จากสุภิญญา…
วีคนี้เป็นสัปดาห์แห่งการรับเรื่องร้องเรียน เมื่อวานเป็นตัวแทนบอร์ด กสท. ไปชี้แจงและรับข้อเสนอแนะจากคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา
วันนี้รับเรื่องร้องเรียนกรณีรายการไทยแลนด์ ก็อต ทาเลนท์ ซีซั่น 3 (TGT3) จากเครือข่ายครอบครัวเฝ้าระวังและสร้างสรรค์สื่อ
พรุ่งนี้(พฤหัส 6 มิ.ย.)เช้าเป็นตัวแทนไปรับเรื่องร้องเรียนจากมีเดีย มอนิเตอร์ / เครือข่ายเภสัชกร ให้ กสทช.และ สำนักงาน อย. เร่งแก้ปัญหาโฆษณาอาหารและยาหลอกลวงเกินจริงต่อ — น่วมเลย —
สำหรับประเด็นรายการ TGT3 วันนี้ที่รับเรื่องร้องเรียนมา ได้มอบให้ทีมงานหน้าห้องทำวาระเสนอบอร์ด กสท.ด่วนในการประชุมบอร์ดวันจันทร์นี้เพื่อให้ตรวจสอบว่าเนื้อหาที่ออกอากาศจะขัดมาตรา 37 ของ พรบ.ประกอบกิจการฯ เป็นครั้งที่ 2 หรือไม่ นอกนั้นก็ต้องให้อนุกำกับเนื้อหาและผังรายการฯ ตรวจสอบว่าจะขัด ข้อ 11 ในประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์ผังรายการฯ หรือไม่ ที่ระบุว่า รายการที่เข้าข่ายการก่อให้เกิดอคติ ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
และละเมิดสิทธิมนุยชนให้ถือว่าเป็นรายการที่เข้าข่ายเรท *ฉ* ซึ่งหมายความว่าต้องออกอากาศหลังเที่ยงคืนถึงตี 5 ไม่ใช่ออนแอร์ตอนเย็นวันอาทิตย์ที่เด็กเยาวชนดูกันทั้งครอบครัว – อ่านรายละเอียดในประกาศฯนี้ได้ตามลิงค์ด้านล่าง —–
อ่าน!ประกาศกสทช.เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทําผังรายการสําหรับการให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์
ส่วนเรื่องการละเมิดจรรยาบรรณสือฯ ได้มอบให้ สนง.ออกจดหมายเชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาประชุมไตรภาคีร่วมกันก่อนและให้ส่งเรื่องให้สภาวิชาชีพกิจการการแพร่ภาพและการกระจายเสียง ที่มีช่อง 3 เป็นสมาชิกอยู่ ให้ take action ในกรณีนี้ด้วย อย่าอยู่เงียบกริบเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา –รายการตอนดังกล่าวนี้ ทำให้คิดว่า คนผลิตละคร รายการบันเทิง ถ้าเนื้อหากระทบผู้มีอำนาจในสังคมจะ over sensitive แบนกระทั่งคำว่า*วิมานสีชมพู* แต่ถ้ากระทบคนเล็กคนน้อย ไม่ใส่ใจ ถ้าเราไม่ท้าทายวัฒนธรรมวิธีคิดของสื่อบันเทิง เราจะเจอปัญหาซ้ำซาก คือ แบนละครการเมืองแบบเหนือเมฆ แต่ไม่คิดรอบคอบ ละเอียดอ่อนว่ารายการ TGT ขัดจรรยาบรรณอย่างไร — ถ้ารายการนี้เป็นดราม่าหรือละครก็ไร้รสนิยม ไร้ความเนียนทางศิลปะ แต่ถ้าทำเป็นรายการความจริงคือไร้ความเป็นมืออาชีพ รวมแล้วคือจรรยาบรรณบกพร่อง — รายการนี้อาจไม่มีภาพความรุนแรงที่จับต้องได้ แต่ซ่อนความรุนแรงเชิงวัฒนธรรม แน่นอนรายการที่ *หยาบ* ย่อมยังต้องมีทีทางให้แสดงออกในสังคม แต่ถ้าเป็นสื่อทีวีระดับชาติออนแอร์ในเวลาเย็นของวันอาทิตย์ ดุลยพินิจควรอยู่ตรงไหน? การผลิตซ้ำความรุนแรงเชิงโครงสร้าง/เชิงวัฒนธรรม เช่นการข่มขืน ละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สื่อทีวีพึงระวังมากว่าคำพูดแบบ *มึงมาพาโวย* ถ้าสื่อฟรีทีวี คนทำละคร รายการบันเทิงลดความ over sensitive ต่อผู้มีอำนาจ แต่มาเพิ่มความละเอียดอ่อนเรื่องสิทธิมนุยชน (คนธรรมดา) จะดีมาก พวกฉากข่มขืนเพราะรัก รายการล้อเลียนเด็กพิเศษ กลุ่มชาติพันธุ์คนพิการ กะเทย ทอม ผลิตซ้ำชีวิตของเหยื่อข่มขืน เหล่านี้ล้วนผลิตซ้ำความรุนแรงทางวัฒนธรรม —
ความเห็นส่วนตัวคิดว่า ตอนนี้ของรายการ #TGT3 นั้น สะท้อนความหยาบ ยิ่งกว่าบางรายการที่ด่ากันโดยใช้ภาษาสมัยพ่อขุนรามฯ คือหยาบแบบลึกซึ้งกว่า ต้องทำการพูดคุย อบรม ยกระดับจรรยาบรรณร่วมกันต่อไป ส่วนข้อกฏหมายโปรดรอฟัง กสท.พิจารณาลงมติค่ะ