Back to Bangkok now.
Rather an intensive day in Yangon.
Really delighted that I could contribute to the process for pushing Broadcasting Bill in Myanmar by civil society despite still many obstacles in the House who will consider the draft Bill there.
Personally, it’s too good to be true to join a deep media dialogue in Burma and talking abt press freedom & media reform like today, after all.
Thanks to Press Council & DVB Multimedia in Myanmar for a kind invitation & hospitality.
The dialogue on Broadcasting Bill was inspiring indeed. More than happy to be a consultant for advocates & policy makers in Myanmar since we gone through such a process & debate in Thailand.
Such a brief trip this time, only 2 days, hope to learn more next trips and hear a new progress.
All the very best!
More collaboration soon.
cc: Lisa Brooten
กลับมาจากนครย่างกุ้งถึงมหานครกรุงเทพแล้ว ทริป 2 วันแบบกะทัดรัดเข้มข้น ดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการแนะนำการ่าง พรบ. กำกับกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ของพม่า
รอบนี้รับเชิญไปแลกเปลี่ยนประสบการณ์การร่าง พรบ.กสทช. ให้กับกลุ่มสื่อก้าวหน้าที่ผลักดันร่าง Broadcasting Bill รอบหน้าเขาบอกว่าอาจจะชวนเราไปแลกเปลี่ยนกับตัวแทน สส. ของสภาล่างที่กำลังพิจารณาร่าง พรบ.ฉบับนี้อยู่บ้าง หลังจากร่างผ่านสภาสูงมาแล้ว
โดยภาพรวม กลุ่มสภาการสื่อสารมวลชนและสื่อหัวก้าวหน้าในเมียนมาร์ยังไม่ค่อยพอใจร่าง Broadcasting Bill ฉบับนี้เพราะเขียนเอื้อสื่อรายเดิมของรัฐมากกว่าเปิดโอกาสให้รายใหม่
เหลือเวลาอีก 2 เดือน เขาคุยกันเองว่าจะต้องเดินสายทำความเข้าใจกับ สส. หรือ parlianentarians ทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน แต่ตอนนี้พม่าเองก็มีงานหลายเรื่องมาก
แม้แต่พรรค NLD ของนางอองซานซูจีเองก็มีงานวาระเรื่องอื่นๆเต็มมือ ทำให้วาระการปฏิรูปสื่อเพื่อสร้างกลไกการจัดสรรคลื่นและการปฏิรูปสื่อเพื่อการกำกับดูแลในมิติใหม่ จึงยังไม่ใช่วาระหลักนัก
ฟังเรื่องราวบ้านเขาทั้งปัญหา อุปสรรค ประเด็นที่ถกเถียงกัน ก็คล้ายพัฒนาการในบ้านเรา ฟังแล้วเกิดแรงบันดาลใจ อยากอาสาไปเป็น consultant ให้ภาคประชาสังคมในพม่าที่กำลังขับเคลื่อน รณรงค์ ล็อบบี้ กระบวนการผลักดันกฏหมายคล้าย พรบ. กสทช.
กระบวนการที่เขากำลังทำ รวมถึง debate ต่างๆ บ้านเราเคยผ่านประสบการณ์นั้นมาแล้ว
ในวงวันนี้กับสื่อพม่าในย่างกุ้ง หลายคนเป็นนักโทษการเมืองติดคุกมาแล้วในอดีต หลายคนหนีการปราบปรามหลังปี 1988 พลัดถิ่นไปปักหลักต่างแดน
จริงๆ Too (sadly) good to be true. ที่พม่ามาถึงวันนี้ได้ เป็น reconciliation หรือยุคแห่งการปรองดองของจริง อุปสรรคยังอีกมาก หนทางอีกยาวไกล แต่ในที่สุดความเปลี่ยนแปลงก็เกิดขึ้นได้แบบฉับพลันหลังสั่งสมการต่อสู้และความเจ็บปวดมานานนับทศวรรษ
งานนี้ไปกับคุณกวี จงกิจถาวร อดีตบรรณาธิการ นสพ. The Nation ด้วย ผู้เชี่ยวชาญเรื่องอาเซียน ได้ฟังข้อมูลเยอะเลย แม้คุณกวีจะมาพม่าหลายครั้งแล้วหลังเปิดประเทศ แต่ก็ยังมีชื่อใน blacklist ต้องโทรหาเจ้าภาพช่วยเคลียร์ให้
รีบไปรีบกลับ รอบหน้าคงมีเวลาได้เรียนรู้มากกว่านี้
รอบนี้ทางฝั่งพม่าเป็นเจ้าภาพเชิญ ดูแลค่าใช้จ่ายในการเดินทาง จึงไม่ได้ใช้งบ กสทช.
จะเสนอให้ สนง. สำนักที่ทำงานเรื่อง ASEAN อยู่ เชิญองค์กรสื่อของพม่าที่กำลังผลักดัน พรบ.สื่อในยุคปฏิรูปมาพูดคุยกับสื่อโทรทัศน์ของไทยบ้าง คงน่าสนใจดี และมีประโยชน์ในการถอดบทเรียนทั้ง 2 ประเทศ
ไว้หายเหนื่อยค่อยมาเล่าข้อมูลเพิ่ม ยังตื่นเต้นไม่หายที่ได้ไปพม่าในบทบาทแบบนี้
จากอดีตที่เคยไปร่วมประท้วงท่านอนตายเป็นศพหน้าสถานทูตพม่ากับกลุ่ม NGOs สิทธิมนุษยชน วันนี้ได้ร่วมเวทีสานเสวนาเรื่องเสรีภาพสื่อและการปฏิรูปสื่อของรัฐแบบสบายๆในเมืองย่างกุ้ง ท่ามกลางผู้เข้าร่วมที่เคยเป็นนักโทษการเมืองมาก่อน เหมือนๆจะ surreal แต่คือความเป็นจริง
ขอเอาใจช่วยให้พม่า/เมียนมาร์เดินไปได้ด้วยดี มีอะไรพอช่วยได้ก็ยินดียิ่งค่ะ