สรุปงาน 24 มี.ค. 59

MARCH 24, 2016 Meeting with reps from TV channels & govt agencies to review Rules & Codes of practices for disaster warning & more on crisis reporting. What Thailand needs: making a right decision on time, efficient system on info dissemination & collaborations btw stakeholders during the crisis. More work to be done.

24 มี.ค. 2559

ประชุมทบทวนความเข้าใจกับทีวีเรื่องการเตือนภัยพิบัติ และการรายงาน ร่วมกับหน่วยงานของรัฐ เช่นศูนย์เตือนภัยฯ กรมอุตุฯ และอื่นๆ เวทีชี้แจงทบทวนการทำหน้าที่ของสื่อในภาวะภัยพิบัติและเหตุฉุกเฉิน กสทช. ก็มีนโยบายให้ สนง.จัดเวทีแบบนี้ทุกปี คล้ายการซักซ้อมหนีไฟ ท่านใดสนใจย้อนอ่านจากไทม์ไลน์ @NBTCrights และคุณ @moui ที่ live tweet ‪#‎crisisreporting ด้วย

ปัญหาที่พบวันนี้เรื่องใหญ่ก็คงเป็น ขั้นตอนการตัดสินใจและประสานงานระหว่างศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติและทีวีรวมการฯ และทีวีทุกช่อง ตามประกาศ กสทช. กำหนดให้เป็นหน้าที่ของสถานี ต้องดำเนินการเตือนภัยตามที่หน่วยงานของรัฐร้องขอไม่ว่าจะเกิดเหตุในเวลาไหนก็ตาม ที่ผ่านมาทางศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติมีความกังวลว่าถ้าไปขอล้มผังให้ช่องเตือนภัยด่วนอาจจะถูกช่องฟ้องได้ วันนี้ กสทช.ยืนยันว่าไม่ต้องกังวล ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติมีอำนาจสูงสุดในการตัดสินใจเตือนภัยอยู่แล้ว ส่วนทีวีทุกช่องมีหน้าที่ทำตามถ้าหน่วยงานรัฐร้องขอไม่ว่าออนแอร์อะไรอยู่ ไม่อยากเห็นเหตุการณ์แบบภูเก็ต3-4ปีก่อนเกิดขึ้นอีกจนกลายเป็นวิกฤตศรัทธาต่อการเตือนภัยพิบัติ ศูนย์เตือนภัยและทีวีรวมการฯต้องเตรียมพร้อมเสมอ ระบบที่ประกาศ กสทช.วางไว้คือเมื่อศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติแจ้งเตือนภัยไปที่ ททบ.5 และ ทีวีรวมการฯแล้ว ทุกช่องพร้อมเชื่อมสัญญาณทันที

โจทย์แรก อยู่ที่ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติต้องเป็นคนตัดสินใจว่าเหตุการณ์ขนาดไหน ต้องประกาศรวมการเฉพาะกิจเตือนภัยระดับชาติในฟรีทีวีทุกช่อง วันนี้ตัวแทนฟรีทีวีดิจิตอลทั้งช่องเก่า ช่องใหม่ที่มาร่วมประชุมก็เห็นพ้องและยินดีจะตัด สัญญาณสดเพื่อเตือนภัยเมื่อหน่วยงานรัฐร้องขอ ประเด็นคือ ‘เมื่อหน่วยงานรัฐร้องขอ’ ดังนั้นหน่วยงานรัฐก็ต้องตัดสินใจให้ถูกที่ถูกเวลาว่าเมื่อไหร่จะประกาศเตือนภัยออกฟรีทีวีทุกช่อง ทุกวันนี้ฟรีทีวีดิจิตอลทุกช่องก็ต้องลิงค์สัญญาณจากทีวีรวมการฯ (ททบ.5) มื่อมีประกาศ คสช.หรือรายการคืนความสุขกันจนชินอยู่แล้ว

ประเด็นคือเมื่อมีเหตุภัยพิบัติและเหตุฉุกเฉิน การเชื่อมสัญญาณเตือนภัยก็ควรจะพร้อมทันที ให้เหมือนตอนเกิดเหตุเรื่องการเมือง ความมั่นคง ข้อเสนอในวันนี้ ทางศูนย์เตือนภัยฯ กรมอุตุฯ ฟรีทีวี เสนอให้ กสทช. เป็นเจ้าภาพในการจัด workshop วางระบบ ซักซ้อมเสมือนจริง มอบให้ สนง.ไปทำต่อ รวมไปถึงการอบรมให้ข้อมูลความรู้ เรื่องภัยพิบัติทั้งในแง่เทคนิคการใช้ภาษาและอื่นๆให้กับนักข่าวและ บก.เข้าใจลึกซึ้งยิ่งขึ้น ‪#‎ภัยพิบัติ

ฝาก สนง. ให้จัดเวทีแบบนี้ต่อเนื่องเพราะดูเหมือนว่าถ้า กสทช. ไม่เป็นตัวกลาง ระหว่างสื่อและหน่วยงานรัฐด้านภัยพิบัติต่างๆก็จะไม่ได้คุยกันเลย มีช่องว่างและเข้าใจต่างกันเยอะระหว่างหน่วยงานรัฐด้านภัยพิบัติและสื่อมวลชน ความสับสนจึงมีเสมอมา ต้องจัดกลไกทำงานกันต่อเนื่องNattachat Puangsudrak

ปัญหาการเตือนภัยพิบัติที่ผ่านมาสะท้อนจุดอ่อนสังคม(คน)ไทย 2 เรื่องคือ 1.การตัดสินใจที่ถูกที่ถูกเวลา 2. การประสานงานที่เป็นระบบมีประสิทธิภาพ อาทิ ตอนไม่เกิดเหตุ ซักซ้อมเป๊ะมาก แต่พอเกิดเหตุฉุกเฉิน ทุกอย่างกลับมั่วไปหมด ไม่มีระบบเลย ไม่รู้จะยึดตรงไหน ข้อมูลข่าวสารกลับไม่พร้อมทันที

อย่างไรก็ตามเราก็คงต้องซักซ้อมความเข้าใจกันบ่อยๆให้เคยชิน ดีกว่าที่จะปล่อยลืมเลือนกันไป พอเกิดเหตุทีก็ต้องมาเสียใจ สรุปบทเรียนกันทีหลังทุกทีไป

ขอบคุณตัวแทนหน่วยงานรัฐ ผู้เชี่ยวชาญ ตัวแทนสื่อทุกช่อง และทุกท่านที่มาร่วมทบทวนความเข้าใจเรื่องเตือนภัยพิบัติในวันนี้ค่ะ Stay alert!

ขอบคุณคุณ Darin Klong-ugkara ที่ช่วยดำเนินรายการได้อย่างเจาะลึกในวันนี้ค่ะ มีงานต้องทำกันต่ออีกสักครั้งให้ได้บทสรุปสักที

…..

พรุ่งนี้มีงานเสนอรายงานวิจัยโดย 3 มหาวิทยาลัย จากโครงการสำรวจวิจัยหลังการลงใน 3 พื้นที่ที่มีการยุติทีวีแอนะล็อก @ThaiPBS ไปแล้ว ติดตามได้ผ่าน TL @NBTCrights