Summary after Broadcast Panel’s meeting today: facing a discouraging scenario, likely to become a minority vote again. Still pending for debate on major issues related to digital TV ownership, new draft for TV channels line-up & content complaints. Hope to end up with good result to uphold the principles & precedent.
2 มี.ค. 58
ประชุมบอร์ด กสท.จบแล้ว แต่วันนี้จบไม่ลง โดยเฉพาะวาระการถือครองหุ้นกรณี *SLC/NMG*
เสียงออกมา 2 ต่อ 2 เท่ากัน จึงต้องให้คนที่ 5 ตัดสิน แต่ท่านที่เป็นเสียงที่ 5 ยังต้องการข้อมูลเพิ่มเติม …
ดิฉันและ กสทช. Thawatchai Jittrapanun ยืนยัน เห็นชอบตามการวิเคราะห์เรื่องการถือหุ้นของผู้เชี่ยวชาญและข้อเสนอของสำนักงานที่ว่าการถือหุ้นดังกล่าวขัดประกาศ กสทช.เรื่องสัดส่วนการถือครองช่องทีวีที่วางไว้ก่อนการประมูล
จากสิ่งที่เกิดขึ้น สงสัยช่วงนี้คงกลับมาอยู่ฝั่งเสียงข้างน้อย 2 คนในบอร์ด กสท.อีกกระมัง หลังได้เป็นเสียงข้างมากกรณีคู่ขนานปีที่แล้วเมื่อมีเรื่องใหญ่ๆแล้วบอร์ดเสียงแตก 2 ข้าง
เรื่องนี้ยังไม่จบ แต่ก็คงต้องสรุปอีกครั้งไม่เกิน 1 – 2 สัปดาห์นี้ ใครลงมติอย่างไรก็รับผิดชอบตามการตัดสินใจนั้นไป
เวลากรรมการเสียงแตกคือ 2 ต่อ 2 เท่ากัน เสียงที่3 จะกลายเป็น Kingmaker หรือเสียงตัดสินเสมอ ชนะหรือแพ้ได้เลย เหนื่อยลุ้นเหมือนกัน ทุกกรณี
ถ้าเสียง 4 ต่อ 1 ไปเลย ก็ชัดเจนว่า 4 คนคือฝ่ายกุมอำนาจ 1 คนคือไม่มีอำนาจ
แต่ถ้าเสียง 2 : 2: 1 อำนาจจะถูกให้น้ำหนักไปอยู่เสียงที่ 3 ค่อนข้างมาก
000
ส่วนร่างประกาศเรียงช่องใหม่ ตอนนี้ก็เข้าชะตากรรมเดียวกัน
เสียง กสท. แตกสะท้อนภาพรวมของอุตสาหกรรมระหว่าง ฟรีทีวี vs. ทีวีดาวเทียม ก็ยังจบไม่ลง
มีเรื่องดีๆบ้างที่จบลงวันนี้ คือบอร์ด กสท.เห็นชอบร่างประกาศที่จะบังคับให้ฟรีทีวีต้องมีบริการเสริมเพื่อการเข้าถึงของคนพิการเช่น CC / AD
#คหสต.ร่างประกาศที่บังคับช่องให้มีบริการเสริมกับคนพิการก็ยังดีกรีอ่อนไป แล้วให้ grace period ช่องปรับตัวตั้ง1ปี นานไป(แต่ยังดีกว่าไม่มีเลย)
ร่างประกาศให้ฟรีทีวีดิจิตอลต้องมีบริการเสริมการเข้าถึงของคนพิการ(close caption/audio description/sign language) ที่ผ่านวันนี้ จะเข้าบอร์ดใหญ่ก่อนประกาศใช้
ฝากให้ สนง.ช่วยนำเนื้อหาในร่างประกาศบังคับบริการการเข้าถึงของคนพิการในทีวีดิจิตอลที่ผ่าน กสท.แล้ว มาเผยแพร่ด้วยนะคะ
000
ประกาศระดับเสียงเท่ากัน บังคับใช้กับฟรีทีวี+ทีวีดาวเทียม เคเบิลทีวีด้วย เริ่มมีผลทาง กม.จริง 4 เม.ย. แต่24ช่องทีวีดิจิตอลสมัครใจเริ่ม 1 มี.ค.
ระหว่างนี้ท่านใดยังรับฟังเสียงในทีวีบางช่วง บางช่องดังผิดปรกติ โดยเฉพาะช่วงโฆษณา ก็เริ่มร้องเรียนเข้ามาได้ค่ะ จะได้สุ่มตรวจสอบ ก่อนทางปกครองจะเริ่มจริง 4 เม.ย.
