เมืองอื่นเขาถกกันเรื่อง‎netneutrality บ้านเราถกเรื่องsinglegatewayความต่างในความเหมือนเรื่องการกำกับดูแลท่อส่งข้อมูลข่าวสาร

6 ตค. 58

Prep for my talk which “I have opinions” at FCCT tmr on‪#‎singlegateway. Tmr ( 7 October 2015) is also our anniversary: 4 years of NBTC since started in 2011 after NTC earlier. More to overcome.

สรุปงานวันนี้โดยย่อ เช้ามีประชุมคณะทำงานพิจารณาแนวทางการกำกับดูแลกติกาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องร้องเรียนด้านการคุ้มครองผู้บริโภคเพิ่มเติม ช่วงบ่ายคุยภายในทีมเตรียมประเด็น #singlegateway ร่วมเวที‪#‎FCCThai พรุ่งนี้เย็น เครียดเลย ตัวแทน ก.ไอซีทียกเลิก เหลือเรามาจากองค์กรรัฐคนเดียว

บังเอิญเราก็เป็นกรรมการองค์กรของรัฐที่มีความคิดอินดี้นิดหน่อย พรุ่งนี้ก็คงพูด ‪#‎คหสต. เป็นหลัก และ สะท้อนภาพรวมจุดยืนงาน กสทช. บางส่วน จริงๆไม่ได้กำกับดูแลด้านโทรคมนาคมโดยตรง แต่เรื่อง #singlegateway นั้น “I have opinions.” เลยตอบตกลงไปร่วมเวทีพรุ่งนี้ด้วย

เมืองอื่นเขาถกกันเรื่อง ‪#‎netneutrality บ้านเราถกเรื่อง #singlegateway ความต่างในความเหมือนเรื่องการกำกับดูแลท่อส่งข้อมูลข่าวสาร

ลุงป้าน้าอายังจำได้ไหม 
สมัยเรามี 1-2 gateways การโทรคมนาคมกับต่างประเทศเป็นเรื่องของอภิสิทธิ์ชนขนาดไหน คือค่าโทรมันแพงมาก

ปู่ย่าตายายยังจำได้ไหม การผูกขาดในกิจการสื่อสารโทรคมนาคม ทำให้คนส่วนใหญ่ของประเทศไม่มีสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านโทรคมนาคม คือโทรศัพท์บ้าน สมัยก่อน จะติดตั้งต้องใช้เส้นสายและแพงมาก สมัยดิฉันมาเรียนกรุงเทพ ต้องส่งจดหมายหาพ่อกับแม่ บ้านยังไม่มีโทรศัพท์ สมัยไปเรียนอังกฤษ(ผ่านมา13ปีเอง) ก็ยังต้องเขียนจดหมาย คือบ้านพ่อแม่ไม่มีเน็ต ค่าโทรโรมมิ่งก็แพงมาก

เด็กสมัยนี้จะเข้าใจไหมว่าสมัยก่อนการสื่อสารโทรคมนาคม มันลำบาก มันแพง ต้องเป็นอภิสิทธิ์ชนขนาดไหนจึงจะได้ใช้ .. ที่โครงสร้างฯดีขึ้นทุกวันนี้ ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ ถ้าเราไม่เปิดเสรีโทรคมนาคมหลังปี 2540 แล้วไม่มีองค์กรอิสระตาม รธน.เริ่มจาก กทช. ที่เริ่มออกใบอนุญาตเอกชนรายใหม่ๆ มาแข่งขัน จนมาถึง กสทช.ยุคนี้ เราจะอยู่จุดไหนกันก็ตอบยาก

คนคิดนโยบาย ‪#‎singlegateway เขาจะเข้าใจไหมว่าที่ผ่านมาคนในสังคมนี้เขาต้องทำงานเพื่อผลักดันกฎหมาย ตั้งแต่รัฐธรรมนูญ จนสร้างการแข่งขันในกิจการโทรคมนาคมได้ มันยากขนาดไหน สิ่งที่เราควรทำต่อจากวันนี้คือ ส่งเสริมการแข่งขันที่มากขึ้นในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และคุ้มครองผู้ใช้บริการ เพราะทุกวันนี้มันก็ยังไม่ดีมากพอ ยังต้องเคี่ยวเข็ญ แต่ไม่ใช่เจาะเวลาหาอดีต

