23 ก.พ. 59 ว่าด้วยเรื่องร้อนๆ สรุป
คดีไทยทีวี – ค่าเช่า MUX อสมท. – คลื่น 2600 ของ อสมท. ยาวนิด แต่รบกวนอ่านโดยละเอียดค่ะ
Tweeted a summary from Broadcast Panel’s meeting today on spectrum2600, and the hearing at Admin Court on the case filed by ThaiTV.
วันนี้เหนื่อยมาก เช้าประชุม กสท.ถกเครียด บ่ายไปศาลปกครองไต่สวนคดีไทยทีวี เย็นมีหารืออนุกรรมการ 3 ชุด นอกรอบ คืนนี้ต้องขอสรุปดังนี้
คดีไทยทีวี วันนี้ทั้งสองฝ่ายต่างก็ไปให้เหตุผลของตนเองที่ศาลปกครอง จากนี้รอฟังผลว่าศาลท่านจะคุ้มครองชั่วคราวเรื่องการจ่ายเงินประกันหรือไม่ ฝั่ง กสท./กสทช. วันนี้มีดิฉันและรักษาการรองเลขาธิการ+ ผอ.สำนักกฎหมาย และ ผอ.สำนักใบอนุญาตฯ รับมอบอำนาจไปให้ถ้อยคำต่อศาล ศาลถามว่าถ้าคุ้มครองชั่วคราวจะส่งผลเสียหายต่อรัฐอย่างไร เราให้ถ้อยคำไปว่าจะส่งผลกระทบต่อการบริหารราชการของรัฐ/การบังคับใช้ กม./ กระทบภาพรวมอุตสาหกรรม กระทบภาพรวมการกำกับดูแลกิจการโทรทัศน์และอาจกระทบไปถึงกิจการโทรคมนาคมด้วย อาทิ กรณีการจ่ายเงินประมูลคลื่น 900 ในอนาคต ผลกระทบทางอ้อมคือทำให้ไม่สามารถส่งเงินเข้ารัฐหรือคลังได้ตามที่มีข้อผูกพันไว้ในการประมูลคลื่นความถี่ที่เป็นทรัพยากรการสื่อสารสาธารณะ
ที่ผ่านมา กสทช. ให้โอกาสทางไทยทีวีในการปรับตัว หาทางออกข้ามปี เช่นการเปิดช่องให้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นได้เพื่อรักษาใบอนุญาต แต่ไม่เป็นผล เมื่อเวลาล่วงเลย ทาง กสทช.ก็มีความจำเป็นต้องบังคับใช้กฎหมาย ไม่เช่นนั้นอาจเข้าข่ายละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ และเลือกปฏิบัติกับอีก 22 ราย ตัวเนื้อคดีที่ไทยทีวีฟ้อง กสทช.ว่าทำงานไม่ดี ศาลยังอยู่ในกระบวนการแสวงหาข้อเท็จจริง วันนี้เป็นประเด็นการยึดเงินประกัน ว่าจะคุ้มครองหรือไม่ การฟ้อง กสทช.ว่าทำงานผิดพลาดก็ว่าไปตามกระบวนการ ถ้าผิดจริงเอกชนอาจฟ้องอาญาหรือแพ่งต่อได้ แต่วันนี้เอกชนก็ยังมีหน้าที่ในการจ่ายหนี้คงค้างรัฐ
ถ้าเอกชนไม่สามารถจ่ายหนี้คงค้างรัฐได้ รัฐก็ต้องทวงถามไปยังธนาคารที่ค้ำประกันให้ชดใช้แทน เหมือนกรณีผู้ค้ำประกันหนี้ในกรณีอื่นๆเช่นกัน คนค้ำประกันให้ น่าเห็นใจในทุกกรณี ถ้าต้องชดใช้หนี้แทน แต่นั่นก็คือหน้าที่ของผู้ยินดีค้ำประกัน อันเป็นหลักสากลและเป็นความจริงที่เจ็บปวด ดิฉันให้ถ้อยคำต่อศาลไปว่า ถ้าศาลคุ้มครองไม่ให้ยึดเงินประกัน อาจส่งผลต่อกรณีการประมูลคลื่น 900 ที่ยังรอว่าธนาคารจะค้ำประกันให้หรือไม่ ใน #คหสต. ถ้าไม่มั่นใจ ธนาคารไม่ควรประกันให้ ส่วน กสทช.ก็ไม่ออกใบอนุญาต แล้วจัดประมูลใหม่หาคนที่พร้อมจริงๆ ดีกว่าค้ำๆกันไปแล้วฟ้อง ไม่จ่ายทีหลังอีก
