เนื่องเพราะบรรษัทเหล่านี้คือเจ้าของเม็ดเงินโฆษณาหลายพันล้านในอุตสาหกรรมฟรีทีวีทุกวันนี้

สรุปไฮไลท์สัปดาห์ที่ผ่านมา 2 เรื่องใหญ่คือ

1. มีตัวแทนบรรษัทใหญ่ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพความงาม และสภาอุตสาหกรรมฯ ด้านผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์มาขอเข้าพบเรื่องแนวนโยบายในการกำกับโฆษณาและการคุ้มครองผู้บริโภคของ กสทช.

2. การเสวนาร่วมกับองค์กรวิชาชีพสื่อเรื่องการแก้ พรบ. กสทช. โดยต้องคงหลักการเรื่องการบริหารคลื่นความถี่ในแผนแม่บท กสทช. กับ ความอิสระจากรัฐบาล แต่ก็ต้องปรับแก้ไขเรื่องธรรมาภิบาลและประสิทธิภาพในการทำงานของ กสทช. ตามรายละเอียดด้านล่างค่ะ

ปล. ขออนุญาต tag หลายท่านที่ไม่ได้อยู่ในกลไก กสทช.ตรง แต่อาจจะสนใจเรื่องนี้ด้วย ถ้ารบกวน โปรดกดปุ่ม fb ยกเลิก tag ทันทีเลยนะคะ ^^

Highlights of the past week: meeting with reps from globally cosmetic companies & Industry Council of Thailand on promoting self-regulation based on Code of Conducts/Practices/Ethics for commercial/advertising TV spots to protect media consumers.

A plan to establish Ad Board/Council, comprised of stakeholders, to review Ad Codes is happening soon. More to tell.

Another meeting is abt NBTC reform with reps from Media associations & academics discussing on the opposing stand against new draft Bill proposed by Govt which related to Digital Economy.

Most agreed that NBTC should remain independent regulator in term of authourity on spectrum allocation but yes in term of NBTC governance & efficiency must be tangibly reformed. More to update.

27 กพ. 58 ( สรุปใน Twitter)

วันนี้ไม่ยุ่งมาก แต่ช่วงบ่ายมีตัวแทนจากสภาอุตสาหกรรม และ บริษัทใหญ่ๆที่เป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์ลงโฆษณาหลัก 4-5 รายในฟรีทีวีมาขอพบ


เขาบอกว่ามาขอนโยบายด้านคุ้มครองผู้บริโภคสื่อในการกำกับโฆษณาของ กสทช.

FYI – แจ้งท่านทราบ ส่วนหนึ่งเพื่อความโปร่งใสในการทำงาน เนื่องเพราะบรรษัทเหล่านี้คือเจ้าของเม็ดเงินโฆษณาหลายพันล้านในอุตสาหกรรมฟรีทีวีทุกวันนี้

เนื่องเพราะนโยบายการจัดระเบียบโฆษณาที่ กสทช. ร่วมกับ อย. ทำให้ฝ่ายเซ็นเซอร์ของช่องทีวีเกร็งมากขึ้นในการกรอง spot โฆษณา ของสินค้าสุขภาพความงามก่อนส่งออนแอร์

วันนี้ทางบรรษัททั้งหลาย เลยเข้ามาขอนโยบายกับ กสทช. และบอกว่าอุตสาหกรรมสินค้าความงาม ต้องการช่วย กสทช. ในการกำกับตนเองหรือทำ self-regulation
เขาบอกว่าการที่ทางช่องทีวีไปเซ็นเซอร์ spot โฆษณา ที่เขาทำเสร็จมาแล้วไม่ให้ออนแอร์ ทำให้เขาต้องไปผลิตใหม่
ดังนั้นเขาอยากให้ทุกฝ่ายไปช่วยกำหนดกรอบและกลั่นกรองแต่ต้นทางเลย
ทางตัวแทนสภาอุตสาหกรรมฯและบรรษัทสินค้าความงามที่มาวันนี้เสนอไอเดียในการก่อตั้ง Advertising Council หรือสภาตรวจสอบโฆษณาที่มีตัวแทนทุกฝ่ายร่วม

เราตอบไปว่า ถ้าโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพของช่องหรือสินค้าใดผิดกฏหมาย อย. @fdathai กสทช.จะมีคำสั่งทางปกครองระงับหรือปรับ ไม่มีเงื่อนไขต่อรอง

ถ้าเป็นมิติเนื้อหาของโฆษณาที่ไม่ได้ผิดกฎหมาย อย. @fdathai แต่เป็นประเด็นจรรยาบรรณ กสทช.ส่งเสริมให้ช่องทีวี/องค์กรวิชาชีพ กำกับตนเองก่อน

ถ้ามีเรื่องร้องเรียนโฆษณาเข้ามาไม่ว่าจะเป็นมิติเนื้อหา (มาตรา 37) หรือมิติเอาเปรียบผู้บริโภค (มาตรา 31) กสทช. ก็จะพิจารณาไปตามเกณฑ์

