รัฐบาลควรทำเรื่องการส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานในการเข้าถึงเน็ตเพื่อบริการสาธารณะอย่างจริงจัง

A summary of my talks on Internet Governance & Net Neutrality at a national forum hosted by @thainetizen , Chula , NBTC & more today.

สรุปงานวันนี้ 23 กรกฎาคม 2558 เช้าเรื่องการอภิบาลอินเตอร์เน็ต
บ่าย ประชุมคณะทำงานแม่น้ำ 5 สายแก้ปัญหาทีวีดิจิตอล โดยย่อเฉพาะงานเช้าดังนี้ค่ะ

วันนี้น่าจะเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่พูดเรื่องการอภิบาลอินเตอร์เน็ต (Internet Governance) แบบจริงจัง จัดโดย @thainetizen ศูนย์ศึกษานโยบายสื่อ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ และพหุภาคี รวมทั้งหน่วยงานกำกับดูแลคือ กสทช. ด้วย

เวทีสากลใช้คำว่าการอภิบาลอินเตอร์เน็ต แทนคำว่าการกำกับดูแล เพราะนัยยะของอินเตอร์เน็ต มันกำกับดูแลหรือควบคุมโดยอำนาจแบบเดิมไม่ได้

วันนี้มีเวทีพูดว่าใครควรกำกับดูแลอินเตอร์เน็ต คำตอบคงไม่ใช่หน่วยงานรัฐอย่างเดียวแน่ๆ และในประเทศไทยเอง กฎหมายก็ยังตราไม่ชัดว่าใครคือคนกำกับภาพรวมทั้งหมด

ดังนั้น เราจึงควรถกเถียงเรื่องการ อภิบาลอินเตอร์เน็ต อย่างกว้างขวาง แทนการควบคุมกำกับโดยรัฐชาติ เพราะทำได้ยากในยุคเทคโนโลยีไร้พรหมแดน การอภิบาลอินเตอร์เน็ต ครอบคลุมหลายเรื่อง อาทิ การเข้าถึง ความมั่นคงปลอดภัย การเผยแพร่เนื้อหา เศรษฐกิจดิจิตอลและโครงสร้างพื้นฐาน

วันนี้ดิฉันร่วมอภิปรายในสองหัวข้อ อันแรกคือใครควรกำกับดูแล หรือ อภิบาลอินเตอร์เน็ต คำตอบคือทุกภาคส่วน แยกย่อยออกมาได้ดังนี้

ในแง่การส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการเข้าถึงเทคโนโลยีการสื่อสาร และ ราคาที่เข้าถึงได้อย่างเป็นธรรม ยังคงเป็นหน้าที่ของรัฐและองค์กรกำกับ

การกำกับอุตสาหกรรมและกลไกตลาดในสัดส่วนที่เหมาะสมโดยภาครัฐหรือองค์กรกำกับดูแล ยังมีความสำคัญเพื่อส่งเสริมการแข่งขันเสรีเป็นธรรม ลดการผูกขาด

เมื่อ กสทช. กำกับดูแลเรื่องการจัดสรรคลื่นความถี่ รัฐบาลควรทำเรื่องการส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานในการเข้าถึงเน็ตเพื่อบริการสาธารณะอย่างจริงจัง

ในมิติเรื่องการเผยแพร่และเข้าถึงเนื้อหาในอินเตอร์เน็ต การใช้อำนาจรัฐควบคุมเกินจำเป็นนั้นทำไม่ได้จริงและไม่ควรทำ ทางออกคืออุตสาหกรรมและผู้ใช้

ระบบของอินเตอร์เน็ตทุกวันนี้ ออกแบบให้มีการกำกับตนเองของผู้ดูแลระบบอยู่แล้ว ที่เรียกว่าระบบ Notice & take down หรือการ Report เนื้อหา

รัฐอาจสั่งปิดกั้นเว็บเพจบางหน้าได้ แต่ปัจจุบันนี้การแสดงออกย้ายไปอยู่ใน social media ที่อำนาจรัฐเอื้อมมือไปถึงเหมือนกัน แต่ยากกว่าเดิม มาถึงจุดนี้ การที่รัฐจะปิดระบบ social media อาทิ fb twitter ig Line เป็นสิ่งที่ใครคงไม่กล้าคิดอีก แม้อาจมีความพยายามแทรกแซงรูปแบบอื่นๆ

รัฐบางประเทศตัดสินใจปิดระบบ social media ไปเลย เพื่อตัดปัญหา แล้วสร้างระบบของประเทศตนเองให้คนในประเทศใช้ เพื่อการควบคุมที่ง่ายกว่า

