แล้ว

2. กลุ่มที่ลองใช้ดูแล้วพบความประทับใจ ส่วนใหญ่จะประทับใจตรงความคมชัด ช่องมากเนื้อหาหลายขึ้นแต่ก็มีความคาดหวัง ข้อติชมเพิ่มเช่นความเสถียรของสัญญาณและคุณภาพเนื้อหา ปัญหาการส่งคูปองผ่านไปรษณีย์พบว่ากว่า 1 ใน 3 ยังไม่ได้รับคูปอง ส่วนที่รับแล้วมีทั้งแลกมาใช้ แลกมาเก็บไว้และไม่ได้แลก(ดูผ่านดาวเทียมได้อยู่แล้ว)

ผลการสอบถามครัวเรือนในทั้ง 3 พื้นที่คือ รับรู้จดจำช่องใหม่ๆที่เกิดขึ้นได้แล้ว ส่วนใหญ่ก็เป็นช่องที่อยู่ในเรตติ้งอันดับต้นๆที่ทำการสำรวจกัน ชาวบ้านในพื้นที่บอกว่า นิยมรับชมรายการข่าวสาร กีฬา ละคร สารคดี บ่นว่าพวกเกมโชว์เยอะเกินไป และไม่ค่อยมีรายการส่งเสริมอาชีพสำหรับเกษตรกร

เรื่องความเสถียรของสัญญาณ ในเขตตัวเมืองไชยปราการ ร้อยเอ็ดรับได้ชัดแต่ไกลออกไปสัญญาณไม่ค่อยเสถียร ฝากโครงข่าย ช่วยดูด้วย น่าสนใจที่นักวิจัยบอกว่าชาวบ้านค่อนข้างสับสนกับดิจิตอลทีวีแต่ก็มีความเชื่อมั่นว่าน่าจะดี เพราะถ้าเป็นนโยบายรัฐก็น่าจะนำสิ่งดีๆมาให้ชาวบ้าน พื้นที่ที่ยุติแอนะล็อกไปก่อนถือเป็นพื้นที่ปราบเซียนอย่างไชยปราการ ฝาง แม่อายก็เป็นหุบเขาห่างไกล ขอบชายแดน ฝั่งสมุยพงันก็เป็นเกาะ อีสานทุ่งกุลาก็กว้าง รายการพวกประกวดร้องเพลง(ลูกทุ่ง) ก็ดูจะเป็นรายการยอดฮิตคนไทย สังเกตได้ว่าช่องเก่า ช่องใหม่มีกันหมด เรตติ้งดีงามกัน

รายการสารคดี อย่าคิดว่าชาวบ้านไม่ดู ลงพื้นที่ไปหลายคนบอกว่าชอบ ทั้งคนเมืองและคนชนบท ดูอย่างช่อง New tv ช่อง Now ตอนนี้เรตติ้งขึ้น ภาพรวมชาวบ้านรับรู้นะว่ามีช่องใหม่ๆ ยกตัวอย่างถ่ายทอดสดฟุตบอลเมื่อคืนนี้แทบไม่มีใครร้องว่าดูไม่ได้ ส่วนใหญ่ดูได้แต่จะบ่นเรื่องอื่นกันเช่นคนพากย์ สมัยก่อนถ้ามีถ่ายทอดสดกีฬาที่ไม่ใช่ช่อง 3-5-7-9 จะมีเสียงร้องเรียนว่าทำไมบ้านฉันดูไม่ได้ หรือ ทำไมจอดำ แต่ตอนนี้ปัญหานั้นหายไป

สิ่งที่ชาวบ้านต่างจังหวัดโดยเฉพาะคนที่ใช้จานดำ ปลาบปลื้มกับทีวีดิจิตอลภาคพื้นดิน มากสุด คงเป็นการถ่ายทอดสดกีฬาแล้วจอไม่ดำอีกต่อไป ดิจิตอลทีวีภาคพื้นดิน ทำให้ผู้ประกอบการทีวีดาวเทียมที่ก่อนนี้แข่งกันที่กีฬาแบบ exclusive แย่งกันขายกล่อง ตอนนี้ก็ปรับมาออกฟรีทีวีกันแทน

ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ สรุปเป็นเอกสารมาให้เข้าใจง่ายๆจากผลการสำรวจค่ะ ‪#‎ยุติแอนะล็อก #digitalTV

ข้อเสนอจากทีมวิจัยให้กับ กสทช.+ภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง #digitalTV มีรายละเอียดอื่นๆที่น่าสนใจอีกมากจากการลงพื้นที่สำรวจวิจัยยุติแอนะล็อกครั้งนี้ ภาคส่วนต่างๆนำไปใช้อ้างอิงได้ แต่รอขึ้นเว็บเป็นทางการก่อนค่ะ

ในปีนี้สถานีเสริมเริ่มก่อตั้งเสร็จแล้วประมาณกลางปีจะครบร้อยละ 90 ตามแผนที่วางไว้ทำให้พื้นที่ที่ดูไม่ได้ก่อนนี้จะเริ่มดูได้มากขึ้น #digitaltv ตอนนี้ทางผู้ให้บริการโครงข่ายก็เร่งขยันขันแข็งติดตั้งสถานีเสริมให้เสร็จทันตามแผน เพราะกลัวถูกปรับกัน ก่อนหน้านี้โดนปรับกันไปบ้างแล้ว‪#‎MuX

การเปิดใจรับชมช่องฟรีทีวีใหม่ๆก็มีมากขึ้น วันก่อนไปโรงพยาบาลหัวเฉียว ก็เห็นเจ้าหน้าที่เปิดช่องไทยรัฐทีวีทิ้งไว้

วันจันทร์นี้ กสทช. จะถกกันเรื่องสำคัญเกี่ยวกับดิจิตอลทีวี สำคัญมากเลย เป็นวาระแห่งชาติว่าด้วยเรื่อง *color bar*
cc ‪#‎ยามเฝ้าจอ

ไว้มาเล่าค่ะว่า วาระแห่งชาติที่จะถกกันเรื่อง color bar ของ digital tv มีรายละเอียดเป็นอย่างไร โปรดติดตาม #ยามเฝ้าจอ ทาง กสทช. ขอขอบคุณทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ร้อยเอ็ดและมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมากค่ะสำหรับผลรายงานที่เสนอวันนี้ เมื่อปรับแก้รายงานวิจัยร่างสุดท้ายแล้วสำนักงานจะเสนอเข้าบอร์ด กสท. และ กสทช. เพื่อทราบต่อไป #ยุติแอนะล็อก #digitalTV

นักข่าวที่ถามมาเรื่องความคืบหน้าช่องไทยทีวีฟ้องกสทช. ขอคุ้มครองชั่วคราว ทางเราก็ยังรอคำสั่งศาลอยู่ค่ะ ถ้าทราบแล้วจะแจ้งให้ทราบทันที…