อย่างไรก็ตามทั้งในแผนแม่บทฯและ ‪#‎คหสต.เห็นด้วยอยู่แล้วถ้าอุตสาหกรรมที่ทำธุรกิจเกี่ยวข้องกับสื่อในเมืองไทย จะลุกขึ้นมารวมตัวกำกับดูแลตนเอง ยกระดับมาตรฐานโฆษณา

เช่นเดียวกับแนวทางสากลที่อุตสาหกรรมจะลงขัน ออกเงินกันเองตั้ง Council ในการกลั่นกรองโฆษณาที่ไม่ขัดจรรยาบรรณและไม่ mislead ให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด

อย่างไรก็ตามวันนี้ได้เสนอแนวคิดต่อสภาอุตสาหกรรม และบรรษัทที่มาว่า Ad Council ที่จะตั้งควรถ่วงดุลย์ด้วยมีตัวแทนผู้บริโภค นักวิชาการ NGOsด้วย เขารับปาก

เสนอเขาไปว่าใน Council ที่จะกำหนดมาตรฐานและกลั่นกรองโฆษณาที่เจ้าของสินค้าจะตั้งกันเอง ควรมีตัวแทนช่องทีวี อย. สคบ. นักวิชาการ ผู้บริโภคด้วย จะได้ถ่วงดุลกัน

ส่วนใหญ่โฆษณาทางฟรีทีวีหลัก เจ้าของสินค้าเป็นบรรษัทใหญ่ ไม่ค่อยทำผิด กม. Overclaim หรือโอ้อวดเกินจริงเหมือนในทีวีดาวเทียม แต่จะมีประเด็นจรรยาบรรณ เช่นผู้หญิงต้องผิวขาว

วันนี้ก็ได้สะท้อนจุดนี้ไปตรงๆว่า หลายครั้งโฆษณาเครื่องสำอางค์ก็ตอกย้ำค่านิยมบางอย่างที่อาจกระทบศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ควรรอบคอบมากขึ้น

เช่นเคยมีโฆษณาที่เสนอภาพบวกที่มีคนให้คนให้เงินขอทาน ดูเหมือนจะดี แต่ก็มี NGOs ออกมาค้านว่าไปส่งเสริมการค้ามนุษย์มากขึ้น ในยุคนี้ การทำโฆษณาจึงต้องละเอียดอ่อนขึ้น

วันนี้บอกทุกบริษัทไปว่า นอกจากจะไม่ขัดฏหมายแล้ว อุตสาหกรรมต้องทำ Code of ethics ที่วางกรอบอันละเอียดอ่อน อาทิเรื่อง Gender bias/Human dignity

จริงๆในประเทศที่พัฒนาแล้ว รัฐหรือ regulatorไม่ควรไปจุกจิกมาก เพราะอุตสาหกรรมจะเข้มแข็งกำกับดูแลตนเอง ส่วนของไทย กสทช.เพื่อเริ่มวางกติกาใหม่

ดังนั้นถ้าโฆษณาใดเข้าข่ายผิดกฏหมาย ช่องทีวีจะเจอจดหมายจาก สนง. กสทช.ทันที ทำให้ทุกช่องเกร็งมากขึ้น แต่ต่อไปถ้าแนวปฏิบัติอยู่ตัว ระบบคงดีขึ้น

ขณะนี้ทั้งฟรีทีวี ช่องเดิม ช่องใหม่ ทีวีดาวเทียม ต่างเจอจดหมายทางปกครองของ กสทช. ทั่วหน้า ซึ่งนอกจากเจอโทษปรับแล้ว จะส่งผลต่อใบอนุญาตด้วย

ขั้นต้น กสทช.เน้นประเด็นที่ผิดกฎหมายชัดๆก่อน ส่วนประเด็นจรรยาบรรณ บางครั้งก็สัมพันธ์กับ norm หรือบรรทัดฐานทางสังคมด้วย อุตสาหกรรมก็ต้องทบทวนกรอบ กติกา หรือ Code เสมอๆ

บรรษัทที่ขายสินค้าเครื่องสำอางเหล่านี้ไม่ได้เป็นผู้รับใบอนุญาตจาก กสทช.เหมือนช่องทีวีต่างๆ แต่เมื่อ กสทช. ไปเข้มงวดกับช่องทีวี ก็จะกระทบเจ้าของสินค้าด้วย

ถ้าโฆษณาใดขัดกฎหมาย คนรับผิดชอบคือช่อง (ไม่ใช่เจ้าของสินค้า) ดังนั้นทางช่องทีวีต้องประสานงานกับเอเจนซี่โฆษณาและเจ้าของผลิตภัณฑ์นั้นๆด้วย