เหตุผลหนึ่งที่ ‪#‎FCCT ชวนไปร่วมเวทีพรุ่งนี้ คงเพราะเราร่วมผลักดันกฎหมายตั้งแต่สมัยยังเป็น กทช./กสช. เมื่อปี 2543 จนมาถึง พรบ. กสทช. ปี 2553 เราร่วมผลักดันกฎหมายมาตั้งแต่ 20กว่าปีก่อน จนมาเป็น กสทช.เอง (จนโดนด่าที่มาสมัคร) วันนี้เราก็อยากให้งานมันเดินไปข้างหน้า ไม่ใช่ถอยหลัง มันฝืนธรรมชาติ การปฏิรูป(การสื่อสาร)ในเชิงโครงสร้าง ที่ผ่านมามันต้องใช้เวลาและประเทศเราก็ใช้เวลากันนานมาก เสียเวลาไปเยอะ เราก็ไม่ควรจะถอยหลังแบบก้าวกระโดดอีก

พุธนี้ 7 ตุลาคม 2558 ที่ กสทช. มีงานพิธีการวาระครบรอบ 4 ปี ของ กสทช.ชุดนี้พอดี เสร็จจากงานบวงสรวงที่ สนง. จากนั้นช่วงเย็นจะไปงานที่ FCCT ต่อ พรุ่งนี้สำหรับส่วนตัว ถือว่าเป็นอีกวันที่มีความหมาย เช้าจรดค่ำ ก็จะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด คือก็พูดเรื่องแบบนี้มาตลอด 2 ทศวรรษของการทำงาน กสทช. ยังไม่ใช่องค์กรที่สมบูรณ์ แต่พอเกิดมาแล้วมันก็ต้องทำหน้าที่ตามกลไกของมันไป เหมือนพอเรามีสะพาน คน+รถก็ใช้ข้ามแม่น้ำได้ ไม่ต้องใช้แต่เรือเหมือนสมัยก่อน

แต่ถ้า กสทช. เป็นสะพานที่แข็งแรง ใส่ใจผู้ใช้งาน จัดระบบการจรจรที่ดี แข่งขันกันเป็นธรรม ได้มากกว่านี้ ย่อมจะดียิ่งขึ้น หน้าที่ กสทช.คือการจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแล การแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรมของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม จากนั้นคือคุ้มครองผู้บริโภคจากการถูกละเมิดต่างๆ

ดังนั้น จุดยืนของ กสทช.ที่ต้องเรียกคืนคลื่นความถี่จาก CAT & TOT มาจัดสรรใหม่จึง ชอบแล้วด้วยเจตนารมณ์การปฏิรูปทั้งปวง ตั้งแต่ปี 2540 เป็นต้นมา เรื่องขอคืนคลื่น #900 และ #1800 รอบนี้ #คหสต. ก็ดีใจลึกๆ ที่เสียงกรรมการ และ สนง. เป็นเอกฉันท์ในห้วงยามนี้ คือเราก็เดินหน้าทำหน้าที่ของเรา ส่วนทาง คสช. หรือ ศาลท่านจะว่าอย่างไร ก็แล้วแต่ฟ้าลิขิต ถ้า TOT ฟ้องร้อง การสนับสนุนรัฐวิสาหกิจของรัฐอย่าง TOT & CAT เป็นเรื่องทำได้และพึงทำ แต่ก็ต้องไม่ขัดหลักการแข่งขันเสรีเป็นธรรม ตามเจตนารมณ์การปฏิรูป ยก ตย. เล็กๆ คือ TOT มีคลื่น 2100 มาก่อนมี กสทช.อีก แต่มีลูกค้าราว 3แสน  หลัง กสทช.ประมูลคลื่น 2100 ใน1-2 ปี คนใช้3Gของเอกชนกันหลักล้าน ‪#‎คสหต. เอาใจช่วยให้ TOT ให้ยกระดับมาแข่งขันกับเอกชนได้ ดึงส่วนแบ่งรายได้มาเข้าองค์กรรัฐบ้าง รัฐบาล/กสทช. ควรช่วยเหลือ แต่ไม่ใช่ไปทุบโครงสร้างตลาด สำหรับเรื่อง #singlegateway พรุ่งนี้แค่พูดในมิติการแข่งขันเสรีเป็นธรรมจากอดีตสู่ปัจจุบัน ก็คงหมดเวลาก่อนได้พูดถึงมิติการกระทบเสรีภาพพลเมืองเน็ต พอสังเขป พรุ่งนี้ค่อยมาว่ากันต่อค่ะ…