สังคมไทยอาจยังไม่ชินกับการประมูลคลื่นความถี่ เราก็ต้องหาจุดที่ matured ว่า เอกชนมีหน้าตักเท่าใดก็ควรประมูลเท่านั้น การเคาะสูงไว้ก่อน อันตราย ทางไทยทีวี บอกว่าตั้งใจประมูลช่องข่าวมาทำช่องข่าวบันเทิงอย่างเดียว แต่เพราะ กสทช.ไม่ยอม เลยทำให้แข่งขันหาจุดขายไม่ได้ ไทยทีวีเลือกประมูลช่องข่าวและช่องเด็กที่ต้นทุนคลื่นถูกกว่าช่องวาไรตี้ ก็เป็นเงื่อนไขที่เอกชนต้องแบกรับความเสี่ยงด้วย โทษรัฐฝ่ายเดียวไม่ได้ เพราะช่องข่าวและช่องเด็ก มีเงื่อนไขใบอนุญาตที่แตกต่างจากช่องวาไรตี้ชัดเจนอยู่แล้ว กสทช. จะยอมให้ทำเป็นช่องวาไรตี้ได้อย่างไร
ส่วนปัญหาเรื่องโครงข่าย ทางไทยทีวีก็ได้ใช้โครงข่ายของ @ThaiPBS ซึ่งจัดว่าพร้อมที่สุด เครือ BEC ช่อง 33 และช่อง8ที่เรตติ้งดีๆ ก็ใช้ MUX นี้ ทางเครือ BEC และ ช่อง 8 RS ที่ใช้โครงข่ายทีวีดิจิตอลของ @ThaiPBS เช่นเดียวกับไทยทีวี ก็ยังไม่เคยร้องเรียน MUX ไทยพีบีเอส (ถ้ามีควรร้องมา) ตอนแรก กสทช.จะประมูลช่องข่าวแค่ 5 ช่องเท่านั้น แต่ช่วงก่อนประมูลมีเอกชนสนใจมากมาย เมื่อ demand มาก กสทช. ก็ต้องเพิ่ม supply จาก 5 เป็น 7 ช่อง ช่อง HD ตอนแรกก็จะเปิดประมูลแค่ 4 ใบอนุญาต แต่พอคนสนใจจะประมูลมาก กลัวจะเคาะกันหูดับ มติ กสท.ก็ปรับ supply ตาม demand คือจาก 4 เป็น 7 ช่อง สรุป ปัญหา กสทช.ที่ทำงานผิดพลาด เอกชนก็ฟ้องกันไป ให้รับผิดรับชอบกันตามกฎหมายถึงที่สุด แต่หน้าที่จ่ายหนี้ให้รัฐก็ยังคงอยู่ คนละประเด็น
ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับคำตอบสุดท้ายคือ ศาลปกครอง ท่านก็คงไปชั่งน้ำว่าระหว่างความเสียหายต่อรัฐภาพรวมและความเสียหายของเอกชน อะไรมาก่อน ณ จุดนี้ ศาลตัดสินมาอย่างไรก็ต้องน้อมรับอย่างนั้นค่ะ เป็นจุดจบการต่อสู้ข้อพิพาทในกติกา Rule of law ที่ทุกฝ่ายต้องยอมรับ ดีกว่า overruled โดยอำนาจพิเศษ การใช้อำนาจพิเศษมา over ruled กฎ จริงๆช่วยทำให้ กสทช.ปลอดภัย เพราะมีหลังพิงเป็น ม.โน่น ม.นี่ แต่มันทำให้ กสทช.ลอยตัว ไม่ต้องรับผิดชอบ #คหสต.
