อจ.นิติศาสตร์ จุฬาฯ เสนอ กสทช.กำหนดบทลงโทษ มาตรการทางสังคม หาทางออกทำอย่างไรให้ผู้บริโภคเห็นว่าถูกผู้ประกอบการเอาเปรียบ ขณะที่คณะบดีนิติศาสตร์ ม.หอการค้าไทย ลั่น กก.กสทช.ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กได้ เป็นสังคมประชาธิปไตย แต่สิ่งที่ทำต้องอยู่ในกฎหมาย…
เมื่อวันที่ 24 ธ.ค. นายสุธรรม อยู่ในธรรม คณะบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวในงานเสวนา NBTC Public Furum ครั้งที่ 11 หัวข้อ “1 ปี กสทช.กับความสมหวังหรือไม่สมหวังของสังคมไทย” ประเด็นมุมมองด้านกฎหมาย ว่า เรื่องอัตราค่าบริการ 3จี ความจริงมีกฎเกณฑ์อยู่แล้ว แต่ 2 ปีที่ผ่านมา ไม่มีการบังคับใช้ ความจริง กสทช. ยังไม่รู้ราคาต้นทุน เครือข่ายเลย ดังนั้น จึงควรศึกษาราคาก่อนกำหนด ไม่ใช่กำหนดราคาแล้วมาศึกษา
ทั้งนี้ กรณี กก.กสทช.ใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์กนั้น ต้องยอมรับสังคมประชาธิปไตย คิดว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ต้องมั่นใจว่าสิ่งที่ทำอยู่ในกฎหมาย ไม่ได้ด่าใคร เป็นการเล่าแสดงความคิดเห็น หรือชี้แจงข้อเท็จจริง เพราะเป็นสังคมที่ไม่ได้อยู่ในระบบเดิม ต้องทำตามหน้าที่ของเรา
น.ส.เอื้อ อารีย์ อิ้งจะนิล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ในการทำงานของ กสทช. 1 ปีที่ผ่านมา ในแง่การสอบตก หรือผ่านยังไม่ได้อยากให้ตก เพราะยังมีบางเรื่องที่ยังเห็นความตั้งใจอยู่ แต่ขอตั้งข้อสงสัย ส่วนตัวว่าองค์ประกอบของคณะกรรมการ ทำไมเกือบครึ่งถึงมาจากทหาร หรือตำรวจ โดยส่วนตัวมองว่าความมั่นคงของรัฐ ไม่ได้มาจากทหาร หรือตำรวจ แต่มาจากภาคประชาชนที่ต้องมีความเข็มแข็ง
นอกจาก นี้ อีก 5 ปีข้างหน้า เมื่อ กสทช.ชุดปัจจุบันพ้นวาระไปแล้ว บทบาทหลังทั้ง 11 กสทช. จะสามารถทำอะไรได้ หรือไม่ได้บ้าง เพราะสิ่งนี้เป็นความโปร่งใส ซึ่งไม่แน่ใจว่ากฎหมายประเทศไทยมีกำหนดไว้แล้วหรือไม่
“ความเข้มแข็ง ไม่ใช่มาจากทหาร แปลกใจถ้าเราต้องการให้ภาครัฐ เข้ามา ควรให้ความโปร่งใส ไม่ใช่มาจากเครื่องแบบภาครัฐมากกว่าครึ่ง และฝากไว้ถึงอีก 5 ปีข้างหน้าด้วย หลังจากที่ กสทช.พ้นวาระไปแล้ว มีกฎหมาย หรือระเบียบที่ตั้งไว้แล้วหรือยังว่าท่านจะไปทำอะไรได้ หรือไม่ได้” อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าว
นอกจากนี้ ยังอยากเสนอกำหนดบทลงโทษ มาตรการทางสังคม ขณะเดียวกัน สิ่งที่แปลกใจคือ คำท้ายสัมภาษณ์ กรรมการ กสทช. บางรายที่ระบุว่าให้สื่อมวลชนเป็นผู้เผยแพร่ข่าวเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการ ทำงานของ กสทช.ให้ผู้ประกอบการรับทราบและทำตาม ซึ่งไม่เข้าว่า กสทช.มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับโดยตรง แต่กลับขอความช่วยเหลือเสียเอง หรือมันน่าจะมีวิธีอื่นที่ไม่ใช่แบบนี้ เพราะ กสทช. ไม่ใช่หน่วยงาน หรือองค์กรมูลนิธิ นอกจากนี้ ยังขอเสนอให้ กสทช.นำไปพิจารณาว่า ทำอย่างไรให้ผู้บริโภคเห็นว่าเขาถูกผู้ประกอบการเอาเปรียบอย่างไร.
ข้อมูลข่าวจาก Thairath Online