Sum up for this week: 31 ม.ค. 57
1.Busy with Office’s team chasing who have interfered Satellite’s TV signal (Opposition channel & other stations), problem continued, got some intelligent clues but still cannot get them, its like ‘Catch me if You Can!’, literally a small cyber warfare, NBTC needs to have MI6, CIA or CTU to help catching these guys. Can’t believe I have to be in the Office who gotta operate this role.
2. Meeting to prepare for many meetings next month concerning the preparation for digital TV to go on the air. (consumers-oriented issues, Guidelines during Disaster & Emergency & Code of Conducts, Ethics & Practices). April 1st shall be a day to start broadcasting new 24 digital channels in Siam. Public campaign will be planned with those 24 channels as well. NBTC’s Fund from auction fees will be used as a subsidy for set-top box to households via coupon.
สรุปงานสัปดาห์นี้
1. ยุ่งกับปัญหาการกวนสัญญาณดาวเทียม ซึ่งยังจับต้นตอไม่ได้ แม้จะได้เบาะแสแล้วว่าอาจเกี่ยวข้องกับบางองค์กรที่อาจมีส่วนเกี่ยวข้อง ตอนนี้สำนักงานต้องทำงานทางลับกับหน่วยความมั่นคงอื่นๆด้วยในการไล่ล่ามือป่วนดาวเทียมซึ่งเก่งมาก คล้ายจะท้าทาย กสทช.ว่า *ถ้าแน่จริงก็จับให้ทันสิ* ฟังการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่แล้ว นึกถึงหนังเรื่อง Zero Dark Thirty ที่ทำจากเรื่องจริงของ CIA ที่ตามหาล่าตัว บิน ลาเดน ด้วยการไล่ล่าสัญญาณโทรศัพท์มือถือของคนใกล้ตัวอยู่นานหลายปี จนกระทั่งเจอตัวแต่ยังจับสัญญาณไม่ได้ เพราะเขาใช้มือถือแบบไม่นาน (เหมือนการกวนสัญญาณดาวเทียมแบบยิงไม่นานพอให้จับต้นตอได้) แต่สุดท้ายก็พลาดจนคนที่เก่งกว่าจับสัญญาณได้และตามตัวไปจนเจอบ้านของ บิน ลาเดน
เจ้าหน้าที่ กสทช. คงไม่เก่งเท่ากับ CIA แต่ก็รอจังหวะมือป่วนสัญญาณดาวเทียมพลาด กวนถี่และนานพอจนจับได้ มีหลักฐานที่จะเอาผิด ดำเนินคดี อย่างไรก็ตามในระหว่างที่ยังจับตัวต้นตอไม่ได้ ทาง สำนักงานได้มีมาตรการอื่นๆเพื่อแก้ปัญหาดังนี้
1. ให้ไทยคมเพิ่มความแรงของสัญญาณส่งให้แรงขึ้นเพื่อหนีการกวน
2. ให้มีช่องสำรอง ซึ่งยังไม่โดนกวน โดยให้ platform เช่น PSI ช่วยทำตัววิ่งแจ้งคนดู หรือแจ้งให้คนดูจูนหาช่องสำรอง
3. ให้องค์กรรัฐและรัฐวิสาหกิจต่างๆที่มีอุปกรณ์ใช้ทำการแจมสัญญาณได้ ต้องมารายงานกับ กสทช.ว่าใช้เครื่องมือไปทำอะไร
4. รับแจ้งเบาะแสจากฝ่ายต่างๆรวมทั้ง บลูสกาย เพื่อส่งรถไปตรวจสอบในจุดต้องสงสัยว่าจะมีรถป่วนสัญญาณจอดอยู่ทั้งในกรุงเทพ ปริมณฑล และ ต่างจังหวัด
5. ขอความร่วมมือจากภาคส่วนอื่นๆในการทำงานข่าว หาเบาะแสของต้นตัวการกวน
ไม่เคยคิดเหมือนกันว่าวันหนึ่งจะต้องมาทำงานอยู่ในองค์กรที่ต้องไล่ล่า คนร้ายป่วนสัญญาณดาวเทียม กระทบความมั่นคงของชาติแบบนี้ ถือว่าเป็น cyber warfare ที่เป็นสมรภูมิด้านข้อมูลข่าวสารแบบย่อมๆ บางคนบอกว่าเป็นเรื่องที่ต้องเตรียมแก้ปัญหาระยะยาว บางคนบอกว่าเป็นปัญหาการเมืองระยะสั้น แต่ก็ทำเอาปวดหัวไปตามๆกัน
…………………………..