ดังนั้นส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับการใช้อำนาจพิเศษแก้ปัญหา เรามีกระบวนการยุติธรรม คือศาลทุกศาล แต่ละฝ่ายก็ต้องใช้กระบวนการนี้ว่าไปตามกติกา ความยุติธรรมอาจล่าช้า แต่ถ้าสุดท้ายศาลตัดสินว่า กสทช. ผิด ดิฉันก็ยังต้องรับผิดชอบคดี แม้ว่าในเวลานั้นอาจหมดวาระ แก่ลงไปเลี้ยงหลานแล้วก็ตาม
…..
พูดเรื่องโครงข่าย วันนี้มีมติ กสท. เรื่องสำคัญ เป็นการวางหลักการที่ดี ช่วยทีวีดิจิตอลและคนดู กรณีช่องไม่จ่ายเงินค่าเช่าให้โครงข่าย ดังนี้ สืบเนื่องจากข้อพิพาทระหว่าง โครงข่าย อสมท.และช่องไทยรัฐทีวี สปริงนิวส์ วอยซ์ทีวี ที่ไม่จ่ายค่าเช่า MUX ทาง อสมท.ถามว่าถ้าจะยกเลิกสัญญาได้ไหม กสท.มีมติวางหลักการว่า แม้ว่าMUXจะเก็บค่าเช่าไม่ได้ แต่อยู่ๆ MUX จะเลิกสัญญากับช่อง หยุดส่งสัญญาณเองไม่ได้ ถ้า กสท./กสทช.ยังไม่เห็นชอบ การเช่า MUX ไม่เหมือนการเช่าบ้าน ที่ไม่จ่ายค่าเช่าบ้านแล้วจะไล่คนออกจากบ้านไป แต่หน้าที่ MUX หรือโครงข่ายฟรีทีวีคือส่งบริการสาธารณะ การไปเจรจาฟ้องร้องทวงหนี้กัน ก็เป็นหน้าที่ MUX ไปตามกับช่อง แต่ถ้ามีผลกระทบกับประชาชน ผู้บริโภค แล้ว กสทช. ยังไม่ให้หยุดบริการ ก็หยุดไม่ได้
โครงข่ายจะเก็บค่าเช่าจากช่องได้หรือไม่ แต่ถ้า กสทช. ยังไม่เห็นชอบให้ยุติสัญญาณ MUXทีวีดิจิตอลก็ห้ามหยุดบริการ
cc @ThaiPBS ททบ. อสมท. FYI โครงข่ายฟรีทีวีดิจิตอล ถือเป็นบริการสาธารณะ แม้ว่าจะเก็บค่าเช่าจากช่องยังไม่ได้ ผู้ให้บริการก็มีหน้าที่ต้องส่งสัญญาณดิจิตอลทีวีให้ประชาชน ข้อพิพาทระหว่าง เอกชน กับ เอกชน (โครงข่าย vs. ช่อง) ก็ว่ากันไปตามกฎหมาย แต่ต้องไม่ส่งผลกระทบต่อบริการสาธารณะหรือคนดูฟรีทีวีดิจิตอล โครงข่าย MUX ห้ามจอดับ เกินเวลาเงื่อนไขใบอนุญาต ต้องให้บริการต่อเนื่อง จนกว่า กสทช.จะเห็นชอบให้ยุติสัญญาณเหมือนกรณี ไทยทีวี และ Loca
………
มาถึงอีกเรื่องที่สำคัญวันนี้คือ มติ กสท.เสียงข้างมาก 3:2 เห็นชอบให้ อสมท.ปรับปรุงเทคโนโลยีบนคลื่นความถี่ 2600จาก MMDS เป็น BWA หรือ Broadband Wireless Access ได้ (ซะงั้น) จุดยืนดิฉันอยู่ฝั่ง 2 เสียงข้างน้อยแน่นอน ไม่เห็นชอบ เพราะมีประเด็นข้อกฎหมายอย่างรุนแรง เรื่องสิทธิในการถือครองคลื่นต่อของ อสมท. คลื่น 2600 ตอนนี้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นยิ่งกว่าที่ดินริมรถไฟฟ้า เพราะสากลใช้ทำ LTE แผนแม่บท กสทช. ก็ให้ทำโทรคมนาคม ตอนนี้ อสมท. ก็คงไม่คืนคลื่นแน่ ถ้ามติออกมาแบบนี้ การที่บอร์ด กสท.