ความเคลื่อนไหว
ช่อง 3 ฟ้อง กสทช . : ผู้บริโภคอาจจอดำ ?
วันที่ |
เหตุการณ์ |
24 ก.ค. 55 | กสทช. ออกประกาศ Must Carry หรือ หลักเกณฑ์การเผยแพร่กิจการโทรทัศน์ที่ให้บริการเป็นการทั่วไป หมายถึง ฟรีทีวีมีหน้าที่แพร่ภาพสัญญาณให้ทุกคนได้รับชมรายการโทรทัศน์อย่างทั่วถึงในทุกแพลตฟอร์ม ได้แก่ ภาคพื้นดิน เคเบิล และดาวเทียม |
6 ม.ค. 57 | กสท.มีมติรับรองผลการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้บริการโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล 24 ช่อง โดย บ.บีอีซี-มัลติมีเดีย จำกัด หรือช่อง 3 ดิจิตอล ชนะการประมูล 3 ช่อง ได้แก่- หมวดหมู่ความคมชัดสูง HD หมายเลขช่อง 30
- หมวดหมู่ความคมชัดปกติ หมายเลขช่อง 28 - หมวดหมู่เด็ก เยาวชน และครอบครัว หมายเลขช่อง 13 ส่วนช่อง 3 แอนาล็อก ดำเนินกิจการโดย บริษัทบางกอกเอ็นเตอร์เทนเม้นต์ จำกัด |
3 ก.พ. 57 | มติกสท.ครั้งที่ 4/57 ให้ ฟรีทีวีแอนาล็อกทั้ง 6 ช่อง ได้แก่ ช่อง 3 5 7 9 11 ไทยพีบีเอส หรือที่ กสทช. เรียกตามในประกาศ Must Carry ว่า ผู้รับใบอนุญาตตามบทเฉพาะกาลแห่ง พรบ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 ได้สิ้นสุดการทำหน้าที่เป็นผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป หรือ ฟรีทีวีที่ไม่สามารถ Must Carry ต่อไปได้ ตามข้อ 8 ของประกาศ นับจากวันที่เริ่มต้นออนแอร์ในระบบดิจิตอลทีวีแล้ว 30 วัน ในวันที่ 25 พ.ค.57 |
24 พ.ค. 57 | คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ได้ออกคำสั่ง ประกาศ ฉบับที่ 27/2557 เรื่อง การถ่ายทอดออกอากาศของสถานีวิทยุโทรทัศน์ ภาคพื้นดิน ระบบดิจิตอล และสถานีโทรทัศน์ที่ได้รับในอนุญาต สัญญาหรือสัมปทานจากส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นของรัฐ สาระที่เกี่ยวข้องกับช่อง 3 อยู่ในข้อ1 ผู้ให้บริการโทรทัศน์ดังต่อไปนี้ ออกอากาศได้ตามปกติ ผ่านทางระบบการใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดิน ดาวเทียมและเคเบิล ได้แก่ ผู้ให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ระบบแอนะล็อกตามประกาศ คสช.ฉบับที่ 23/2557 |
28 พ.ค. 57 | มติ กสท. 21/571.ขยายระยะเวลาการเป็นผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์เป็นการทั่วไป ตามประกาศ Must Carry ของฟรีทีวีแอนะล็อกทั้ง 6 ช่อง ออกไปอีก 100 วัน นับแต่วันที่ 25 พ.ค. โดยจะสิ้นสุด ณ วันที่ 1 ก.ย. เพื่อให้การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารไปสู่ประชาชนเป็นไปด้วยความเรียบร้อย ทันต่อสถานการณ์ ปราศจากการบิดเบือนอันจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดจนส่งผลกระทบต่อการรักษาความสงบเรียบร้อย รวมถึงเพื่อป้องกันความสับสนของผู้บริโภคในระหว่างการเปลี่ยนผ่านไปสู่การรับส่งสัญญาณโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล อย่างไรก็ดี เพื่อประโยชน์สาธารณะ กสท.อาจพิจารณาความจำเป็นในการขยายระยะเวลาในการทำหน้าที่เป็นผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไปดังกล่าวอีกก็ได้
2. ให้สำนักงานแจ้งคำสั่ง ข้อ 1 ไปยังผู้รับใบอนุญาต 3. ให้สำนักงาน กสทช. นำข้อมูลการขยายระยะเวลาข้างต้นยื่นต่อศาลปกครองเพื่อชี้แจงประกอบการพิจารณาคำขอให้ศาลกำหนดมาตรการหรือวิธีการเพื่อบรรเทาทุกข์ก่อนการพิพากษา |
30 พ.ค. 57 | ศาลปกครอง มีมติรับคำฟ้องของ บ.บางกอกเอ็นเตอร์เทนเมนต์ หรือช่อง 3 ในคดีปกครองหมายเลขดำที่ 686/57 เรื่องขอให้เพิกถอนมติ กสท. ครั้งที่ 4 วันที่ 3 ก.พ. 57 |