วันจันทร์นี้ก็มีวาระเรื่องร้องเรียนโฆษณาของสายการบินแห่งหนึ่งเข้าที่ประชุม กสท. ไว้ค่อยเล่าค่ะ เรื่องร้องเรียนลักษณะนี้จะมาเป็นระยะๆ

ถ้าอุตสาหกรรมกำกับดูแลตนเองได้ก่อนบน Code of conduct/practice/ethics ที่อุตสาหกรรมยอมรับร่วมกัน ก็จะลดภาระของหน่วยงานรัฐในระยะยาว

นอกจากเรื่องโฆษณาแล้ว เรื่องการกำกับระดับเสียงเท่ากันทุกช่อง-ทุกช่วงนั้น จริงๆ กสทช. บังคับโครงข่าย MUX และช่องดิจิตอล แต่ก็ไปกระทบกับเอเจนซี่โฆษณาด้วย

เพราะว่าการปรับระดับเสียงให้เท่ากันต้องทำตั้งแต่ต้นทางที่เป็นฝ่ายผลิตงานหรือ production ด้วย

เอเจนซี่ที่ผลิตโฆษณาต่างๆ เขายังไม่ค่อยทราบกติกาใหม่นี้

วันนี้จึงได้บอกเขาไปว่า จะให้ สนง. กสทช. เชิญตัวแทนสภาอุตสาหกรรมฯ เอเจนซี่โฆษณา ที่เป็นอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องเรื่องวงการทีวี มาฟังการชี้แจงกติกาด้วย

ส่วนทางกลุ่มที่มาพบวันนี้ เขาก็จะไปดำเนินการเรื่องการตั้ง Ad Board / Council หรือสภาการกำกับโฆษณาของอุตสาหกรรม แล้วเขาจะแจ้ง กสทช. ต่อไป

ถ้ามีความคืบหน้าใดต่อจากวันนี้ ก็จะมาแจ้งให้ทราบเป็นระยะค่ะ

ก็ขอบคุณทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่นำตัวแทนมาพูดคุยและหารือแนวทางกำกับโฆษณาร่วมกัน

วันนี้ทางบรรษัทใหญ่ๆ อย่าง P&G Unilever เล่าว่า เขาได้กระจายการลงโฆษณาไปยังช่องฟรีทีวีดิจิตอลใหม่ๆด้วย ไม่ได้กระจุกตัวอยู่แต่ช่องหลักแล้ว

นั่นหมายความว่า คนก็จะหนีไม่พ้นโฆษณาของบรรษัทใหญ่ๆ ดังนั้นการกลั่นกรองโฆษณาของทุกฝ่ายก็ยิ่งควรต้องละเอียดอ่อน รอบคอบมากขึ้นในทุกมิติ
………

1 มีนาคมนี้ ทีวีดิจิตอล ทุกช่องจะเริ่มทำตามกติกาการปรับระดับเสียงให้เท่ากันทุกช่อง ทุกช่วง

ช่วงต้นๆของการบังคับกติการะดับเสียง คาดว่าคงมีโฆษณาบางตัวมีปัญหาแน่ เพราะไม่ได้ปรับระดับตั้งแต่การผลิตในstudio การมาปรับที่ช่อง/MUX จะเพี้ยนไป

ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ สนง. กสทช. ต้องเชิญเอเจนซี่และอุตสหกรรมสินค้า-โฆษณาทั้งหลายมาชี้แจง ทำความเข้าใจร่วมกับช่อง และ โครงข่าย

เรื่องระดับเสียงก็เช่นกัน ถ้าขัดกฎคนรับผิดชอบคือช่อง ไม่ใช่เอเจนซี่ที่ผลิตโฆษณา ทางช่องทีวี ก็ต้องสื่อสารกับต้นทางของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง กสทช.จะช่วยประสานจุดนี้

นอกจากสภาอุตสาหกรรมฯและบรรษัทด้านสินค้าเครื่องสำอางมาหารือวันนี้ วันก่อนมีทีมอุตสาหกรรมจากกลุ่ม ‘ทีวีขายตรง’ อาทิ TV Direct มาพบขอรับนโยบายเช่นกัน เรื่องยาว ไว้มาเล่าต่อค่ะ

คงเพราะเขาทราบว่าทางอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคฯ / อนุกำกับผังและเนื้อหาฯ และ สนง. กำลังจะออกกติกาเพิ่มเติมเรื่องการนับเวลาโฆษณาและอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม เขาจึงอยากรู้แนวนโยบายก่อนกระมัง

ไว้ร่างประกาศเพิ่มเติมเกี่ยวเรื่องการกำกับโฆษณาเสร็จแล้ว จะนำมาทำ focus group ให้ทุกฝ่ายได้เห็นกันแน่นอน ภาคเอกชนอย่าเพิ่งตั้งหลักค้านนะคะ เพราะจะเป็นประโยชน์กับผู้บริโภคและยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมโทรทัศน์ไทยด้วย…