เสียงข้างมากให้สิทธิ์ อสมท.ใช้คลื่น2600ทำ “ทีวีบรอดแบนด์”โดยอัตโนมัติ ทั้งที่สัญญาเดิมสิ้นสุดไปแล้ว ปัญหาจะตามมาบานปลาย วาระนี้ ดิฉัน กับ @DrNateeDigital กลายมาเป็น 2 เสียงข้างน้อยร่วมกันในประเด็นสิทธิ์การถือครองคลื่น 2600 ของ อสมท. หลังสัมปทานเดิมสิ้นสุด
ยอมรับว่าช่วงนี้ เสียงและการลงมติในบอร์ด กสท.ดูจะสวิงมากๆ เกิดอาการสลับขั้วกันตลอดเวลา เดาทางยาก ต้องดูเป็นเรื่องๆไป งงเหมือนกันค่ะ Alert สังคม และ อุตสาหกรรม ทีวีดิจิตอล กับ วงการโทรคมนาคมเรื่องคลื่น 2600 จะกระทบทั้งสองวงการแน่นอน จากมติ กสท.วันนี้ ฝากติดตามกันด้วยค่ะ
คลื่น 2600 ที่ว่าง อสมท.ไม่ได้ใช้งานมาหลังสัญญากับ @TrueVisions เดิมสิ้นสุด แต่วันนี้มีค่าดั่งทองคำขึ้นมาแล้ว ถาม สิทธิ์ในคลื่นเป็นของใคร? จุดยืน กสทช. ตอนคลื่น 1800 และ 900 เรายืนยันว่าคลื่นต้องกลับมาเป็นของกลางให้ กสทช. จัดสรรใหม่ แต่กับคลื่น 2600 เราจะไม่ยืนเช่นนั้นหรือ?
ถ้า กสท./ กสทช. ให้สิทธิ์ต่อกับ อสมท. ใช้คลื่น 2600 แล้วทางCATก้บTOT จะไม่ลุกขึ้นมาทวงสิทธิ์ย้อนหลังบ้างหรือ เรื่องมันจะยุ่งเหยิงไปกันใหญ่ การที่ อสมท.จะนำคลื่นไปทำ *ทีวีบรอดแบนด์ จริงหรือไม่ ยังไม่สำคัญเท่าการไปรับรองสิทธิ์ให้ อสมท. ยังมีกรรมสิทธิ์ในคลื่นนี้อยู่ นั่นละประเด็น ต่อไปถ้า กสทช.จำเป็นต้องนำคลื่น 2600 ไปประมูล LTEจริงๆ แล้ว อสมท.ยังอ้างสิทธิ์ แล้วมีการแก้ พรบ.ให้ต้องชดเชยค่าคืนคลื่น ใครจะได้/เสียประโยชน์ มีประเด็นข้อกฎหมายว่ามติ กสท.วันนี้ต้องเข้าบอร์ดใหญ่หรือไม่ เพราะเป็นเรื่องจัดสรรคลื่น สรุปยังไม่มีคำตอบ ใน 3 เสียงข้างมากเอง ก็ยังเห็นไม่ตรง
จบข่าว/ ถ้าไม่ผ่านบอร์ดใหญ่ แล้วมติ กสท.วันนี้เรื่องคลื่น 2600 จะสมบูรณ์หรือไม่ ฝากสื่อมวลชนช่วยหาคำตอบต่อ เหนื่อยแล้ว วาระนี้ถกกัน3-4ปี
ฝาก กสท.3 เสียงข้างมาก ช่วยมาอธิบายมติของตนเองกับสังคมด้วย วันนี้ดิฉันเป็นเสียงข้างน้อย แต่ต้องมาให้สัมภาษณ์แถลงอธิบายมติเสียงข้างมากแทน การอ้างว่าเป็นแค่การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี MMDS เป็น BWA ฟังไม่ขึ้นในความเห็นส่วนตัว เพราะตอนนี้คลื่นว่างอยู่ มันคือการจัดสรรใหม่ไม่ใช่ปรับปรุงเทคนิค การจัดสรรใหม่ก็ต้องเป็นไปตามกฎหมาย บนฐานการแข่งขันเสรีเป็นธรรม โดยเฉพาะในแผนแม่บท กสทช.ให้ใช้คลื่นทำกิจการโทรคมนาคมด้วย ต้องประมูลใช่ไหม?
