12 ต.ค. 58
My two cents after state censorship under Ministry of Culture on Thai film related to Buddhist monks today, also tweeted briefly a result from Broadcast Panel’s meeting on content regulation issue.
More to tell.
สรุปงานจากมติ กสท. โดยย่อก่อนดังนี้ค่ะ
…..
กสท. สั่งปรับช่องข่าวไทยทีวีสูงสุด 5 แสนบาทอีกกรณี ฐานออนแอร์คลิปข่าวอาชญากรรม คนยิงกัน6รอบและแทงกันโดยไม่เบลอหรือบังภาพ ช่องไทยทีวีถูก กสทช.ถูกปรับขั้นสูงสุด สะสมแต้มมาหลายเคสแล้ว ยังไม่นับหนี้ค้างจ่ายค่าประมูลคลื่น จะไปต่อคงยากจริงๆถ้าไม่ทบทวนแนวการทำงาน
ฝาก Alert บรรณาธิการข่าวช่องไทยทีวีด้วยอีกทาง ถ้าไม่ช่วยเจ้าของช่องกลั่นกรองเนื้อหา ผู้รับใบอนุญาตจะเจอบทลงโทษสะสมจนอาจเจอทางตันจริงๆ ฟรีทีวีหลายช่องเท่าที่ดูมีความระมัดระวังมากขึ้นในเรื่องการกลั่นกรองภาพข่าวอาชญากรรม แต่ช่องไทยทีวีพลาดมาแล้ว วันนี้ถูกปรับขั้นสูงสุดด้วย
30 ตุลาคมนี้ จะครบกำหนดที่ตกลงไว้ต่อหน้าศาลปกครองที่ช่องไทยทีวีจะหาผู้ร่วมทุนมาจ่ายเงินประมูลคลื่น ถ้าไม่จ่ายหนี้ กสทช.ก็คงเดินหน้าตาม กม. ยังมีมติ กสท. เรื่องอื่นๆที่สำคัญวันนี้ แต่ต้องลงรายละเอียด และยังอยู่ในกระบวนการทางปกครองด้วย ไว้มาเล่าต่อพรุ่งนี้ค่ะ
หมายเหตุ: เดือนหน้า กสทช. จะมีอบรม workshop แบบทำงานทางความคิดลงลึกกับทีมตรวจสอบเนื้อหาของทีวีดิจิตอลทุกช่องที่เขาใหญ่ 3วัน 2 คืน เพื่อ “หาจุดสมดุล”
ปีนี้ กสทช. จัดประชุม coaching กับทีมตรวจสอบเนื้อหาของฟรีทีวีทุกช่องไปแล้ว 3 ครั้ง ลงรายละเอียดตามประเภทรายการ นำเคสของช่องที่ผิดพลาดมาเรียนรู้ร่วมกัน รวมทั้งการอบรมความรู้ ความเข้าใจอื่นๆ ซึ่ง กสทช.ทำบ่อยทีเดียว จนช่องแทบจะส่งคนมาร่วมไม่ทัน ถ้าจะให้จัดประเด็นอะไรเพิ่มเติมก็แจ้งได้เสมอค่ะ
กสทช. เชิญทีมกลั่นกรองเนื้อหาของช่องมาร่วมเสวนา workshop อบรม บ่อยมากเรื่องจรรยาบรรณ แล้วกลับไปทำงานเข้มขึ้นจนฝ่ายรายการหลายช่องเริ่มบ่นว่าเข้มเกินไปก็มี
ดังนั้นเราก็ต้องพยายาม ‘หาจุดสมดุลย์’ ซึ่งกันและกัน บนฐานของเหตุผล รสนิยม ความเป็นจริง ที่เคารพคนดูแต่ก็เชื่อมั่นในวิจารณญาณผู้ชมด้วย
คหสต. จากข่าวการแบนภาพยนตร์ #อาบัติ วันนี้ ตนเองถึงชอบดูหนังต่างประเทศมากกว่าหนังไทย ไม่โทษคนทำหนังแต่คิดว่าปัญหาหลักคือระบบการเซ็นเซอร์โดยรัฐที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง #censorship กฎหมายภาพยนตร์ไทยถ้าเทียบกับสากล ถือว่าเราล้าหลังอยู่มาก ยังเปิดให้รัฐเป็นคนเซ็นเซอร์ก่อนฉายได้ ขณะที่สื่อวิทยุ-ทีวีห้ามรัฐเซ็นเซอร์ก่อน