นอกนั้นสัปดาห์นี้เป็นประธานการประชุมอนุกรรมการฯ 2 ชุดคืออนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสื่อฝั่ง กสท. และอนุกรรมการส่งเสริมการกำกับดูแลกันเอง ซึ่งจะต้องให้เชิญผู้ประกอบการสื่อทั้งฟรีทีวี และ ทีวีดาวเทียมมาพูดคุยเรื่องแนวทางการนำเสนอที่จะไม่นำไปสู่การสร้างความรุนแรงและเกลียดชังของคนในสังคม เป็นงานร้อนงาน ยาก แต่อนุกรรมการฯเห็นว่าจำเป็นต้องพูดคุยหารือ อย่างน้อยเพื่อลดทอนปัญหาไม่ให้รุนแรงบานปลายเกินไป และ กสทช.ควรเป็นตัวกลางระหว่างสื่อและคนดูในเรื่องนี้ในการร่วมกำกับดูแล hate speech ทั้งหลายทั้งปวงที่เกลื่อนจอทีวีไปหมดแล้ว
………………………….
ส่วนเรื่องการเตรียมความพร้อมการออนแอร์ทีวีดิจิตอล นอกจากผู้ประกอบการต้องเตรียมตัวด้านโครงข่ายสัญญาณกับ MUX แล้ว ยังมีประเด็นอีกมากมายที่ สำนักงานต้องทำความเข้าใจกับผู้ชนะการประมูลโดยเฉพาะด้านเนื้อหาและผังรายการ ในการประชุมบอร์ด กสท.วันจันทร์ที่จะถึงนี้ ตนเองได้ทำวาระเสนอบอร์ด กสท.ให้ สนง.เร่งชี้แจ้งความเข้าใจกับผู้ประกอบการในเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องผังรายการ — การจัดระดับความเหมาะสมของเนื้อหา — การโฆษณาที่ไม่ผิดกฎหมายอาหารและยา (อย.) — ระดับของเสียง — การรับมือในสถานการณ์ภัยพิบัติและเหตุฉุกเฉิน — การทำกลไกรับเรื่องร้องเรียนผู้บริโภค — การทำกรอบจริยธรรมในการกำกับดูแลตนเอง เป็นต้น
ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์นี้ ทางกลุ่มงานส่งเสริมการกำกับดูแลกันเอง (สส.) ร่วมกับ กลุ่มงานรับเรื่องร้องรียนและคุ้มครองผู้บริโภค (รส.) จะจัดให้มีการชี้แจงความเข้าใจผู้ประกอบการในหลายประเด็นข้างต้น แล้วจะแจ้งรายละเอียดเพื่อทราบต่อไปค่ะ
………………………….
ท่านที่ถามมาเรื่องการรณรงค์ความเข้าใจเรื่องทีวีดิจิตอลกับประชาชน สำนักงานกำลังจะทำอย่างจริงจังขึ้นแล้ว หลังจากความชัดเจนมากขึ้นหลังประมูลผ่านไปด้วยดี
บอร์ดได้มีมติแต่ตั้งตัวแทนของทั้ง 24 ช่อง (17บริษัท) และผู้ให้บริการโครงข่ายฯ (MUX)ทั้ง4รายมาร่วมเป็นอนุกรรมการเพื่อทำแผนรณรงค์ด้วยกัน ผู้ชนะการประมูลจะได้ใบอนุญาตสองอย่างพร้อมกันเลย คือ 1.สิทธิในการใช้คลื่นความถี่ 2.สิทธิในการประกอบกิจการโทรทัศน์หรือการออกอากาศ ทั้งนี้ผู้ชนะการประมูลจะต้องทำตามเงื่อนไขที่ระบุในใบอนุญาตให้ครบก่อน จึงจะได้ใบอนุญาต อาทิการจ่ายเงินงวดแรกในเดือนกุมภาพันธ์นี้
การสนับสนุนคูปองให้ประชาชนไปแลกซื้อกล่องหรือทีวี จะทำได้ก็ต่อเมื่อมีเงินจากค่าประมูลคลื่นเข้าสู่กองทุนวิจัยและพัฒนาฯ ท่านที่ถามมาเรื่องแผนการแจกจ่ายคูปอง ตอนนี้ยังไม่มีความชัดเจน มติเบื้องต้น กสทช.มีมติให้สนับสนุนมูลค่าคูปองประมาณ 690 บาท ตอนนี้ได้เงินประมูลเพิ่มขึ้น มีข้อเสนอให้เพิ่มมูลค่าคูปอง แต่ต้องมองหลายมุม กสทช.ด้านเศรษฐศาสตร์ ผศ.ดร.ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ มองว่า ถ้าดีมานด์เพิ่มราคากล่องในตลาดจะลดลงเองเพราะแข่งขันราคา กสทช.ไม่จำเป็นต้องเพิ่มมูลค่าคูปอง คงต้องเร่งหารือกันในคณะอนุกรรมการฯ-บอร์ด กสท.-กสทช.-บอร์ดกองทุน ให้เกิดความชัดเจนเร็วๆนี้ เพื่อการตรียมตัวของผู้บริโภคต่อไป…