ถ้าให้สิทธิ์เขาถือคลื่นต่อ แล้ว กสทช.จะนำมาจัดสรรใหม่โดยการประมูลได้อย่างไร…หรือจะยอมให้รัฐต้องจ่ายค่าชดเชยคลื่นให้ อสมท. ตามข่าวก่อนนี้? เพื่อ? #ลดอำนาจตามกฏหมายของตนเอง #กสทช. #คืนคลื่น #จัดสรรใหม่#2600
…….
รัฐธรรมนูญกับ พรบ. กสทช. ฉบับใหม่ยังไม่ทันผ่านเลย วันนี้ กสทช. กลับมาลดอำนาจของตนเอง คืนสิทธิ์ให้อดีตผู้ถือครองคลื่นเดิมเสียแล้ว การเมืองเรื่องคลื่นความถี่แห่งชาติจริงๆ ไว้มาลงรายละเอียดให้ทราบเพิ่มเติม คลื่น 2600 นี้ไม่ธรรมดาเลย ฝากสังคมช่วยจับตา
ปล. วาระคลื่น 2600 นี้จริงๆรอบแรกเลย เคยผ่านบอร์ด กสท./กสทช.ไปแล้ว แต่มีการขอทบทวนมติ ตั้งคณะทำงาน อนุกรรมการ วุ่นไปหมด สรุปปรับมติใหม่จนได้ มติเดิมของ กสท./กสทช. สอดคล้องกับจุดยืนดิฉัน แต่พอมาทบทวนมติกันใหม่ช่วงที่ผ่านมา เลยสวนทางกัน จึงต้องสงวนความเห็นต่างไว้เรื่องคลื่น #2600 มูลค่าคลื่นสูงขึ้น งานของ กสทช.ในการขอคืนคลื่นมาจัดสรรใหม่ก็ไม่ง่าย เพราะทุกคลื่นเคยมีเจ้าของเดิม เราต้องเข้ม ถ้าไม่เข้ม ก็คงไม่ได้คลื่นคืนรัฐธรรมนูญมาตรา 56 จะเป็นจุดเปลี่ยนอำนาจของ กสทช. อีกครั้งหนึ่ง แต่วันนี้ กสทช.อย่าลดทอนอำนาจตนเองไปก่อน ไว้มาพูดเรื่องนี้วันที่ 26 ก.พ.ค่ะ
…..
วันนี้มีมติต่อเนื่องเรื่อง CTH ใน กสท. และที่ประชุมอนุบริโภคด้วย กรณี PSI และ RS ไว้มาสรุปวันหลังค่ะ ขอบคุณอาจารย์ Uajit Virojtrairatt ที่เป็นประธานการประชุมแทน และ สำนัก บส. ด้วยค่ะ เพราะดิฉันติดไปศาลปกครอง…