ถ้าเราดูแต่ชื่อนิติบุคคลอย่างเดียว แล้วมองแบบศรีธนญชัย เราจะไม่เห็นปัญหาที่แท้จริง

Sum up 22 ธ.ค. 57

Summary of Broadcast Panel’s last meeting of the year on the agenda related to media ownership on a recent SLC’s shares & NMG, no final conclusion yet but assigning Office to investigate further details before making a decision.
Plus more issues to explain.

ประชุมบอร์ด กสท. จบแล้ว วันนี้ 30 วาระ ทิ้งท้ายปี ทั้งเรื่องเล็ก รูทีน เรื่องใหญ่ และ เรื่องด่วน สรุปย่อดังนี้

วาระจรกรณีการเข้าซื้อหุ้นของ SLC ในเครือ NMG/GMM วันนี้บอร์ด กสท.เสียงแตกเป็น 2-3 แนวทาง แต่สรุปว่าประเด็นมีมูล มอบ สนง.ทำบทวิเคราะห์เพิ่ม ประเด็นที่บอร์ด กสท. เสียงแตก เรื่องแรกคือ กรณีการถือหุ้นของ SLC ในเครือ NMG ถือว่าขัดเงื่อนไขของผู้ขอรับใบอนุญาตก่อนการประมูลหรือไม่

อีกประเด็นที่มีความเห็นต่างคือ SLC เป็นคนละนิติบุคคลกับบริษัทสปริงนิวส์ แม้จะเป็นบริษัทแม่ก็ตาม แต่ไม่ใช่ผู้รับใบอนุญาตตรง (มาอีกแล้วประเด็นคนละนิติบุคคล)

#‎คหสต.ทวิตย้ำไปหลายครั้งแล้วว่า ถ้าเราดูแต่ชื่อนิติบุคคลอย่างเดียว แล้วมองแบบศรีธนญชัย เราจะไม่เห็นปัญหาที่แท้จริง เหมือนกรณี BEC หรือเคสช่อง3 ก่อนนี้ แม้ SLC/NMG จะเป็นบริษัทแม่หรือบริษัทย่า ไม่ได้เป็นผู้รับใบอนุญาตทีวีโดยตรง แต่ถ้าคือผู้ถือหุ้นหลัก = ความเป็นเจ้าของ/ควบคุมกิจการ ก็มีนัยยะสำคัญ

ที่ผ่านมาเวลา สนง.หรือบอร์ดวิเคราะห์ เราจะดูครบตลอดสายธารของการถือหุ้น/ความเป็นเจ้าของ/การควบคุมอยู่แล้ว ไม่ได้ดูเฉพาะบริษัทที่รับใบอนุญาตทีวีเท่านั้น ที่สำคัญเงื่อนไขก่อนการประมูลนั้นสัมพันธ์กับเงื่อนไขของผู้รับใบอนุญาตจนถึงเวลานี้ สนง.วิเคราะห์ว่าถ้า 2 การถือหุ้นแบบวันนี้ อาจถูกตัดสิทธ์การประมูลทั้งคู่

จริงอยู่ บริษัทสปริงนิวส์เอง ไม่ได้เข้ามาถือหุ้นหรือบริษัทที่ประมูลช่องข่าวหรือวาไรตี้ของเครือเนชั่นฯ โดยตรง แต่บริษัท SLC ถือหุ้นในช่องสปริงนิวส์ 99.99% สมมติถ้าเป็นบริษัทที่ขายเต้าหู้ไม่ได้ถือหุ้นในกิจการทีวีแล้วเข้ามาถือหุ้นช่องทีวีอย่างมีนัยยะสำคัญ อันนั้นก็พูดยาก แต่นี่ถือหุ้นใหญ่ในอีกช่องทีวีด้วยกัน

ดังนั้นเรา โดยเฉพาะ กสท. ไม่ควรดูเฉพาะประเด็นชื่อนิติบุคคลอย่างเดียว แต่ควรดูสายสัมพันธ์ความเกี่ยวพันที่ส่งผลต่ออำนาจควบคุมกิจการด้วย โดยข้อเท็จจริงแล้ว SLC/NMG/GMM ในฐานะบริษัทแม่หรือย่า ก็คล้าย BEC World ที่ถือหุ้นใหญ่ใน บางกอกฯ และ BEC Multimedia เราต้องเชื่อมโยงทั้งหมด จริงอยู่ การตีความแบบนี้อาจทำให้เกิดปัญหากับใบอนุญาตช่องในเครือเนชั่นฯ และสปริงนิวส์ได้ แต่ถ้าขัดกติกาที่วางไว้ก่อนการประมูล ก็อาจขัดกฎหมายได้เช่นกัน ถ้าเรายึดแต่ชื่อนิติบุคคลแตกต่างกันอย่างเดียว โดยไม่โยงความสัมพันธ์ทั้งหมด จะเกิดปัญหาไม่รู้จบอีกหลายเรื่องในการกำกับกิจการโทรทัศน์หลังจากนี้ กติกาของ กสทช. กำหนดให้หนึ่งบริษัทประมูลคลื่นได้ไม่เกิน 3 ใบอนุญาต หรือ 3 ช่อง แต่ถ้าเราดูแต่ชื่อนิติบุคคลอย่างเดียว โดยไม่ดูการถือหุ้น มันก็ไร้ประโยชน์

