เปิดเวทีฟังเสียงผู้บริโภค ร่วมสร้างมาตรการ หยุด! การประกอบการที่เอาเปรี
22 พ.ค. 2557 – กสทช. ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา และ กสทช. สุภิญญา กลางณรงค์ ในฐานะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.) ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและส่
ทั้งนี้ แม้มาตรา 31 วรรคสอง ตาม พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 จะระบุไว้ชัดเจนให้ กสทช. มีหน้าที่ต้องกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการประกอบกิจการทั้งในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อมิให้เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคโดยอาศัยการใช้เครือข่ายหรือการโฆษณาอันมีลักษณะเป็นการค้ากำไรเกินควร หรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ ซึ่งในส่วนของกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์นั้น ได้มีการออกประกาศ กสทช. เรื่อง การกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ไปแล้วตั้งแต่ปลายปี 2555 แต่ในส่วนของกิจการโทรคมนาคมนั้น ยังไม่มีการออกประกาศในเรื่องมาตรการดังกล่าว โดยปัจจุบันยังมีสถานะเป็นเพียงร่างประกาศเท่านั้น
นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีปัญหาผู้บริโภคถูกเอาเปรียบเป็นจำนวนมาก และหลากหลายวิธีการที่ถูกเอาเปรียบ ทั้งในเรื่องการใช้เครือข่ายหรือการโฆษณาโดยไม่ได้ให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคโดยชัดแจ้งหรือไม่ครบถ้วน เช่น อัตราค่าบริการ เงื่อนไขต่างๆ การบังคับขายพ่วงบริการที่ผู้บริโภคไม่ได้ใช้ ซึ่งก่อให้เกิดภาระด้านค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคโดยไม่จำเป็น หรือก่อให้เกิดการรบกวน การเอารัดเอาเปรียบต่างๆ จากการกำหนดข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ปัญหา SMS กวนใจหรือคิดค่าบริการทั้งที่ผู้บริโภคไม่ได้ตั้งใจสมัคร ทุกวันนี้มีเรื่องร้องเรียนเหล่านี้เข้ามาในสำนักงานเป็นจำนวนมาก
“ต้องยอมรับก่อนว่าปัญหาเหล่านี้มีอยู่จริงและมีมานานแล้ว ซึ่งองค์กรนิติบัญญัติก็เห็นปัญหานี้ โดยมีการฝากประเด็นปัญหาทั้งกับ กทช. และ กสทช. มาโดยตลอด พอถึงตอนที่มีการร่าง พ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 จึงได้บัญญัติมาตรา 31 วรรคสองขึ้นมา เพื่อให้เกิดเครื่องมือในการแก้ไขปัญหา แม้ว่าการแก้ปัญหาเอาเปรียบผู้บริโภคจะมีวิธีการมากกว่าการใช้กฎหมาย แต่หากไม่มีการออกหลักเกณฑ์นี้ กฎหมายมาตราดังกล่าวก็จะไม่ถูกบังคับใช้ ในขณะที่การแก้ไขปัญหาผู้บริโภคที่ผ่านมายังมีลักษณะการแก้ปัญหาในลักษณะเป็นรายๆ ไป นอกจากทำให้ไล่ไม่ทันลูกเล่นต่างๆ ของผู้ประกอบการ ยังทำให้ไม่เกิดการแก้ไขปัญหาในภาพรวม ซึ่งการจัดเวทีสาธารณะในวันนี้ เพื่อต้องการให้ผู้บริโภคมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และคิดว่ามุมมองที่หลากหลายนี้จะเป็นประโยชน์กับสำนักงาน กสทช. ในการปรับปรุงร่างประกาศ และนำไปดำเนินการต่อตามกระบวนขั้นตอนของกฎหมายต่อไป” นายประวิทย์กล่าว…