สื่อวิทยุและโทรทัศน์ เข้าถึงคนจำนวนมาก แทบทุกครัวเรือน โดยเฉพาะฟรีทีวี แต่กฎหมาย กสทช.(ปรกติ) ไม่ให้องค์กรกำกับดูแลไปตรวจสอบก่อนออกอากาศ ถ้าเทียบระหว่างสื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ และ อินเทอร์เน็ตในไทย มีเฉพาะกฎหมายภาพยนตร์ที่ให้อำนาจรัฐตรวจสอบเนื้อหาก่อนเผยแพร่ได้ ทั้งที่ภาพยนตร์คือสื่อที่คนต้องพยายามไปหามาดูเอง เช่นไปโรงหนัง ซึ่งเป็นจุดที่ตรวจสอบอายุคนดูได้ง่ายกว่าคนดูโทรทัศน์และใช้อินเทอร์เน็ต พรบ.ภาพยนตร์ฉบับแรกใช้มาตั้งแต่ปี2473 เพิ่งมีฉบับใหม่สมัย สนช. ปี 2551 เนื้อหาเหมือนจะทันสมัยขึ้นเพราะมีการจัดเรทแต่ก็ยังหนีไม่พ้นบ่วงเดิม
สมัยนั้น มีการชุมนุมปีนสภาคัดค้านกฎหมายสมันนั้นหลายฉบับ รวม พรบ.ภาพยนตร์และวิดิทัศน์ พ.ศ.2551 แต่ค้านไม่สำเร็จ คนชุมนุมถูกฟ้องไปหลายคน (รวมคนโพสนี้ด้วย) แม้รัฐธรรมนูญจะคุ้มครองเสรีภาพสื่อโดยภาพรวมแต่กฎหมายสื่อแต่ละฉบับไม่เหมือนกัน วิทยุ – ทีวี ใช้การลงโทษตามหลังถ้าผิด ภาพยนตร์ให้รัฐตรวจก่อนฉาย
คนดูทีวีมากกว่าดูหนัง แต่กฎหมายของไทยควบคุมหนังมากกว่าทีวี ถามว่าเพราะอะไร สื่อภาพยนตร์จึงต้องถูกควบคุมมากกว่า? คงเพราะ ‘ภาพยนตร์ยังให้เกิดปัญญา’ ดังคำปรัชญาของหอภาพยนตร์ #censorship
ซับซ้อนยิ่งขึ้นคือ เนื้อหาทีวีทั่วไปไม่ต้องผ่าน กสทช.ตรวจสอบก่อนออก แต่ถ้าเป็นภาพยนตร์ที่มาออนแอร์ทางทีวีก็ต้องไปผ่านการตรวจตาม กม.ภาพยนตร์ด้วย ภาพยนตร์ที่มาออนแอร์ทางทีวีจึงผ่านหลายด่าน เริ่มจากกรรมการตาม พรบ.ภาพยนตร์ แล้วก็มาผ่านทีมเซ็นเซอร์ของช่องตรวจก่อนออกอีก(แม้ไม่ผ่าน กสทช.)
สมัยก่อนยุค พรบ.ภาพยนตร์ 2473 ตำรวจจึงมีหน้าที่นั่งดูหนังวิดีโอเพื่อตรวจสอบก่อนออกจนตาแฉะ ยุค พรบ. 2551 เป็นกรรมการภายใต้กระทรวงวัฒนธรรมแทน ดังนั้นถ้าเทียบระหว่างสื่อสิ่งพิมพ์-วิทยุ-ทีวี-อินเทอร์เน็ต- ภาพยนตร์ ถือว่าหนังไทยยังมีโซ่ตรวนผูกอยู่ในระบบ state censorship แบบเดิมมากสุด
แล้วประเทศอื่นเขาทำอย่างไร เขาก็มีกรรมการตรวจเนื้อหาก่อนออกแต่เป็นclassificationไม่ใช่censorship เช่น BBFC ของอังกฤษhttp://t.co/BvoPEZQd39
ถ้าหนังแรงในแนวคิด #คหสต. รับได้ เพราะมันคือปรัชญาของภาพยนตร์ แต่ถ้าแรงในแง่ภาพอุจาดตา โหด รุนแรงเกินเหตุ ควรจัดเรตหรือตัดออกไป องค์กรตรวจสอบเนื้อหาภาพยนตร์หรือ bbfc ของอังกฤษ ไม่ใช่หน่วยงานรัฐแต่เป็นภาคอุตสาหกรรมและสังคมกำกับ เขาทำได้ดีด้วยhttp://t.co/BvoPEZQd39
….