เพราะสุดท้าย แม้ชื่อนิติบุคคลของ17 บริษัทแตกต่างกันจริง แต่ถ้าดูเนื้อในแล้วพบความเชื่อมโยงเรื่องผลประโยชน์ผ่านผู้ถือหุ้น มันก็ขัดเจตนารมณ์ เช่นเดียวกับกรณีช่อง3 ก่อนหน้านี้ ถ้าบริษัทบางกอกฯ (3 อนาล็อก) เข้าร่วมประมูลพร้อมกับ BEC Multimedia (3 ดิจิตอล) ก็จะถูกตัดสิทธิ์การประมูล เพราะจะถือว่ามีเจ้าของเดียวกัน

การหยิบยกประเด็น คนละนิติบุคคล – คนละบริษัทขึ้นมาพิจารณาเป็นหลัก จะเป็นอุปสรรคต่อการกำกับดูแลเพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม ส่งผลต่อการปฏิรูปสื่อโดยภาพรวม ดังนั้นที่ผ่านมาก่อนการประมูลของผู้ขอรับใบอนุญาตทั้งหลาย บอร์ด กสท. จึงมีมติให้สำนักงานตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ถือหุ้นในนิติบุคคลต่างๆ เพื่อป้องกันปัญหาเหล่านี้ไว้แล้ว

จริงอยู่ชื่อนิติบุคคลสำคัญในแง่การทำธุรกรรมทางกฎหมาย แต่ความเป็นเจ้าของ-ผู้มีอำนาจควบคุม สำคัญต่อการประกอบกิจการและการกำกับดูแลโดยเฉพาะด้านสื่อ

อย่างไรก็ตาม กรณีนี้บอร์ด กสท. ก็ต้องเปิดให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้ชี้แจงข้อมูล ข้อเท็จจริงต่างๆ ก่อนที่จะลงมติไปในทิศทางใด จึงมอบให้ สนง.ไปทำงานเพิ่ม ก่อนเสนอ กสท. ต่อไป

ประเด็นนี้บอร์ด กสท.เสียงแตก 2-2-1 ตั้งแต่ยกแรก ยังไม่รู้ว่าผลสรุปจะออกมาอย่างไร แต่คาดเดาได้ว่าคงไม่เอกฉันท์เช่นเดิม เป็นปรกติของข้อพิพาทเรื่องใหญ่ๆ

แน่นอนบอร์ด กสท. ก็ต้องเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ชี้แจงตามกระบวนการทางปกครองก่อนตัดสินอยู่แล้ว ยิ่งเรื่องซับซ้อนแบบนี้

ปีนี้คงเก็บไปฝันเรื่อง *คนละนิติบุคคล* หลอนจริง มาได้เรื่อยๆ

000

พรุ่งนี้ กสทช. ด้านเศรษฐศาสตร์ ที่ดูเรื่องปัญหาหุ้นไขว้และการแข่งขันเสรีเป็นธรรมจะไปเสวนาที่คณะนิติฯ จุฬาฯ ติดตามเรื่องนี้ต่อได้ค่ะ ความเห็นและข้อกังวลสอดคล้องกัน

ประเด็นการถือหุ้นไขว้นี้ ไม่ใช่เฉพาะกระทบการแข่งขันเสรีเป็นธรรมในอุตสาหกรรมโทรทัศน์เท่านั้น แต่กระทบภาพรวมการปฏิรูปสื่อด้วย ถ้าโครงสร้างความเป็นเจ้าของนั้นบิดเบี้ยวไปหมด ช่วยกันติดตาม จับตาใกล้ชิดค่ะ

000

ส่วนเรื่องประเด็นค่าธรรมเนียมการกำกับดูแล และ ค่าธรรมเนียมเข้ากองทุนวิจัยและพัฒนาฯ ที่ฟรีทีวีดิจิตอล และ เคเบิลทีวียื่นขอเข้ามา สนง.ฝ่ายกฎหมาย และ อนุที่ปรึกษากฎหมายฯ มีประเด็นข้อกังวลทางกฎหมายในเรื่องข้อจำกัดการจะลดหย่อนค่าธรรมเนียม โดยค่ากำกับดูแล 2% จาก 4% (อีก 2% เป็นค่าธรรมเนียม USO)

ดังนั้น บอร์ด กสท. จึงยังไม่สามารถมีมติให้การลดหย่อนเป็นผลได้ แม้จะเข้าใจปัญหาของผู้ประกอบการ จึงมีมติให้ส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกา ช่วยตีความทางกฎหมายให้ชัดเจนมากขึ้นอีกรอบ เช่นเดียวกับข้อเสนอการขอเลื่อนการจ่ายเงินค่างวดประมูลรอบสองที่ ต้องหารือกับกระทรวงการคลังก่อน เพราะตอนนี้ไม่ได้อยู่ในอำนาจของ กสทช. แล้ว

000

วันนี้บอร์ด กสท. เห็นชอบผังรายการทั่วไปปี 2558 ของหลายช่องทีวีดิจิตอล ยกเว้นช่องเด็ก เยาวชน ครอบครัวอีกเช่นเดิม และให้มีจดหมายเตือนช่องเด็ก เยาวชน ที่จัดทำผังรายการไม่ถูกต้องครบถ้วน ถือเป็นการถูกเตือนครั้งแรก

ยังมีวาระอื่นๆอีก ไว้มาเก็บตกเพิ่มเติมค่ะ…