แม้แต่คนที่ไม่ชอบสหรัฐอเมริกา ก็ไม่อาจตัดใจจากการใช้เน็ตและ Social networkได้ เพราะสหรัฐเองคือต้นกำเนิดของเทคโนโลยีนี้ โลกขึ้นกับเขาเต็มๆ แม้อำนาจรัฐชาติจะเข้าไปควบคุม social network ยาก แต่ใช่ว่าเราจะไม่มีคนกำกับดูแล อาทิใน fb เราก็อยู่ภายใต้การ *อภิบาล* ของผู้ดูแลระบบอีกที

ประชากรใน facebook มากขึ้นกว่าในประเทศ ส่วนใหญ่คนใช้ก็ยินยอมพร้อมใจให้ผู้ดูแลระบบ *อภิบาล* เราโดยไม่มีข้อโต้แย้ง เขาจะปรับระบบก็ต้องยอม ข้อมูลสารสนเทศจำนวนมาก เกี่ยวกับตัวเรา เราก็ยินยอมพร้อมใจให้ผู้ดูแลระบบเก็บกักรักษาและใช้ประโยชน์จากมัน โดยที่รัฐชาติก็คงปกป้องเราไม่ได้

ดังนั้น คนในสังคมอินเตอร์เน็ต ก็ต้องเรียนรู้ที่จะอภิบาลอินเตอร์เน็ต ด้วยการอภิบาลตนเองในฐานะผู้ใช้บริการและต้องตรวจสอบภาคเอกชนที่ดูแลระบบด้วย เมื่อเทคโนโลยีและสังคมซับซ้อนมากขึ้น รัฐและสังคมก็ต้องละเอียดมากขึ้นในการรับมือ จะใช้วิธีแบบเดิมในการใช้อำนาจควบคุมย่อมเป็นไปได้ยากมาก

พูดเรื่องการกำกับเนื้อหาใน social network อย่าง fb ก็มีระบบ notice & take down หรือการ report โดยเขาจะมี Code เป็นแนวทางการลบเนื้อหา ดิฉันเคยส่ง report ภาพอุจาดตาใน fb ปรากฏว่าแทบทุกอัน ได้รับการตอบรับจากระบบของ fb ให้ลบออก คงเพราะเรามีมาตรฐานใกล้เคียงกับ Code ของ fb

ที่ผ่านมาดิฉันรีพอร์ตพวกภาพอุจาดตา แต่ยังไม่เคยรีพอร์ตการแสดงความคิดของผู้คน ถ้าไม่ถูกใจรุนแรงจะใช้วิธี hide หรือ unfollow ไป ชีวิตก็ดีขึ้น ระบบ notice & take down เป็นส่วนหนึ่งของการอภิบาลอินเทอร์เน็ต ที่เปิดให้คนใช้มีส่วนร่วมให้ผู้ดูแลระบบกำกับดูแลตนเองตามแนวปฏิบัติที่วางไว้

อีกประเภทคือพวกโฆษณาอาหารเสริมใน fb ถ้าโผล่มาแล้วดิฉันว่าง จะร้องเรียนผู้ดูแลระบบ fb ตลอด จนพักหลังใน feed ก็ลดลง พลังของผู้ใช้ก็สำคัญมาก เราต้องตื่นตัวตลอดเวลา ว่าเราใส่ข้อมูลส่วนตัวลงในเน็ตตลอด อาทิ หลังดิฉันจองที่พักผ่านแอพ Airbnb ใน fb feed ก็จะขึ้นโฆษณาที่พักประเทศนั้นเลย ทั้งนี้เพราะเราก็ยอมให้ข้อมูลของแอพหนึ่งเชื่อมต่อกับแอพหนึ่ง ซึ่งโยงถึงความเป็นตัวตนของเรา และข้อมูลของเรา ก็รู้ตัวเองนะ แต่ก็ยินยอมให้เขาได้ข้อมูลไประดับหนึ่งแล้วแลกกับความสะดวกสบาย

สิ่งเหล่านี้เป็นนวัตกรรม และ ส่งเสริม digital economy ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นเรื่องดี แต่เราคงต้องหามาตรการเพื่ออภิบาลระบบด้วยกันให้มีมาตรฐาน ในแง่การคุ้มครองความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และ การทำธุรกรรมการเงิน เป็นหน้าที่ของรัฐต้องกำกับดูแลจริงจังขึ้น ซึ่งจะคาบเกี่ยวกับหลายหน่วยงาน อาทิเรื่องธุรกรรมการเงิน ก็ไม่ใช่แค่ภาคเทคโนโลยี แต่เป็นเรื่องของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดต้องออกมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการ

เวลาพูดถึง digital economy นอกจากปัจจัยเรื่องความปลอดภัยของระบบแล้ว ยังมีเรื่องความเพียงพอของ bandwidth โดยเฉพาะบริการแบบไร้สาย ปัญหาของประเทศไทย ไม่ใช่คลื่น bandwidth ไม่เพียงพอ แต่คือมันไม่สามารถนำมาจัดสรรได้อย่างเสรีเป็นธรรม ส่วนหนึ่งเพราะ กสทช. ยังไม่เข้มแข็งพอ

พูดถึงศักยภาพของ bandwidth อีกหัวข้อที่ดิฉันอภิปรายวันนี้คือเรื่องความเป็นกลางของโครงข่าย หรือ Net neutrality ที่เป็นวาระแห่งชาติของสหรัฐ วันนี้ภาคเอกชนไทยบอกว่าบ้านเรายังไม่มีปัญหาเรื่อง ความเป็นกลางของโครงข่ายมากนัก ถ้าเทียบกับในสหรัฐอเมริกา (แต่ก็ใช่ว่าเราไม่ควรใส่ใจ)

ยกตัวอย่างปัญหาความเป็นกลางของโครงข่ายฯในสหรัฐ เช่นกรณีที่แอพของ Netflix ต้องจ่ายเงินให้ ISP อย่าง Comcast เพื่อให้ได้ส่งบริการที่ดีขึ้น ในฝั่งกิจการโทรทัศน์ยุคดิจิตอล ก็มีประเด็นปัญหาความเป็นกลางทางโครงข่ายเช่นกัน กรณีช่องรายการที่ขึ้นดาวเทียม ต้องแข่งกันจ่ายเพื่อแบนด์วิธให้สัญญาณชัดกว่าคนอื่น

เราก็ถกเถียงได้เช่นกันว่า รัฐควรปล่อยมันเป็นกลไกตลาด หรือ รัฐควรเข้ามากำกับแทรกแซงตลาด เพื่อสร้างความเป็นกลางของโครงข่ายฯ เป็นต้น เมื่อเราอยู่ในยุคเทคโนโลยีที่ต้องวิ่งผ่านท่อกลาง แล้วมีคนดูและระบบของท่อ ซึ่งมีอำนาจกว่าอำนาจรัฐอีก ความยากคือความพอดีของการกำกับอยู่จุดใด ในสหรัฐเองก็มีการถกเถียงเรื่องความเป็นกลางของโครงข่าย(net neutrality) แบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือที่คิดว่ารัฐควรกำกับและฝ่ายที่ให้ปล่อยเป็นกลไกตลาด

การลงมติเรื่องการคุ้มครองอินเทอร์เน็ตของ @fcc หรือ กสทช.สหรัฐล่าสุด มีมติ 3:2 ฝ่ายที่ให้กำกับชนะ แต่การปฏิบัติจริงต้องไปลุ้นกันที่ศาลอีก

เรื่องโครงข่ายภาคพื้นดินของทีวีดิจิตอล กสทช. กำกับคุณภาพมาตรฐานความเป็นกลางของทุกโครงข่าย MUX แต่กลไกราคาเช่าของช่อง ยังสูงและต่างกันอยู่

วันนี้ สนง.ช่วยทำ slide เรื่องความเป็นกลางของโครงข่ายหรือ Net neutrality บทเรียนจากสหรัฐ นำมาแบ่งปันค่ะยังมีงานอีกมากที่ กสทช. ชุดหน้าต้องทำ โดยเฉพาะถ้าหลอมรวมเป็นองค์กรเดียว ที่ดูทั้งโทรคมนาคม สื่อวิทยุโทรทัศน์ และ อินเตอร์เน็ต ยิ่งซับซ้อน

วาทกรรมเรื่องอินเตอร์เน็ต ประเทศไทยยังติดกับดัก ต้องเถียงกันอยู่ระหว่าง เสรีภาพ กับ ความมั่นคงของผู้มีอำนาจรัฐ ขณะที่สากลเขาถกไปไกลถึงเพื่อรับมือกับอนาคต

ไว้มีเวลาค่อยมาทวิตเรื่องการอภิบาลอินเตอร์เน็ต(Internet Governance) และ ความเป็นกลางของโครงข่าย(Net neutrality)ต่อ คืนนี้ขอพักก่อนค่ะ

ช่วงบ่ายวันที่ผ่านมา มีประชุมคณะทำงานแม่น้ำ 5 สาย แก้ปัญหาการเปลี่ยนผ่านดิจิตอลทีวี ไว้มาสรุปพรุ่งนี้แล้วกันนะคะ เพราะหลายประเด็นมาก

พรุ่งนี้เช้ามีเปิดงานเรื่องรู้เท่าทันสื่อ บ่ายประชุมกับสำนักงานเขต/ภาคเรื่องเคเบิลทีวี เย็นไปปิดอีกงานหนึ่ง ล้วนสำคัญ ไว้มาเล่ารวบยอดค่ะ…