8 มีนาคมนี้ ฟรีทีวีดิจิตอล 24 ช่องก็จะเริ่มปล่อยผังรายการหน้าจอ (EPG) ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบผังรายการล่วงหน้าได้ 7 วัน
000
วาระใดไม่ร้อนแรงมาก มติ กสท.ก็จบลงดีๆหลายเรื่อง แต่พอเรื่องร้อนๆ เสียงแตกทุกที และ อาจต้องไปจบลงที่ศาล ไม่ว่ามติออกมาทางไหน อีกฝ่ายก็ฟ้องได้
ความร้ายแรงของเคส #SLC / #NMG คือมันจะเป็นบรรทัดฐานหรือ precedent case ของการถือครองสัดส่วนช่องทีวีดิจิตอลจากนี้ไป กระทบการกำกับทุกช่องในอนาคต
ถ้าเราไม่ยืนหลักการที่กำหนด *ผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน* ไว้ที่ร้อยละ10 ตามกติกาที่ตั้งมาแต่เดิม การปรับสัดส่วนหุ้นกันเองหลังจากนี้ใน 24 ช่อง จะยิ่งอลเวงมาก
การลงมติตัดสินในกรณีนี้จึงสำคัญไม่ใช่เฉพาะต่อช่องคู่กรณี แต่จะกระทบภาพรวมการถือครองหุ้นและกติกาสัดส่วนการถือครองทีวีดิจิตอลทั้งระบบด้วย
ส่วนตัวไม่มีปัญหาถ้าคู่กรณีฝ่ายใดจะฟ้องร้องต่อศาลปกครอง เพราะเรื่องนี้สำคัญต่อการกำกับดูแลทีวีดิจิตอลมาก (แม้ไม่มี กสทช.) จะได้ไปยุติสุดท้ายที่ศาล
สำหรับบริษัทมหาชน การถือครองหุ้นเกินร้อยละ 10 ถือว่ามีนัยยะสำคัญและมีอำนาจควบคุมแล้ว กติกา กสทช. จึงระบุว่าเป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน
จากข้อมูลที่สำนักงานเสนอวันนี้ พบว่าปัจจุบัน SLC กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่และมีอำนาจควบคุมเหนือ 2 ช่องข่าวคู่กรณี (เนชั่น และ สปริงนิวส์) เพราะสัดส่วนหุ้นเกินร้อยละ 10 แล้ว
ถ้าบอร์ด กสท./กสทช. ไม่ยืนยันหลักการเรื่องนี้ ในอนาคตระยะยาว สัดส่วนการถือครองช่องฟรีทีวีดิจิตอล จะมีปัญหารวนเรมาก เพราะไม่รู้จะยึดกติกาใด
ถ้าเข้าข่ายการมีผลประโยชน์ร่วมกันของ 2 ช่องข่าว ซึ่งขัดประกาศ กสทช. ถ้าวันนี้บอร์ด กสท.ไม่ยืนยันกติกานี้ ปัญหาจะตามมามากมาย
สนง.กับผู้เชี่ยวชาญฟันธงว่า ถ้าถือหุ้นแบบนี้ย้อนกลับไปก่อนวันประมูล ทั้งช่องข่าวเนชั่น และ สปริงนิวส์จะถูก *ตัดสิทธิ์* การเข้าประมูลทั้งคู่
กติกาป้องกันการถือหุ้นระหว่างช่องเกินร้อยละ 10 เพราะถือเป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน เป็นกฎที่ออกมาตั้งแต่ก่อนการประมูลทีวีดิจิตอลแล้ว
10% ขึ้นไป เป็นนิยาม “ผู้ถือหุ้นใหญ่” ที่ สนง. อ้างอิงมาจากกฎ กลต. ตามรายละเอียดในลิงค์นี้ค่ะ
http://www.set.or.th/…/simpl…/connected_transactions_p1.html
000
สรุปก็ยังสรุปไม่ได้
เช่นเดียวกับเรื่องช่อง3 ล่าสุดวันนี้กับมาตรา 37 กรณีการอ่านข่าวสำคัญผิดพลาด แม้อนุกำกับเนื้อหาฯ จะสรุปว่าขัดมาตรา 37 แล้ว แต่เรื่องนี้ยังต้องเข้าบอร์ด กสท.พิจารณาอีก
หลายเคส มติ กสท. ก็เห็นต่างจากอนุเนื้อหาฯ โดยเฉพาะตัวข้าพเจ้าเอง ที่มักเห็นแย้งเรื่องการบังคับใช้มาตรา 37 เกินเลยกรอบกฏหมายไป บางเรื่องมีหนทางแก้ไข ชดเชย เยียวยาทางอื่นๆได้ดีกว่า
ไว้ติดตามตอนต่อไปค่ะ…