Sum up : 4 พ.ค. 57
Not prepared for Broadcast Panel’s meeting tmr since it’s public holidays but packing for a business trip to the heart of Middle East for Asia Media Forum for a week.
The debates on controversial subsidy-scheme for digital tv coupon will be discussed in Funding Panel on May 6th then in Broadcast & NBTC Panel again on May 12th. I proposed for a thorough revision & public hearing for the sake of transparency & accountability on the billion to spend.
คืนนี้ไม่ต้องเตรียมประชุมบอร์ด กสท. เพราะจันทร์พรุ่งนี้วันหยุด แต่เตรียมเก็บกระเป๋าไปงานสัมมนาที่ตะวันออกกลางตลอดสัปดาห์
วันอังคารที่ 6 พ.ค. บอร์ดกองทุนวิจัยและพัฒนาฯ จะมีการประชุมเพื่ออนุมัติกรอบวงเงินที่ได้จากการประมูลคลื่นความถี่ของ 24 รายในการใช้สนับสนุนคูปองให้ประชาชนราว 25 ล้านครัวเรือนเพื่อการเปลี่ยนผ่านทีวีระบบแอนะล็อกไปสู่ระบบดิจิทัล ตามที่เป็นประเด็นคำถามเคลือบแคลงในสังคม จากนั้นจะมีวาระที่เกี่ยวข้องเข้าสู่ที่ประชุมบอร์ดเล็ก กสท. และ บอร์ดใหญ่ กสทช. อีกครั้งในวันที่ 12 พฤษภาคม
ประเด็นสำคัญตอนนี้มีสอง เรื่องคือ 1. ราคาคูปองควรเป็นเท่าไร 2. คูปองควรใช้แลกกล่องดาวเทียม HD ได้หรือไม่
กรณีราคา ตอนนี้ฐานข้อมูลตัวเลขที่ สำนักงานเสนอกับตัวเลของค์กรผู้บริโภค นั้นต่างกัน ทาง สำนักงาน เสนอต้นทุนแบบค้า’ขายปลีก’ รวมค่าผลิตกล่อง- วางขายในห้าง -โฆษณา ซึ่งสูงกว่าราคาต้นทุน’ขายส่ง’
นอกนั้นในราคา 1 พันบาท นอกจากแลกกล่อง T2 ได้แล้วยังบังคับรวมเสาหนวดกุ้งไฮเทคและก้างปลาด้วยในมาตรฐานเทคนิค 25 db (ซึ่ง สำนักงาน ยืนยันว่ามาตรฐานสูงรับชมได้ชัดแน่นอนและราคาสูง)
นอกนั้นยังรวมเงื่อนไขให้ผู้ผลิตและร้านค้าปลีกต้องรับประกันเครื่องในเวลา 3 ปี (ถ้าเครื่องเสียต้องนำมาแลกใหม่ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย) และทางบริษัทต้องจัดให้มีช่างแนะนำ มี call center และบริการหลังการขาย รวมทั้งเงื่อนไขอื่นๆอีกสำหรับกล่องที่จะใช้คูปองแลก รวมเป็นต้นทุนต่างๆของอุปกรณ์
เหตุผลที่ใช้การแจกคูปอง ไม่ผลิตกล่องแจกเองเลยซึ่งต้นทุนขายส่งจะต่ำกว่า เพราะคูปองแทนเงินสดให้ครัวเรือนไปเลือกอุปกรณ์เองตามใจที่ชอบว่าจะซื้อทีวี หรือ กล่อง ตามหลากหลายยี่ห้อในตลาด
ประเด็นคือตอนนี้ ข้อมูลทั้งหมดที่ สำนักงานเสนอให้บอร์ดเห็นชอบยังเป็นความลับอยู่ในเอกสารในรูป จะเปิดเผยได้หลังผ่านมติบอร์ดกองทุนฯ และ บอร์ดใหญ่ กสทช.
ฐานข้อมูลของ สำนักงาน ควรมีการตรวจทานจากภาคสังคม กรณีนี้จริงๆควรมีการประชาพิจารณ์รับฟังความเห็นสาธารณะก่อนหลังผ่านมติบอร์ดใหญ่ กสทช. แต่พอมาผูกกับอำนาจบอร์ดกองทุนฯ เหมือนจะมีช่องว่างว่าการอนุมัติทุนเรื่องนี้ รายละเอียดไม่ต้องออกเป็นประกาศฯที่ต้องทำประชาพิจารณ์หรือไม่? จริงๆควรทำเพราะ สังคมจะได้นำข้อมูลต่างๆมาถกเถียงสอบทานกันก่อนตัดสินใจสุดท้าย
แม้ว่าสุดท้าย กฏหมายอาจไม่บังคับให้เรื่องกองทุนต้องทำประชาพิจารณ์ก่อนอนุมัติกรอบวงเงิน แต่เนื่องจากเป็นเรื่องใหญ่ที่ใช้เงินนับหมื่นล้าน และมีข้อกังขาจากสังคม
ดิฉันเสนอว่า กสทช. และ บอร์ดกองทุนควรจัดให้มีเวทีประชาพิจารณ์ เพื่อให้ทุกฝ่ายให้นำข้อเท็จจริงมาแลกเปลี่ยน ถกเถียงกันอีกครั้ง แม้จะทำให้ช้าไปบ้าง แต่ดีกว่ากระบวนการต้องไปสะดุดที่ศาลปกครองถ้ามีการฟ้องร้อง
เช่นเดียวกับการให้คูปองใช้แลกกล่องดาวเทียมได้ ส่วนตัวไม่เห็นด้วยตามเหตุผลที่เคยวิจารณ์ไปเรื่องมันใช้รับทีวีชุมชนรวม 48 ช่องภาคพื้นดินไม่ได้ และ มีกระแสความไม่เห็นด้วยจาก 24 ช่องที่เขาใช้เงินประมูลลงทุนในฟรีทีวีภาคพื้นดินด้วย เรื่องนี้จริงๆ ควรให้มีการรับฟังความคิดเห็นรอบด้านก่อนตัดสินใจ
เมื่อวันศุกร์ดิฉันได้เสนอข้อคำถามจากองค์กรผู้บริโภคในที่ประชุมเพื่อเป็นวาระจร แต่บอร์ด กสท.ให้ สำนักงานไปทำวาระเพื่อพิจารณามาอีกทีวันที่ 12 พ.ค. คงได้ถกใหญ่กันต่อเนื่องในบอร์ดใหญ่ด้วย
ถ้ามีการประชาพิจารณ์ ข้อมูลสำคัญเช่นตัวเลขฐานที่คำนวณต้นทุนในเล่มนี้จะได้เผยแพร่ต่อสาธารณะเพื่อการถกเถียงจนได้ข้อสรุปที่ชัดเจนร่วมกันจริงๆ หลังจากเถียงจนเกือบวงแตกในบอร์ด กสท. มาข้ามปีแล้ว งานใหญ่จะได้เดินหน้าได้แบบ clean & clear สบายใจทุกฝ่ายค่ะ….