19 มีนาคม 255 สรุปงานจากพม่า
A summary in Thai from @myanmarmedialaw conference Day1 hosted by @DemocVoiceBurma , supported by USAID in Yangon. Keynote speech by an outgoing Minister of Information on 8 recommendations for new government related to media laws. Then another promising keynote by representative from NLD party who gonna run the new government.
Me, presented abt NBTC Act & structure of telco & broadcasting regulator in Thailand as a lesson-learned for policy makers here in Myanmar. Whole day of Q&A for me, fun & exciting with all the passionate people here working towards a social change. More to tell!
วันนี้อยู่ย่างกุ้ง มีงานสัมมนากฎหมายสื่อพม่าทั้งวัน ตั้งใจจะ live ทวิตแต่ไม่สามารถ เพราะอยู่ในเวทีตลอดวัน บรรยาย และ Q&A ขออภัยค่ะ ขอสรุปแทน งานสัมมนา @myanmarmedialaw ที่มารอบนี้จัดโดยองค์กรสื่อทางเลือกในพม่า DVB @DemocVoiceBurma สนับสนุนโดย USAID งานที่ย่างกุ้ง องค์กรผู้จัดเชิญรัฐมนตรี Ye Htut กระทรวงข้อมูลข่าวสาร(ที่จะหมดวาระ) มาปาฐกถา รัฐมนตรี Ye Htut จากกระทรวงข้อมูลข่าวสารพม่า(Ministry of Information) กล่าวในเวทีวันนี้ว่าเห็นด้วยที่จะมีการปรับแก้กฎหมายสื่อ ขอฝาก รบ.ใหม่
รัฐมนตรีท่านที่กำลังจะหมดวาระในอีก 11 วัน ฝากงาน 8 ประเด็นให้กับรัฐบาลใหม่ที่จะนำบริหารโดยพรรคNLD ซึ่งเป็นฝ่ายค้านมานานและกำลังจะเป็นรัฐบาลแทน หนึ่งในแปดข้อเสนอของท่านรัฐมนตรีกระทรวงข้อมูลข่าวสารคนปัจจุบัน คือการรวมกระทรวงข้อมูลข่าวสารกับกระทรวงเทคโนโลยีเพราะสื่อกำลังหลอมรวม หลังจากรัฐมนตรีคนปัจจุบันที่กำลังจะพ้นตำแหน่งกล่าวปาฐกถาจบ ทางผู้จัดก็เชิญตัวแทนฝ่ายข้อมูลข่าวสารของพรรค NLD ที่จะเป็นรัฐบาลใหม่มากล่าวต่อ
องค์ปาฐกที่ 2 คือคุณ Mon Ywa Aung Shin ที่ดูแลเรื่องข่าวสารของพรรคNLD พูดสรุปสั้นๆว่าในอนาคตรัฐไม่ควรเป็นเจ้าของสื่อ จากนั้นต่อด้วย session ต่างๆ เป็น 4 กลุ่ม เราในฐานะ กสทช. เขาเชิญให้มาพูดเรื่อง พรบ.กสทช.ตรงๆเลย เพราะเขากำลังจะปรับแก้กฎหมายกำกับดูแลสื่อ พรุ่งนี้จะมี debate สดออกทีวี การมี กม.กลไกจัดสรรคลื่น/กำกับดูแลสื่อในพม่าด้วย หลังถกแนวคิดจากโมเดล กสทช.ไทยและอื่นๆ
ในมิติสิทธิเสรีภาพตอนนี้พม่าเขาไปข้างหน้ามากกว่าเราแล้ว เราคงไม่กล้าแนะเขา แต่เขาสนใจมิติการลดการผูกขาดสื่อของรัฐ ให้มีสื่อเอกชน แข่งขันเป็นธรรม เพราะสื่อวิทยุ-ทีวีของพม่าก็เหมือนไทยเรา คือที่ผ่านมารัฐเป็นเจ้าของทั้งหมด แต่ให้เอกชนทำด้วย คล้ายระบบสัมปทานบ้านเรา ภาคเอกชนรอการเปิดเสรี เขาสนใจที่เราเพิ่มฟรีทีวีจาก 6 ช่องเป็น 48 ช่อง มีทั้งสาธารณะ ธุรกิจ ชุมชน เขาสนใจจะมีช่องเพิ่มที่เอกชน/สาธารณะเป็นเจ้าของบ้าง ไม่ใช่รัฐผูกขาด
ในขณะที่ กสทช.ไทยโดนบ่นเละ แต่องค์กรสื่อในพม่าตอนนี้ก็อยากมีองค์กรกำกับดูแล หรือ regulator แบบ กสทช.บ้าง เพราะเขาต้องการปฏิรูปสื่อออกจากรัฐ
วันนี้นอกจากบรรยายตัว พรบ. กสทช. และโครงสร้างการทำงานแล้ว ช่วงบ่ายก็มี Q&A ในประเด็นที่อยากรู้ เขาตื่นเต้นตรงที่ต้องรายงานทรัพย์สินด้วย ในภูมิภาคนี้ ไทยน่าจะเป็นประเทศแรกๆ(หรือไม่?) ที่มีกฎหมายบังคับให้ผู้มีตำแหน่งทางการเมืองและองค์กรอิสระต้องแสดงบัญชีทรัพย์สินต่อ ป.ป.ช. ว่าที่รัฐมนตรีกระทรวงข้อมูลข่าวสารพม่าคนใหม่ แม้พูดกันวงในแต่ยังเล่าไม่ได้ว่าเป็นใครต้องรอการแต่งตั้ง ครม.ใหม่ก่อน แต่ข่าวว่าหัวก้าวหน้า
พรุ่งนี้ยังมีการประชุม @myanmarmedialaw ที่ย่างกุ้งอีกครึ่งวัน ไว้มาสรุปเพิ่มเติมค่ะ จะมีรายการดีเบตออกทีวีด้วย คืนนี้ขอไปพักผ่อนก่อน วันนี้พูดทั้งวันเลย แต่สนุก มีความสุขทุกครั้ง ชอบบรรยากาศแบบมีความหวัง ผู้คนตื่นตัวกับการทำงานเพื่อการเปลี่ยนแปลง…