23 มิ.ย. 57 | ศาลปกครองมีคำสั่งรับ ส.ส.ท. หรือ ไทยพีบีเอส เข้าเป็นคู่ความในคดีเป็นผู้ถูกฟ้องที่ 3 ส.ส.ท. หรือไทยพีบีเอสให้เหตุผลว่า “หากศาลจะมีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่ง มติ กสท. วันที่ 4 ก.พ. ที่ให้ผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรทัศน์ ตามบทเฉพาะกาลของ พรบ.ประกอบกิจการฯ สิ้นสุดการเป็นผู้ให้บริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป จะส่งผลกระทบต่อ ส.ส.ท.และผู้รับใบอนุญาตกิจการโทรทัศน์ดิจิตอลที่เป็นผู้ให้บริการรายใหม่ไม่สามารถเข้าถึงและเป็นทางเลือกให้แก่ประชาชนได้ และยังทำให้ ส.ส.ท.เกิดมีภาระค่าใช้จ่ายและต้นทุนจากการที่จะต้องออกอากาศทั้งในระบบแอนะล็อกและระบบดิจิตอลควบคู่กันต่อไปจนกว่าการอนุญาต สัมปทาน หรือสัญญาให้ประกอบกิจการโทรทัศน์ของช่อง 3 จะสิ้นสุดลง ซึ่งอาจทำให้การประกอบกิจการโทรทัศน์ของ ส.ส.ท.ดำเนินไปไม่ได้ และยังก่อให้เกิดข้อได้เปรียบ เสียเปรียบในการแข่งขันในกิจการโทรทัศน์อย่างมาก โดยกำหนดให้เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ” |
7 ก.ค. 57 | กสท.29/57 รับทราบเรื่องการเข้าเป็นคู่ความในคดีปกครองหมายเลขดำที่ 686/57 ของไทยพีบีเอส |
13 ส.ค. 57 | กสท. 33/57 มีมติแจ้งเพื่อทราบว่า คำสั่งยกคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว คดีหมายเลขดำที่ 686/2557 : “ตามที่ บริษัท บางกอกเอนเตอร์เทนเมนต์ จำกัด(ช่อง3) ยื่นฟ้อง กสทช. และ กสท.ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีหมายเลขดำที่ 686/2557 โดยบ. บางกอกฯ ได้ยื่นคำร้องขอให้ศาลปกครองมีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษาให้ศาลมีคำสั่งชะลอหรือระงับการปฏิบัติตามมติ กสท.ครั้งที่ 4/2557 เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2557 ในการยุติการเป็นผู้ให้บริการโทรทัศน์ที่เป็นการทั่วไป ตามข้อ 8 ของประกาศ Must carry นั้น ในการนี้ศาลปกครองได้พิจารณาคำร้องขอดังกล่าวแล้ว เห็นว่ากรณียังรับฟังไม่ได้ในชั้นนี้ว่า มติ หรือ คำสั่ง จะไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด กรณีจึงไม่อาจมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครองตามคำขอได้ จึงมีคำสั่งยกคำขอวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษาของบริษัท บางกอกฯ ส่วนประเด็นที่ว่า มติของกสท.ครั้งที่ 4 วันที่ 3 ก.พ.57 ในวาระดังกล่าวจะเกี่ยวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เป็นประเด็นเนื้อหาของคดีซึ่งศาลจะได้แสวงหาข้อเท็จจริงให้ครบถ้วนจากคู่กรณีทุกฝ่าย และจะพิจารณามีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งในประเด็นดังกล่าวต่อไป” |
25 ส.ค. 57 | ที่ประชุม กสท. 34/57 ได้เสนอวาระเพื่อทราบ เรื่องประกาศ คสช.ฉบับที่ 27/2557 |
1 ก.ย. 57 | ที่ประชุมกสท. 36/57 พิจารณาหนังสือตอบ คสช. และช่อง 3 ถึงแนวปฏิบัติตามมติกสท. ครั้งที่ 21 วันที่ 28 พ.ค. 57 เรื่องการขยายระยะเวลาการกำหนดให้ช่อง 3 ยุติการเผยแพร่รายการผ่านทีวีดาวเทียมและเคเบิล ตามประกาศ Must Carryไปอีก 100 วัน ซึ่งเป็นการดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการโทรทัศน์ รวมทั้ง คสช. ได้มีประกาศ ฉบับที่ 27/57 วันที่ 24 พ.ค.57 กำหนดให้ผู้ให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ระบบอนาล็อก ตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 23 ออกอากาศตามปกติ ผ่านทางระบบการใช้คลื่นความถี่ภาคพื้นดิน ระบบดาวเทียม และเคเบิล ดังนั้น ช่อง 3 จึงต้องปฏิบัติตามประกาศ คสช. ประกาศ กสทช. มติ กสท. และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง |
2 ก.ย.57 | กสท.ประชุมด่วน! เตรียมขอหารือ คสช. ถึงทางออกเรื่องช่อง 3 แอนาล็อก ซึ่งตอนนี้ ช่อง 3 ยังคงออกอากาศทางเคเบิลดาวเทียมได้ปกติ เพื่อผลประโยชน์สาธารณะจนกว่าจะมีความ ชัดเจนเป็นอย่างอื่น และ วันที่ 3 ก.ย. เชิญช่อง 3 และทีวีดิจิตอล 24 ช่อง หารือร่วมกัน… |
กสทช. คือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
กสท.คือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (มาจาก กสทช. 5 คน)